svasdssvasds

เปิด 8 พฤติกรรมสตรีที่ "พระภิกษุ" ต้องระวังเป็นพิเศษ ควรหลีกให้ไกล

เปิด 8 พฤติกรรมสตรีที่ "พระภิกษุ" ต้องระวังเป็นพิเศษ ควรหลีกให้ไกล

ข่าวฉาวในวงการพระสงฆ์ที่เกี่ยวข้องกับ "สตรี" ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กรณีพระสงฆ์มีความสัมพันธ์ลับกับฆราวาสหญิง ไปจนถึงปัญหาทางเพศที่ถูกซ่อนอยู่ภายในวัด ทำให้เกิดคำถามในสังคมว่า “วงการผ้าเหลืองเสื่อมเพราะสตรีจริงหรือ"

SHORT CUT

  • สตรีบางกลุ่มอาจใช้รูปลักษณ์ ฐานะ และการแสดงความศรัทธาเป็นพิเศษเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับพระภิกษุ
  • เริ่มสร้างความไว้วางใจด้วยการสนทนาเรื่องธรรมะ ก่อนจะขอช่องทางการสื่อสารส่วนตัว เช่น ไอดีไลน์ เพื่อพูดคุยในเรื่องส่วนตัวมากขึ้น
  • มีการอ้างถึงความสัมพันธ์ในอดีตชาติ หรือมอบของมีค่าจำนวนมากเพื่อให้พระภิกษุเกิดความเชื่อใจและตายใจ
  • พฤติกรรมอาจนำไปสู่การชักชวนให้ร่วมกิจกรรมทางเพศผ่านวิดีโอคอล หรือเสนอให้นัดพบกันเป็นการส่วนตัว
  • สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเตือนว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นอันตราย และพระภิกษุควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการละเมิดพระธรรมวินัย

ข่าวฉาวในวงการพระสงฆ์ที่เกี่ยวข้องกับ "สตรี" ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กรณีพระสงฆ์มีความสัมพันธ์ลับกับฆราวาสหญิง ไปจนถึงปัญหาทางเพศที่ถูกซ่อนอยู่ภายในวัด ทำให้เกิดคำถามในสังคมว่า “วงการผ้าเหลืองเสื่อมเพราะสตรีจริงหรือ"

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ข่าวฉาวในวงการสงฆ์ที่เกี่ยวข้องกับ "สตรี" ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กรณีพระสงฆ์มีความสัมพันธ์ลับกับฆราวาสหญิง การล่วงละเมิดทางเพศ ไปจนถึงปัญหาทางเพศที่ถูกซ่อนอยู่ภายในวัด แม้กรณีเหล่านี้อาจเป็นเพียงส่วนน้อย แต่กลับส่งผลกระทบมหาศาลต่อภาพลักษณ์ของศาสนา และก่อให้เกิดคำถามในสังคมว่า “วงการผ้าเหลืองเสื่อมเพราะสตรีจริงหรือ?

ในอีกมุมหนึ่ง การโทษว่า “สตรี” เป็นต้นเหตุของความเสื่อมของวงการผ้าเหลือง อาจสะท้อนทัศนคติเชิงลบต่อผู้หญิงในสังคมไทย เนื่องจากหลายกรณีที่พระสงฆ์มีสัมพันธ์กับหญิงสาว มักถูกนำเสนอว่า “หญิงล่อลวง” หรือ “แต่งตัวไม่เหมาะสม” โดยไม่พูดถึงบทบาทของพระที่ละเมิดศีลด้วยตนเอง

ล่าสุดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ออกมาแจ้งเตือน ลักษณะพฤติกรรมของสตรีที่พระภิกษุพึงระมัดระวังเป็นพิเศษ 

ตามที่ปรากฏพระเถรานุเถระหลายรูปตกเป็นข่าวเชื่อมโยงกับหญิงสาวรายหนึ่ง และบางรูปถึงขั้นต้องสละสมณะเพศ ด้วยเหตุแห่งความสัมพันธ์อันไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นที่สะเทือนใจต่อศรัทธาสาธุชนและเป็นบาดแผลต่อพระพุทธศาสนา ขอถือโอกาสนี้ นำถ้อยคำตักเตือนที่เคยกราบนมัสการไว้แล้ว มาทบทวนอีกครั้ง พร้อมปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

 

