svasdssvasds

เปิด 25 รายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร มีใครบ้าง ขึ้นดำรงตำแหน่งตอนไหน

เปิด 25 รายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร มีใครบ้าง ขึ้นดำรงตำแหน่งตอนไหน

เปิด 25 รายชื่อ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ผ่านมา มีใครนั่งประธานสภาบ้าง และ ประธานสภาฯ คนที่ 26 ในรัฐบาลก้าวไกล จะเป็นใคร

เปิด 25 รายชื่อ  ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีใครบ้าง ขึ้นดำรงตำแหน่งตอนไหน 
                                                                    
1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)   ที่มา  แต่งตั้ง                                
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ที่มา  แต่งตั้ง                                
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี  (กระแส ประวาหะนาวิน)   ที่มา  แต่งตั้ง                                
4. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)  ที่มา แต่งตั้ง                                
5. พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)    ที่มา  แต่งตั้ง                                
6. เกษม บุญศรี ที่มา  แต่งตั้ง
7. พึ่ง ศรีจันทร์    ที่มา  แต่งตั้ง
8. พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์) ที่มา แต่งตั้ง
9. พลเอก พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) ที่มา  แต่งตั้ง
10. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที)     ที่มา แต่งตั้ง

ชวน หลีกภัย ประธานสภาคนที่ 15 ของประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

11. พลตรี ศิริ สิริโยธิน  ที่มา      ส.ส. เขต 1 ชลบุรี  พรรคสหประชาไทย                     
12. ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์      ที่มา      ส.ส. เขต 1 ฉะเชิงเทรา พรรคสังคมชาตินิยม                    
13. อุทัย พิมพ์ใจชน    ที่มา      ส.ส. เขต 1 ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์
14. บุญเท่ง ทองสวัสดิ์     ที่มา      ส.ส. เขต 2 ลำปาง พรรคกิจสังคม
15. ชวน หลีกภัย  ที่มา      ส.ส. เขต 1 ตรัง พรรคประชาธิปัตย์
16 . ปัญจะ เกสรทอง        ที่มา      ส.ส. เขต 1 เพชรบูรณ์ พรรคชาติไทย
17. อาทิตย์ อุไรรัตน์  ที่มา      ส.ส. เขต 1 ฉะเชิงเทรา พรรคสามัคคีธรรม
18. มารุต บุนนาค     ที่มา      ส.ส. เขต 2 กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
19. พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ   ที่มา      ส.ส. เขต 1 สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย
20.  วันมูหะมัดนอร์ มะทา    ที่มา      ส.ส เขต 1 ยะลา พรรคความหวังใหม่
21. พิชัย รัตตกุล    ที่มา      ส.ส. เขต 6 กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
22.  โภคิน พลกุล        ที่มา      ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย
23. ยงยุทธ ติยะไพรัช          ที่มา      ส.ส. สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1 พรรคพลังประชาชน
24.  ชัย ชิดชอบ     ที่มา      ส.ส. สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 4 พรรคภูมิใจไทย        
25. สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์      ที่มา      ส.ส. เขต 6 ขอนแก่น  พรรคเพื่อไทย

หมายเหตุ : ไม่นับประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ​ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน​ ที่มาจากการแต่งตั้ง หลังการเกิดรัฐประหาร

 โภคิน พลกุล ประธานสภาคนที่ 22
 

ทราบหรือไม่ว่า ในช่วงเวลา ย้อนหลัง 20 ปี  ประธานสภาฯ ล้วนมาจากพรรคอันดับหนึ่ง ยกเว้นสภาฯ ชุดปี 2562 ที่นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ประธานสภา ทั้งที่ ประชาธิปัตย์ ไม่ได้ จำนวน ส.ส มากที่สุดในการเลือกตั้ง 2562 

จากประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ผ่านมา นับตั้งแต่อย่างน้อยปี 2535 ประธานสภาฯ ล้วนมาจากพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งในสภา

ทว่า ในการลงมติเลือกประธานสภาฯ เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ของประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่ประธานสภาฯ มาจากพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคอันดับหนึ่งได้นั่งเก้าอี้นี้ ได้แก่ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งมีที่นั่งในสภา 52 เสียง

ปี 2535 นายมารุต บุนนาค จากพรรคประชาธิปัตย์ ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์ ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 79 เสียง)
ปี 2538 พล.ต. บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ จากพรรคชาติไทย ภายใต้รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา (พรรคชาติไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 92 เสียง)
ปี 2539 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคความหวังใหม่ รัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ์ (พรรความหวังใหม่ ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 125 เสียง)
ปี 2543 นายพิชัย รัตตกุล พรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลชวน หลีกภัย หรือ "รัฐบาลชวน 2" (มิ.ย.- พ.ย. 2543 โดยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลในเดือน พ.ย. 2540 จากการดึง ส.ส. พรรคประชากรไทย ชิงตั้งรัฐบาล หลังจากนายชวลิต ยุงใจยุทธ์ ลาออกจากนายกฯ )
ปี 2544 นายอุทัย พิมพ์ใจชน พรรคไทยรักไทย รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (พรรคไทยรักไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 248 เสียง)
ปี 2548 นายโภคิน พลกุล พรรคไทยรักไทย รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (พรรคไทยรักไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 377 เสียง
ปี 2551 นายยงยุทธ์ ติยะไพรัช พรรคพลังประชาชน รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (พรรคพลังประชาชนที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 233 เสียง)
ปี 2551 นายชัย ชิดชอบ พรรคภูมิใจไทย (ก่อนหน้านั้นะหว่างดำรงตำแหน่งสังกัดพรรคพลังประชาชน) สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากมีการยุบพรรคการเมือง 3 พรรค ได้แก่ พลังประชาชน, ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย นายชัย ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเปลี่ยนขั้วมาเข้าร่วมรัฐบาลกับ ปชป.
ปี 2554 นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พรรคเพื่อไทย รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 265 เสียง)
ปี 2557 นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ปี 2562 นายชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์ (ที่นั่งในสภา 52 เสียง พรรคอันดับ 4 ) รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือ ลุงตู่  (พรรคพลังประชารัฐ 116 เสียง)

ประธานสภาผู้แทนราษฎร สำคัญ อย่างไร  
งานแรกของประธานสภา คือ การนำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ก่อน  และความสำคัญประธานสภา ในฐานะผู้กำกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้น 

ถือเป็นผู้วินิจฉัยอนุญาต หรือจำกัดการอภิปรายของ ส.ส. ในสภา การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี หรือการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายงบประมาณประจำปี 

รวมทั้งอำนาจในการบรรจุญัตติต่างๆ เข้าสภา  และตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ จะระบุว่า ประธานสภาฯ ซึ่งเป็นประธานของที่ประชุมต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่แต่หลายครั้งปฏิเสธไม่ได้ว่า หน้าที่นี้ทำให้ความ "ได้เปรียบ-เสียเปรียบ"  โดยเฉพาะในช่วงที่พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ ถูกพรรคฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
 

 ประธานสภาผู้แทนราษฎร มาจากไหน 
จากข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 กำหนดให้การเลือกประธานสภา มีวิธีการดังนี้

การเลือกประธานสภาและรองประธานสภาครั้งแรก ให้เลขาธิการเชิญสมาชิก ผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการ เลือกประธานสภาและรองประธานสภา
การเลือกประธานสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้ 1 ชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ให้ผู้ถูกเสนอชื่อกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม โดยไม่มีการอภิปราย
ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ
 

related