svasdssvasds

รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย 29 คน มีใครบ้าง สถิติที่น่าสนใจ ที่สุดของนายกฯไทย

รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย 29 คน  มีใครบ้าง สถิติที่น่าสนใจ ที่สุดของนายกฯไทย

เข้าใกล้ช่วงเลือกตั้ง 2566 มาดูกันถึง 29 รายชื่อ นายกรัฐมนตรีไทย ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีใครบ้าง ใครคือ นายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุด ตอนเข้ารับตำแหน่ง ? ใครคือนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุด และ ใครคือนายกฯหญิงคนแรกของประเทศ

เกร็ดความรู้ การเมืองไทย ก่อนเลือกตั้ง 2566 : นายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุด   

ประเทศไทยเคยมี นายกรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุดในขณะที่ขึ้นดำรงตำแหน่ง คือ นาย สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของไทย โดยในขณะดำรงแหน่งมี อายุได้ 73 ปี ซึ่งนับว่ายังเป็นนายกฯ เพียงคนเดียวที่มีอายุเกิน 70 ปี

เกร็ดความรู้ การเมืองไทย ก่อนเลือกตั้ง 2566 : นายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุด 

จากประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก่อนการเลือกตั้ง 2566 เมื่อเรียงลำดับอายุของบรรดานายกรัฐมนตรีไทยแล้ว จะพบว่าส่วนมากมีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วง 40-49 ปี 

โดยมี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของไทย เข้ารับดำรงนายกรัฐมนตรีในขณะที่อายุ 40 ปี ซึ่งนับว่าน้อยที่สุด และ รองลงมาคือ 44 ปี คือ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เกร็ดความรู้ การเมืองไทย ก่อนเลือกตั้ง 2566  : นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก  

ในยุคสมัยที่ไม่ว่าเพศสภาพใดก็สามารถเข้ามามีบทบาททางการเมืองได้ ประเทศไทยมีนายกฯหญิงคนแรก คือ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ประเทศไทย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ถึง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รวมกันทั้งสิ้น 2 ปี 275 วัน และในการเลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้ มีแคนดิเดตนายกฯ ที่เป็นผู้หญิง 9 คน โดยมีแพทองธาร ชินวัตร จากเพื่อไทย และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  จากไทยสร้างไทย ที่มีโอกาสขึ้นไปเป็นผู้นำหญิงของประเทศอีกครั้ง

รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย 29 คน ก่อนเลือกตั้ง 2566 เกร็ดข้อมูล สถิติที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกร็ดความรู้ การเมืองไทย ก่อนเลือกตั้ง 2566 : นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด  

นาย ทวี บุณยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของไทย คือผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยระยะเวลาทั้งสิ้น 17 วัน ซึ่งนับว่าสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 

โดย นายทวี ขึ้นดำรงตำแหน่งครั้งแรก วันที่ 31 สิงหาคม 2488 และพ้นจากตำแหน่งวันที่ 17 กันยายน 2488 นอกจากนี้ นายทวี ยังนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการอีก 4 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ และ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนับว่ามากที่สุดในบรรดาผู้นำประเทศทั้งหมด  

โดย เหตุผลที่ ทวี บุณยเกตุ เป็นระยะสั้น เพราะ ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร.8  ได้แต่งตั้งทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างรอ  ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา

เกร็ดความรู้ การเมืองไทย ก่อนเลือกตั้ง 2566 นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด  

ในช่วงสมัย ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดดเด่น และสร้างอะไรหลายอย่าง ในประเทศนี้ อาทิ การให้ใส่หมวกและห้ามกินหมาก ไปจนถึงการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก 'สยาม' เป็น 'ไทย' อย่างที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งในบรรดาผู้นำทั้งหมดของไทย จอมพล ป. อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ยังเป็นผู้นำของไทยที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดอีกด้วย นั่นคือ 14 ปี 11 เดือน (8 สมัย)

ทั้งนี้ รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 1 ถึง คนที่ 29 มีดังนี้ 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 : พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)  วันเข้ารับตำแหน่ง 28 มิถุนายน 2475 - 20 มิถุนายน 2476
นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) : วันเข้ารับตำแหน่ง 21 มิถุนายน 2476 - 16 ธันวาคม 2481
นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) : วันเข้ารับตำแหน่ง 16 ธันวาคม 2481 - 16 กันยายน 2500 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 พันตรี ควง อภัยวงศ์ : วันเข้ารับตำแหน่ง 1 สิงหาคม 2487 - 8 เมษายน 2491
นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 นายทวี บุณยเกตุ  : วันเข้ารับตำแหน่ง 31 สิงหาคม 2488 - 17 กันยายน 2488

นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช : วันเข้ารับตำแหน่ง 17 กันยายน 2488 - 6 ตุลาคม 2519
นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) : วันเข้ารับตำแหน่ง 24 มีนาคม 2489 - 23 สิงหาคม 2489
นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) : วันเข้ารับตำแหน่ง 23 สิงหาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490
นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 นาย พจน์ สารสิน : วันเข้ารับตำแหน่ง 21 กันยายน 2500 - 1 มกราคม 2501 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 จอมพล ถนอม กิตติขจร : วันเข้ารับตำแหน่ง 1 มกราคม 2501 - 14 ตุลาคม 2516

นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : วันเข้ารับตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ 2502 - 8 ธันวาคม 2506
นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ : วันเข้ารับตำแหน่ง 14 ตุลาคม 2516 - 15 กุมภาพันธ์ 2518
นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช : วันเข้ารับตำแหน่ง 14 มีนาคม 2518 - 20 เมษายน 2519
นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร : วันเข้ารับตำแหน่ง 8 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520
นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : วันเข้ารับตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน 2520 - 3 มีนาคม 2523 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : วันเข้ารับตำแหน่ง 03 มีนาคม 2523 - 04 สิงหาคม 2531
นายกรัฐมนตรีคนที่ 17 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : วันเข้ารับตำแหน่ง 04 สิงหาคม 2531 - 23 กุมภาพันธ์ 2534 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 18 นายอานันท์ ปันยารชุน : วันเข้ารับตำแหน่ง 2 มีนาคม 2534 - 7 เมษายน 2535
นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 พลเอกสุจินดา คราประยูร : วันเข้ารับตำแหน่ง 7 เมษายน 2535 - 10 มิถุนายน 2535 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 นายชวน หลีกภัย : วันเข้ารับตำแหน่ง 23 กันยายน 2535 - 13 กรกฎาคม 2538 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 นายบรรหาร ศิลปอาชา : วันเข้ารับตำแหน่ง 13 กรกฎาคม 2538 - 25 พฤศจิกายน 2539
นายกรัฐมนตรีคนที่ 22 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ : วันเข้ารับตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน 2539 - 8 พฤศจิกายน 2540
นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร : วันเข้ารับตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ 2544 - 19 กันยายน 2549
นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ :  วันเข้ารับตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2549 - 29 มกราคม 2551 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 นายสมัคร สุนทรเวช : วันเข้ารับตำแหน่ง 29 มกราคม 2551 - 9 กันยายน 2551

นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ : วันเข้ารับตำแหน่ง 18 กันยายน 2551 - 2 ธันวาคม 2551 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : วันเข้ารับตำแหน่ง 17 ธันวาคม 2551 - 5 สิงหาคม 2554 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร : วันเข้ารับตำแหน่ง 05 สิงหาคม 2554 - 7 พฤษภาคม 2557 
นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา : วันเข้ารับตำแหน่ง 24 สิงหาคม 2557 - 9 มิถุนายน 2562

ที่มา 
https://www.thaigov.go.th/aboutus/history/index  

นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 • นายกไทย คนที่ 1 - 29 ประกอบอาชีพอะไรมาก่อน ? 

ทหาร : 12 คน  ประกอบด้วย 1. พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา, 2. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม 3. พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 4. จอมพล ถนอม กิตติขจร ,5. จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ , 6. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ , 7.พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ , 8. พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ  (เคยมียศทางการทหาร แต่ตอนขึ้นเป็นนายกฯ ได้เล่นการเมืองเต็มตัว) 9. พลเอกสุจินดา คราประยูร , 10. พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ  (เคยมียศทางการทหาร แต่ตอนขึ้นเป็นนายกฯ ได้เล่นการเมืองเต็มตัว)   , 11. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ , 12  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นักกฎหมาย 8 คน  ประกอบด้วย 1. พระยามโนปกรณนิติธาดา , 2. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช , 3. นายปรีดี พนมยงค์ , 4. นาย พจน์ สารสิน , 5. นายสัญญา ธรรมศักดิ์ , 6.นายธานินทร์ กรัยวิเชียร , 7. นายชวน หลีกภัย , 8. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์  

นักธุรกิจ  5 คน ประกอบด้วย 1. หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 2. นายอานันท์ ปันยารชุน ,3.  นายบรรหาร ศิลปอาชา ,4.  พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  และ 5. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  

ข้าราชการ ข้าราชการการเมือง 4 คน ประกอบด้วย 1.  ควง อภัยวงศ์ ,2. นายทวี บุณยเกตุ ,3 นายสมัคร สุนทรเวช  และ 4. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  

related