ลักษณะพฤติกรรมของสตรีที่พระภิกษุพึงระมัดระวังเป็นพิเศษ

  1. หญิงสาวซึ่งมีบุคลิกและฐานะดี แต่งกายหรู ขับรถราคาแพง มาปฏิสันถาร ถวายทานหรือเลี้ยงภัตตาหาร ด้วยท่าทีเลื่อมใสอย่างเปิดเผย
  2. แสดงความศรัทธาเป็นพิเศษ เช่น ขอถวายตัวเป็นบุตรบุญธรรม เป็นโยมอุปัฏฐากประจำตัว หรือขอติดตามไปถวายงานในที่ต่างๆ
  3. เริ่มต้นสนทนาด้วยเรื่องศาสนา หรือเรื่องทั่วไป เพื่อให้พระรู้สึกสบายใจและลดความระวัง
  4. ต่อมาอ้างความจำเป็นเพื่อขอช่องทางสื่อสาร เช่น ขอไอดีไลน์เพื่อวิดีโอคอล
  5. ใช้การสนทนาอย่างใกล้ชิด ตีสนิทจนพระรู้สึกไว้วางใจ และคุยได้ทุกเรื่อง
  6. อ้างคำทำนาย หรืออดีตชาติ ว่าเคยเป็นคู่ชีวิตกัน เพื่อให้พระเกิดความเชื่อและยึดมั่นในตัวหญิงนั้น
  7. มอบทรัพย์หรือสิ่งของมีค่าเป็นจำนวนมาก เพื่อให้พระตายใจว่าตนมีฐานะมั่นคง ก่อนจะหาทางถอนกลับในภายหลัง
  8. ชักชวนให้พระร่วมกิจกรรมทางเพศผ่านวิดีโอคอล หรือเสนอให้นัดพบเป็นการส่วนตัว หากถึงขั้นนี้ ขอให้พระท่านรีบหยุดการติดต่อในทันที

หญิงลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้มาด้วยเจตนาบริสุทธิ์เช่นญาติโยมทั่วไป หากแต่เป็นบุคคลอันตรายที่พระพึงหลีกให้ไกล หากไม่สามารถตัดการติดต่อได้ทัน ท่านอาจตกอยู่ในสภาพไม่ต่างจากพระเถระที่เป็นข่าว และอาจต้องสละสมณะเพศต่อไป

พระภิกษุผู้หลงใหลในความงาม เสียงอ่อนหวาน หรือความอ่อนโยนของหญิงบางราย มักตกเป็นเหยื่อของกลลวง เสียทรัพย์ เสียศักดิ์ศรี และสุดท้ายเสียสมณเพศ จึงขอเตือนภัยนี้อีกครั้ง เพื่อเป็นเกราะคุ้มครองแก่ท่านทั้งหลาย

ทางป้องกันที่ดีที่สุด คือปฏิบัติตามพระพุทโธวาทที่พระพุทธองค์ทรงประทานไว้ กรณีการปฏิบัติต่อสตรีเพศ ซึ่งมีปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรว่า

  • ไม่เห็น ย่อมประเสริฐ
  • หากจำเป็นต้องเห็น ก็ไม่ควรพูด
  • หากจำเป็นต้องพูดหรือเจรจาด้วย พึงพูดหรือเจรจา อย่างมีสติ (และสำรวมระวัง)

ขอให้ท่านทั้งหลายตระหนักในภาระของสมณะ ยึดมั่นในพระธรรมวินัย และดำรงตนให้เป็นเนื้อนาบุญที่มั่นคงแก่สังคม

คำถามว่า “วงการผ้าเหลืองเสื่อมเพราะสตรี” อาจไม่ใช่คำถามที่ควรตั้งแต่ต้น เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่เพศของผู้เกี่ยวข้อง แต่อยู่ที่การไม่ยึดมั่นในพระธรรมวินัย และการขาดระบบควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ

การฟื้นฟูศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงต้องเริ่มจากภายในวงการผ้าเหลืองเอง ด้วยการยกระดับจริยธรรม ยึดหลักโปร่งใส และยอมรับการตรวจสอบจากสังคม เพื่อให้ “ผ้าเหลือง” กลับมาเป็นเครื่องหมายแห่งความบริสุทธิ์ดังเดิม

ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

 

ข่าวทีเกี่ยวข้อง

 

related