svasdssvasds

ส่องอัตราการเติบโตของ GDP เศรษฐกิจไทยในยุค 10 นายกรัฐมนตรี

ส่องอัตราการเติบโตของ GDP เศรษฐกิจไทยในยุค 10 นายกรัฐมนตรี

อัตราการเติบโตของ GDP เศรษฐกิจไทยในยุค 10 นายกรัฐมนตรี ล่าสุด สศช. ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 1 ของปี 68 เศรษฐกิจไทย ขยายตัว 3.1% ส่วนทั้งปี 68 ปรับลดประมาณการใหม่เหลือ 1.8%

GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หมายถึง การนับรายได้ทั้งหมดของทุกสัญชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ประกอบไปด้วย

  • C = การบริโภคของเอกชนและประชาชน​
  • I = การลงทุนของเอกชนในกิจกรรมต่างๆ​
  • G = การใช้จ่ายของรัฐบาล​
  • X = การส่งออก​
  • M = การนำเข้า

สำหรับรายได้ทั้งหมดที่ใช้คำนวณเป็น GDP มาจากการหมุนเวียนของรายรับและรายจ่าย ทั้งภาคครัวเรือน (หรือประชาชน) ภาคเอกชน ไปจนถึงภาครัฐบาล ดังนี้

  • เมื่อประชาชนทำงาน มีรายได้ มีเงินใช้จ่าย ก็ซื้อสินค้า บริการ และจ่ายภาษีให้แก่รัฐ
  • ภาคเอกชนมีรายได้จากประชาชน มีรายจ่ายเพื่อทำธุรกิจและจ่ายภาษีให้แก่รัฐ
  • ภาครัฐบาลมีรายได้จากภาษีและมีรายจ่ายในการสนับสนุนกิจกรรมของประชาชนและเอกชนต่อ

ถ้าคำนวณออกมาแล้ว ค่า GDP เป็นบวก แปลว่า เศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศมีการเติบโต มีเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น แต่อาจต้องระวังเรื่องอัตราเงินเฟ้อ เพราะจะทำให้สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น เมื่อสินค้าแพงขึ้น ประชาชนก็จะชะลอการใช้จ่าย

แต่หาก GDP เป็นลบ นั่นหมายความว่า ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัว เงินหมุนเวียนในประเทศลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในประเทศขาดสภาพคล่อง ภาครัฐจึงต้องนำงบประมาณออกมาพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดหนัก

 

GDP เป็นตัวบ่งบอกถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ถ้าประเทศใดมีตัวเลข GDP สูง หรือสูงจนติดอันดับ Top 10 นั่นหมายความว่า เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก 

GDP เป็นตัวเลขที่สามารถย้อนกลับไปมองได้ว่า ประเทศนั้นๆ มีศักยภาพด้านใด ให้ความสำคัญเรื่องใด ประชากรมีความสามารถด้านใด รวมถึงขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางการค้า และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีก้าวหน้ามากเพียงใด

สศช. หั่น GDP ไทยทั้งปี 68 เหลือ 1.8%

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทย ไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 และแนวโน้มปี 2568 ว่า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2568 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ของไทย ขยายตัว 3.1% เป็นผลมาจากภาคการผลิต และการใช้จ่ายยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะปริมาณการการส่งออกสินค้า ขยายตัว 13.8% และการส่งออกบริการขยายตัว 12.3% เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐขยายตัว 26.3% 

สศช. หั่น GDP ไทยทั้งปี 68 เหลือ 1.8%

ส่วนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.89% สูงกว่า 0.88% ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่า 1.01% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1% และ 0.9% ตามลำดับ

ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 10.5 พันล้านดอลลาร์ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2568 อยู่ที่ 245,300 ล้านดอลลาร์ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2568 มีมูลค่าทั้งสิ้น 12.08 ล้านล้านบาท คิดเป็น 64.4% ของ GDP

ส่วน แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ในปี 2568 สศช. ได้ปรับประมาณการใหม่ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว อยู่ที่ 2.3 – 3.3% (ค่ากลางของการประมาณการอยู่ที่ 2.8%) เหลือเพียง ขยายตัว 1.3 – 2.3% (ค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ 1.8%)

ทั้งนี้คาดว่าการอุปโภคบริโภค จะขยายตัว 2.4% และการลงทุนภาคเอกชนลดลง 0.7% ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์ ขยายตัว 1.8% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.0 - 1.0% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5 ของ GDP

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related