ประเทศไทยเดินหน้าปฏิรูประบบภาษีไทย สู่...ภาษีอัจฉริยะ-ภาษีดิจิทัล มุ่งเป็นมิตรการค้ายุคใหม่
ประเทศไทยของเรามีรายได้เข้ารัฐ และนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ส่วนหนึ่งมาจากการเก็บภาษีในรูปแบบต่างๆ ซึ่งตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันไทยมีการจัดเก็บภาษีมายาวนานแล้ว แต่…การจัดเก็บภาษี และรูปแบบ กระบวนการต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย อย่างเช่นในปัจจุบันโลกของการค้า และการใช้ชีวิตผู้คนเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น แต่ยังไม่เต็มรูปแบบ 100 % จึงทำให้มีการพัฒนา และเดินหน้าปฏิรูประบบภาษีไทย สู่...ภาษีอัจฉริยะ และภาษีดิจิทัล ให้เป็นไปตามเทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนไป
สำหรับแนวทางการปฏิรูประบบภาษีในไทย โดยใช้เทคโนโลยี ซึ่งก็เป็นแนวทางที่หลายประเทศดำเนินการอยู่ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน สามารถสรุปแนวทางการปฏิรูประบบภาษีโดยใช้เทคโนโลยี ได้ดังนี้
-ไทยได้มีการพัฒนาระบบออนไลน์แบบครบวงจร เช่น ระบบ e-Tax, e-Filing, และ e-Payment ให้ผู้เสียภาษียื่นแบบและชำระภาษีได้ทุกที่ ทุกเวลา
-มีการใช้แอปพลิเคชันมือถือ หรือเว็บไซต์กลาง ที่ใช้งานง่าย มีระบบแนะนำและตรวจสอบความถูกต้องอัตโนมัติ
-โดยจะมีการตรวจสอบความผิดปกติหรือพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษีโดยอัตโนมัติ
-รัฐสามารถวางแผนการจัดเก็บรายได้จากภาษีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-สามารถรวมข้อมูลรายได้จากแหล่งต่างๆ อย่างเช่น กรมสรรพากร, ประกันสังคม, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ฯลฯ) เพื่อใช้ในการประเมินภาษีได้แม่นยำ
-สนับสนุนให้ภาคธุรกิจออกใบกำกับภาษีในรูปแบบดิจิทัล ช่วยลดภาระเอกสาร
-เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบและนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรแบบเรียลไทม์
-ใช้เป็นเครื่องมือออนไลน์ช่วยคำนวณภาษีตามข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และสิทธิประโยชน์ที่สามารถหักลดหย่อน
-เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและลดข้อผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล
สำหรับใครที่ยังสงสัยว่าการการที่ประเทศไทยเดินหน้าปฏิรูประบบภาษีไทย สู่...ภาษีอัจริยะ-ภาษีดิจิทัล แล้วเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อรัฐ อย่างไรบ้าง คำตอบ คือ
-ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี
-ช่วยลดการรั่วไหลของรายได้ภาษี
-ช่วยให้สามารถติดตาม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจทางนโยบายได้แม่นยำขึ้น
-คนไทยสามารภเสียภาษีง่ายขึ้น และเข้าใจระบบภาษีมากขึ้น
-ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
-ช่วยลดความเสี่ยงจากการกรอกข้อมูลผิด หรือถูกปรับ
อย่างไรก็ตามในทุกวันนี้ประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการจัดเก็บภาษี ซึ่งช่วยให้ภาครัฐสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้อย่างเป็นระบบและโปร่งใสยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
ต่อมาจะพามาทำความรู้จักระบบ e-Tax และ e-Receipt มันคือ ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาโดยกรมสรรพากรของประเทศไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆ สามารถจัดทำและส่งข้อมูลภาษีได้ผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งช่วยลดภาระงาน ลดขั้นตอน และเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินการทางภาษี สามารถแยกรายละเอียดเป็น 2 ส่วนดังนี้
คือ ใบกำกับภาษีรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถจัดทำ จัดส่ง และเก็บรักษาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษ โดยเป็นเอกสารที่มีลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) , จัดทำและส่งให้คู่ค้าแบบออนไลน์ , ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลและการตรวจสอบ
