SHORT CUT
ดาร์บี้แมตช์คริกเก็ต เกมกีฬาระหว่าง อินเดีย–ปากีสถาน อีกหนึ่งเงาของการเมือง - สะท้อนความดุเดือด ตึงเครียด ที่ยอมกันไม่ได้ เพราะมันคือทุกอย่างของคนในชาติ
กีฬาคริกเก็ต (Cricket) แม้จะไม่ได้เป็นที่นิยมในประเทศไทย แต่กีฬาชนิดนี้ มีต้นกำเนิดในประเทศอังกฤษ มีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี! และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่ เอเชียใต้ , พื้นที่ที่กำลังมีความขัดแย้งกันระหว่าง อินเดีย - ปากีสถาน ณ เวลานี้
ในช่วงศตวรรษที่ 18 กีฬาคริกเก็ตเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและกลายเป็นกีฬาอันดับหนึ่งในอังกฤษ และได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในอาณานิคมของอังกฤษ เช่น อินเดีย ปากีสถาน ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้
เชื่อหรือไม่ว่า เห็นแบบนี้ กีฬาคริกเก็ต มีแฟนๆอยู่ทั่วโลก ราวๆ กว่า 2.5 พันล้านคน , แต่อย่าเพิ่งตกใจ ว่าเพราะเหตุใด กีฬาที่ไม่คุ้นเคยของคนไทย จึงมีแฟนๆ มากมากขนาดนี้ , ส่วนหนึ่งของความนิยมก็คือ อินเดีย มีประชากร ประมาณ 1.46 พันล้านคน และ ปากีสถาน มีประชากรราวๆ 255 ล้านคน และกีฬาชนิดนี้ก็ได้รับความป็อปปูลาร์ในสองประเทศนี้เป็นอย่างมาก ,
ปัจจุบัน คริกเก็ต มีการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ เช่น การแข่งขันในศึกฟุตบอลโลกคริกเก็ต (ICC Cricket World Cup) และทัวร์นาเมนต์สำคัญอื่นๆ และกำลังจะกลับเข้าไปแข่งในโอลิมปิก อีกครั้งในปี 2028 ที่ลอสแอนเจลิส หลังจากกีฬาชนิดนี้ ห่างหายไปนานถึง 128 ปี
บนพื้นสนามหญ้าแห่งกีฬาคริกเก็ต (Cricket) ความดุเดือดในแมตช์แข่งขัน ระหว่าง อินเดียกับปากีสถาน มีความรุนแรง เข้มข้น “จริงจัง” ระดับที่แฟนๆ บางชาติของทั้ง 2 ชาติ ถึงขั้นร้องไห้หรือฉลองเหมือนชนะสงคราม , หากจินตนาการแบบเกมฟุตบอลแบบให้เห็นภาพ ก็อาจจะเปรียบเทียบความเข้มข้น เหมือนกับ บราซิลดวลกับอาร์เจนติน่า , หรือ อังกฤษดวลอาร์เจนติน่า ขนาดนั้นเลย
อินเดีย vs ปากีสถาน – The Mother of All Matches
นี่คือ ดาร์บี้แมตช์ ของจริงในวงการคริกเก็ต
ไม่ใช่แค่เรื่องกีฬา แต่สะท้อนประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งทางการเมือง และศักดิ์ศรีชาติ
ทุกครั้งที่สองทีมนี้เจอกัน คนดูพุ่งพรวดเป็นหลัก หลายร้อยล้านคนทั่วโลก
มีคำพูดว่า “แพ้ทีมไหนก็ได้ แต่อย่าแพ้เพื่อนบ้าน”
เพราะคริกเก็ตคือ “มากกว่ากีฬา” ในบางประเทศ
เป็นเวทีระบายอารมณ์ชาตินิยม
แฟนๆ ถึงขั้นจัด “พิธีกรรม” ขอลูกทีมให้ตีดีขว้างแม่นในวันแข่ง
ครั้งหนึ่ง , Navjot Singh Sidhu อดีตนักคริกเก็ตทีมชาติอินเดียและนักวิเคราะห์กีฬา เคยขนานนามเกมคริกเก็ต ระหว่าง อินเดียกับปากีสถาน ว่าเป็น "The Mother of All Battles" เลยทีเดียว
การเปรียบเทียบแบบนี้ สะท้อนถึงความตึงเครียดและความคาดหวังมหาศาลที่มาพร้อมกับการแข่งขันระหว่างสองชาติที่มีประวัติศาสตร์และความขัดแย้งยาวนาน โดยเฉพาะในบริบทของกีฬา ซึ่งกลายเป็นเวทีที่สะท้อนความรู้สึกชาตินิยมและอารมณ์ของผู้คนทั้งสองประเทศ
หลายๆ ครั้ง เกม คริกเก็ต ระหว่างสองชาตินี้ จะต้องมี การรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด , ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะแฟนๆ ทั้งสองประเทศมีความหลงใหลในทีมของตนอย่างมาก บางครั้งถึงขั้นเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง
ส่วนในสถานการณ์การเมือง ณ ปัจจุบัน ในบริบทของปี 2024–2025 ที่สถานการณ์ใน แคชเมียร์ — ดินแดนพิพาทระหว่างอินเดียกับปากีสถาน — กลับมาตึงเครียดนั้น อาจจะดูรุนแรงและน่ากังวลมากกว่า ในเชิงของเกมกีฬาคริกเก็ต
...เพราะหากเกิดการปะทะทางทหาร มันต้องแลกมาด้วย "ชีวิต"
ที่มา : tribuneindia topendsports cricketstoreonline indiatimes olympics