ยุคนี้เป็นยุคที่ทุกหน่วยงานต้องพึ่งพาเทคโนโลยี วันนี้จะพามาดูกระทรวงการคลัง 4.0 ที่ขนเทคโนโลยี บูมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มสูบ
ยุคนี้เป็นยุคที่จะไม่พูดถึงเทคโนโลยี และนวัตกรรม ไม่ได้เลย เพราะ…ทั่วโลกกำลังแข่งขันกันในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้มีความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลงได้ หากประเทศใดมีเทคโนโลยี นวัตกรรม ที่ดีเยี่ยมนั่นหมายถึงประเทศนั้นมีความเจริญ ทันสมัยก้าวไปสู่โลกยุคใหม่อย่างมาก
สอดคล้องกับคำกล่าวที่ “นวัตกรรมเปลี่ยนโลก” ในส่วนของประเทศไทยเองก็กำลังเดินหน้าพัฒนากันอย่างสุดขีดในเรื่องของการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาปรับใช้ในการทำงาน และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการเงิน การคลัง ที่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้อำนวยความสะดวกแล้วบางส่วน ซึ่งนำทัพโดยกระทรวงการคลัง และในงานในสังกัด
ทั้งนี้ได้มีการวางยุทธศาสตร์ไว้ว่าประเทศไทยจะก้าวสู่ยุคกระทรวงการคลัง 4.0 ซึ่งเป็นเป็นแนวคิดที่ต่อยอดจากยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และการบริหารจัดการแบบทันสมัย โดยกระทรวงการคลัง 4.0 จะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน บริการ และนโยบายของกระทรวงการคลังให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล อย่างเช่น Digital Transformation , Smart Government , Citizen-Centric Services , Data-Driven Policy , Digital Literacy & Workforce Transformation เป็นต้น
พามาดูแผนงานยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ยุค Thailand 4.0 โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ของกระทรวงการคลัง มาเริ่มกันที่
ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้เปิดตัวโครงการ "MOF Digital Platform is Now" นับได้ว่าเป็นการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวง เช่น กรมธนารักษ์ กรมบัญชีกลาง และกรมสรรพากร เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ
อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลัง ยังได้ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลโดยการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ และ SMEs ผ่านการระดมทุนในรูปแบบดิจิทัล เช่น การใช้โทเคนดิจิทัล (ICO) และการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นอกจากนี้กระทรวงการคลัง ยังได้ผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศ เช่น การจัดตั้งระบบคลาวด์กลางของภาครัฐ (Gov Cloud) เพื่อรวบรวมข้อมูลและบริการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐไว้ในที่เดียว ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สุดท้าย ท้ายที่สุด กระทรวงการคลัง ยังได้มีการจัดโครงการฝึกอบรมวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรของกระทรวงการคลังทุกระดับ เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและการบริหารงานของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่เพียงเท่านั้นกระทรวงการคลังยังมีการใช้ AI, Big Data และ Blockchain ในการบริหารการเงินภาครัฐ อย่างเช่น การปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทำนายแนวโน้มทางการเงิน เช่น การคาดการณ์รายได้และรายจ่ายของรัฐบาล การตรวจสอบการทุจริต และการปรับปรุงกระบวนการจัดทำงบประมาณ นอกจากนี้ AI ยังช่วยในการพัฒนาระบบบริการอัตโนมัติ เช่น Chatbot เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลภาครัฐ เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ ช่วยให้กระทรวงการคลังสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและทันเวลา ข้อมูลเหล่านี้ยังช่วยในการประเมินผลกระทบของนโยบายทางการเงินและการวางแผนงบประมาณในระยะยาว
ส่วนบล็อกเชน (Blockchain) ได้ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูลทางการเงิน เช่น การออกพันธบัตรรัฐบาล การชำระเงิน และการตรวจสอบการใช้จ่ายของภาครัฐ เทคโนโลยีนี้ช่วยเพิ่มความโปร่งใส ลดความเสี่ยงจากการทุจริต และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุน
#SPRiNG มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันนี้การเงินของประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเงินดิจิทัล ความท้าทาย คือ เงินดิจิทัล และคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) นับได้ว่าเป็นความท้าทายด้านเทคโนโลยีของไทย แต่..การยอมรับที่จะนำมาใช้ทดแทนเงินตราที่มีอยู่ในปัจจุบันคงยังจะต้องใช้เวลาให้เกิดความมั่นใจในวงกว้างมากกว่านี้ก่อน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องความมั่นคง ความปลอดภัย ความโปร่งใส เรื่องการกำหนดราคาคงยังต้องใช้เวลาอีกสักพัก
สำหรับการเงินดิจิทัลในไทยที่ผ่านมาถือได้ว่ามาได้ไกล และเร็วมากพอสมควร โดยสังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นอย่างจังจริงในช่วงที่โควิด-19 บาดในไทย อีกทั้งยังมีปัจจัยบวกสนับสนุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของไทยที่ถือว่าดี เพราะแกนกลางคือ ระบบพร้อมเพย์ มีประสิทธิภาพสูงมาก ซึ่งในช่วงโควิด-19 สามารถผลักดันให้เกิดสังคมไร้เงินสดมากขึ้นในทุกชนชั้น และคนไทยมีการเปิดกว้างพร้อมที่จะเรียนรู้เทคโนโลยี
ในส่วนของอนาคตว่าไทยพร้อมมากที่จะก้าวสู่สังคมไร้เงินสด ด้วยระบบ การใช้จ่ายในวงกว้างมากๆ ตั้งแต่ระดับฐานราก จนถึงระบบบน รวมถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต คือการวางรากฐานเรื่องการเงินดิจิทัลของไทยในอนาคตเช่นกัน รวมถึงระบบ e-Payment ที่รัฐบาลสร้างขึ้นมา และตั้งใจจะนำไปใช้ในเรื่องของสวัสดิการ นโยบายภาครัฐต่างๆ ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจจะใช้ผ่าน ดิจิทัล Payment Platform ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามมองว่ามันคือทิศทางที่ประเทศไทยกำลังมาถูกทาง และมุ่งไปสู่สังคมไร้เงินสดในที่สุด นับได้ว่าไทยมาได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกันมาก ส่วนเรื่องการพัฒนาเงินบาทดิจิทัล ขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาในเรื่องนี้อยู่ เชื่อว่าเทคโนโลยีต้องเข้ามาอยู่กับเราสักวันหนึ่งขึ้นอยู่ว่าเราจะยอมรับมันได้แค่ไหน
“ที่ผ่านมาเราได้ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ได้แม่นยำมาก ความซับซ้อน ความไม่โปร่งใส การทุจริตหายไปเยอะ ส่วนภาคประชาชนข้อดีก็สะดวก ส่วนข้อดีของภาครัฐ คือการตรวจสอบ การกำกับ ควบคุมทุจริตทำได้ยากขึ้น” นายลวรณ กล่าว
ไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ เศรษฐกิจจะกลายเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล ให้ผู้คนได้สะดวก รวดเร็ว ตามยุคสมัย นี่คือหนึ่งในหน้าที่ที่กระทรวงการคลัง จะเดินต่อไปในเร็วๆนี้!