คือ ใบเสร็จที่ออกโดยผู้ขายให้ผู้ซื้อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถใช้ประกอบการบันทึกบัญชีและยื่นภาษีได้เช่นเดียวกับใบเสร็จปกติ ข้อดี คือ จัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ , ช่วยลดต้นทุนด้านเอกสารและการจัดเก็บ , ป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร
สำหรับประโยชน์ของระบบ e-Tax & e-Receipt มี 5 ประการ ดังนี้
1.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้กระดาษ
2.สามารถรองรับการตรวจสอบย้อนหลัง และใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้
3.ช่วยเพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบได้ง่าย ลดโอกาสในการหลีกเลี่ยงภาษี
4.ช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว ในการส่งมอบข้อมูลภาษี
และ5. ช่วยลดภาระและต้นทุน ในการจัดพิมพ์ เก็บเอกสาร และจัดส่งเอกสารทางกายภาพ
นอกจากนี้ในส่วนของกรมสรรพากรกำลังเดินหน้านำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการตรวจสอบภาษีอย่างลึกซึ้ง เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของรัฐ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลางที่อาจมีความยุ่งยากในการทำบัญชีและภาษี โดยกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบ AI ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น โซเชียลมีเดีย และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ เพื่อประเมินรายได้ของผู้ประกอบการ เทคนิคเช่น Web Scraping ถูกนำมาใช้ในการดึงข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ตามรูปแบบที่กำหนด เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลราคาและประเภทสินค้าที่ค้าขายผ่านเว็บไซต์
ไม่เพียงเท่านี้ยังมีการใช้ข้อมูลจากสถาบันการเงินที่ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรตามกฎหมาย เช่น ข้อมูลบัญชีเงินฝากที่มีการโอนเงินเข้าบัญชีจำนวนมาก เพื่อประมวลผลร่วมกับข้อมูลอื่นๆ และตรวจสอบว่าผู้มีรายได้ได้ยื่นภาษีถูกต้องหรือไม่ อย่างไรก็ตามกรมสรรพากร ยังได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาแพลตฟอร์ม AI สัญชาติไทย เพื่อยกระดับการบริการผู้เสียภาษีด้วยดิจิทัล แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นภาษีได้ถูกต้องและสะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดความผิดพลาดและถูกเก็บภาษีย้อนหลัง
มาดูกันที่กรมสรรพสามิต ที่มีการเปิดตัว "น้องสมิตต์" ซึ่งเป็น Generative AI ที่ช่วยตอบคำถามและให้ข้อมูลด้านภาษีสรรพสามิต ระบบนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและประชาชนในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต คู่มือประชาชน และข้อหารือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สุดท้ายมาดูกันที่มาตรการภาษีที่เป็นมิตรกับธุรกิจยุคใหม่ ยกตัวอย่างเช่น อีคอมเมิร์ซ และคริปโตเคอร์เรนซี ควรออกแบบให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจดิจิทัล และสนับสนุนการเติบโตของนวัตกรรม โดยไม่สร้างภาระเกินควรให้กับผู้ประกอบการรายย่อย หรือ Startup ทั้งนี้สามารถพิจารณาแนวทางได้ดังนี้
-ระบบภาษีที่โปร่งใสและง่ายต่อการปฏิบัติ
- เกณฑ์ภาษีที่ยืดหยุ่นสำหรับธุรกิจรายย่อย
-เก็บภาษีจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ
-จัดหมวดหมู่สินทรัพย์ดิจิทัลให้ชัดเจน แยกประเภทคริปโตเป็น 3 กลุ่ม คือ เหรียญที่ทำหน้าที่เป็นเงิน ,เหรียญ Utility Token , เหรียญเพื่อการลงทุน
-ภาษีที่เหมาะสมกับนักลงทุนรายย่อย
-สร้างระบบรายงานข้อมูลจาก Exchange
-สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี
ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยี นวัตกรรม สำคัญมากๆกับการทำงานในยุคปัจจุบัน เพราะจะช่วยให้รัฐทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ ลดการผิดพลาด เข้าถึงประชาชนได้จำนวนมาก การเดินหน้าปฏิรูประบบภาษีไทย สู่...ภาษีอัจฉริยะ-ภาษีดิจิทัล ที่มุ่งเป็นมิตรการค้ายุคใหม่ คือ อีกหนึ่งพันธกิจที่กระทรวงการคลังกำลังทำอยู่!