SHORT CUT
จากดินแดนที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัว สู่พื้นที่ปลอดภัยที่ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตได้อีกครั้ง "อนุสัญญาออตตาวา" ไม่เพียงห้ามทุ่นระเบิด แต่เปลี่ยนชีวิตผู้บริสุทธิ์ทั่วโลกให้กลับมามีความหวังอีกครั้ง
อนุสัญญาออตตาวา หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า "อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และถ่ายโอนทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Mine Ban Convention - APMBC)" เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อยุติการใช้และผลกระทบของทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Mines) ทั่วโลก
อนุสัญญาออตตาวาได้รับการเปิดให้ลงนามในปี พ.ศ. 2540 ที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา และมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2542 โดยปัจจุบันมีประเทศภาคีมากกว่า 160 ประเทศเข้าร่วม ซึ่งรวมถึงประเทศไทย
ประเทศภาคีที่ลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญานี้มี “ภาระหน้าที่หลัก” ตามที่กำหนดไว้ ดังนี้
1. ห้ามใช้ ประเทศภาคีจะต้องไม่ใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในทุกกรณี ไม่ว่าจะในภาวะสงครามหรือสันติภาพ
2. ห้ามพัฒนา ผลิต หรือสะสม จะต้องไม่พัฒนา ผลิต จัดหา ส่งออก หรือสะสมทุ่นระเบิดชนิดนี้ ทั้งเพื่อใช้เองหรือส่งต่อให้ประเทศอื่น
3. ทำลายคลังทุ่นระเบิด จะต้องทำลายทุ่นระเบิดที่มีอยู่ในคลังทั้งหมด ภายใน 4 ปี หลังจากเข้าเป็นภาคี โดยไม่มีข้อยกเว้น ยกเว้นในกรณีเพื่อใช้ในการฝึกอบรมด้านการเก็บกู้เท่านั้น
4. เก็บกู้พื้นที่ปนเปื้อน หากมีพื้นที่ที่ปนเปื้อนด้วยทุ่นระเบิด ประเทศนั้นมีหน้าที่ ต้องเก็บกู้ให้หมดสิ้นภายใน 10 ปี และหากยังไม่แล้วเสร็จสามารถขอขยายระยะเวลาได้
5. ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ประเทศภาคีต้องให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิด เช่น การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การสนับสนุนทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการให้สิทธิเสมอภาคในสังคม
6. รายงานต่อสหประชาชาติ จะต้องรายงานความคืบหน้าต่อองค์การสหประชาชาติเป็นประจำทุกปี โดยระบุสถานะการทำลายคลัง เก็บกู้พื้นที่ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
7. ความร่วมมือระหว่างประเทศ ภาคีมีหน้าที่ร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกันในด้านเทคนิค การเงิน หรือทรัพยากร เพื่อให้ประเทศที่ยังมีทุ่นระเบิดสามารถปลอดภัยได้โดยเร็ว
นับถึงปัจจุบัน (ปี 2025) มี 164 ประเทศ ที่เป็นภาคีของอนุสัญญาออตตาวา ซึ่งรวมถึงประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป แอฟริกา และละตินอเมริกา
หลายประเทศเหล่านี้เคยประสบปัญหาทุ่นระเบิดในอดีต และร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศในการเก็บกู้และฟื้นฟูพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
มีไม่ถึง 35 ประเทศ ที่ยัง ไม่ได้เข้าร่วม อนุสัญญาออตตาวา ซึ่งรวมถึงชาติที่มีอิทธิพลทางการทหารและความมั่นคงในระดับโลก
ประเทศสำคัญที่ยังไม่เข้าร่วม
แม้อนุสัญญาออตตาวาจะมีเป้าหมายเพื่อมนุษยธรรม แต่ประเทศที่ ยังไม่เข้าร่วม ส่วนใหญ่อ้างเหตุผลด้าน ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ ได้แก่:
1. ความขัดแย้งทางชายแดน หลายประเทศมองว่า ทุ่นระเบิดยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการป้องกันการบุกรุกจากศัตรู เช่น กรณี เกาหลีใต้ ที่ใช้ทุ่นระเบิดบริเวณเส้นขนานที่ 38 เพื่อป้องกันเกาหลีเหนือ
2. เหตุผลทางยุทธศาสตร์ ประเทศมหาอำนาจอย่าง สหรัฐฯ จีน รัสเซีย ต้องการคงความสามารถทางยุทโธปกรณ์ไว้ครบถ้วน โดยมองว่าการห้ามใช้ทุ่นระเบิดอาจเป็นการจำกัดอำนาจทางทหาร
3. ความเชื่อมั่นในมาตรการของตนเอง บางประเทศอ้างว่าตนมีมาตรการควบคุมทุ่นระเบิดอย่างเข้มงวด และไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมอนุสัญญา
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Mines) คืออาวุธที่ยังคงคร่าชีวิตและทิ้งบาดแผลทางกายและใจไว้กับผู้บริสุทธิ์ แม้สงครามจะจบลงไปแล้วหลายสิบปี ด้วยต้นทุนต่ำ ติดตั้งง่าย และทำลายยาก ทุ่นระเบิดจึงกลายเป็นกับดักมรณะที่ฝังรอเวลาทำร้ายพลเรือนโดยไร้การเลือกเป้าหมาย
ย้อนกลับไปก่อนปี 2540 โลกต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายจากทุ่นระเบิดในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในประเทศที่เคยมีสงครามหรือความขัดแย้งยืดเยื้อ เช่น
ไม่เพียงแต่ชีวิตคน แต่เศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหาร ก็ได้รับผลกระทบ เพราะที่ดินทำกินกลายเป็นพื้นที่อันตราย
การมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญาออตตาวาทำให้โลกเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
1. จำนวนผู้บาดเจ็บลดลงอย่างชัดเจน จากข้อมูลขององค์กร The Landmine Monitor ในปี 1999 มีผู้ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดกว่า 9,000 คน แต่หลังจากปี 2010 ตัวเลขลดลงเหลือเฉลี่ย 4,000-5,000 คนต่อปี ในบางประเทศ เช่น โมซัมบิก หรือมอริเตเนีย สามารถประกาศ “ปลอดทุ่นระเบิด” ได้สำเร็จ
2. ชีวิตกลับคืนสู่พื้นที่ปกติ พื้นที่การเกษตร ที่อยู่อาศัย และถนนที่เคยถูกปิดตายจากทุ่นระเบิด ถูกฟื้นฟูกลับมาใช้งานได้ ทำให้ ครอบครัวกลับไปทำเกษตรได้อีกครั้ง โรงเรียนในหมู่บ้านเปิดสอนอย่างปลอดภัย เด็กๆ วิ่งเล่นบนสนามโดยไม่ต้องเสี่ยงชีวิต
3. การฟื้นฟูและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีระบบ ประเทศที่เป็นภาคีต้องรับผิดชอบในการรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการสนับสนุนการฝึกอาชีพ สร้างระบบคุ้มครองสิทธิผู้ประสบภัยในระดับชาติ
4. จิตสำนึกโลกเปลี่ยนไป ประชาคมโลกมองเห็นความสำคัญของการห้ามใช้อาวุธที่ไร้มนุษยธรรมมากขึ้น
อนุสัญญาออตตาวา ไม่ใช่เพียงข้อตกลงบนกระดาษ แต่คือจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูชีวิตผู้คนหลังสงคราม คือคำมั่นของประชาคมโลกที่จะไม่ปล่อยให้เด็กคนใดต้องจบชีวิตเพียงเพราะวิ่งเล่นผิดจุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง