svasdssvasds

เปิดรายชื่อประธานสภาฯ : 31 ปีหลัง-ปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากพรรคอันดับ 1 ในสภา

เปิดรายชื่อประธานสภาฯ : 31 ปีหลัง-ปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากพรรคอันดับ 1 ในสภา

ตำแหน่งประธานสภาฯ หรือชื่อเต็มๆ คือประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กลายเป็นจุดสปอร์ตไลท์ที่คนทั่วประเทศกำลังให้ความสนใจ คำถามสำคัญ คือ ตำแหน่งประธานสภา จะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว ที่ทำให้ปัญหาต่างๆลุกลาม ในการจัดตั้งรัฐบาล 2566 หรือไม่ ?

 SPRiNG ชวนมาย้อนอดีต เอากรอบเวลา ในรอบ 31 ปีที่ผ่านมา ตำแหน่งประมุข นิติบัญญัติ "ประธานสภาผู้แทนราษฎร" ล้วนมาจากพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งในสภาทั้งสิ้น ยกเว้นในการเลือกตั้ง 2562 ที่ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งไม่ได้เป็นพรรคมีที่นั่ง ส.ส. อันดับ 1 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภา

จากประวัติศาสตร์การเมืองที่ผ่านมา นับตั้งแต่อย่างน้อยปี 2535 ประธานสภาฯ ล้วนมาจากพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ในสภา

อย่างไรก็ตาม ในการลงมติเลือกประธานสภาฯ เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ของประเทศไทย นับเป็นครั้งแรก ที่ประธานสภาฯ มาจากพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคอันดับหนึ่งได้นั่งเก้าอี้นี้ ได้แก่ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งมีที่นั่งในสภา 52 เสียง

มาลองย้อนดูกันว่า ในช่วง 31 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ หลังเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี 2535 นั้น ประเทศไทย มีประธานสภาฯ เป็นใครบ้าง และมาจากพรรคการเมืองใดฯ 

 ชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์ (ที่นั่งในสภา 52 เสียง พรรคอันดับ 4 ) เป็นประธานสภาฯ  รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรคพลังประชารัฐ 116 เสียง)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• รายชื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี 2535 - ปัจจุบัน 

ปี 2535 มารุต บุนนาค จากพรรคประชาธิปัตย์ ในรัฐบาลนำโดยชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์ ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 79 เสียง)
ปี 2538 พล.ต. บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ จากพรรคชาติไทย ภายใต้รัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา (พรรคชาติไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 92 เสียง)
ปี 2539 วันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคความหวังใหม่ รัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ์ (พรรความหวังใหม่ ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 125 เสียง)

วันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคความหวังใหม่ เป็นประธานสภาฯ รัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ์ (พรรความหวังใหม่ ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 125 เสียง)

ปี 2543 พิชัย รัตตกุล พรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลนายชวน หลีกภัย หรือ "รัฐบาลชวน 2" (มิ.ย.- พ.ย. 2543 โดยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลในเดือน พ.ย. 2540 จากการดึง ส.ส. พรรคประชากรไทย ชิงตั้งรัฐบาล หลังจากนายชวลิต ยุงใจยุทธ์ ลาออกจากนายกฯ )
ปี 2544 อุทัย พิมพ์ใจชน พรรคไทยรักไทย รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (พรรคไทยรักไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 248 เสียง)
ปี 2548 โภคิน พลกุล พรรคไทยรักไทย รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (พรรคไทยรักไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 377 เสียง

อุทัย พิมพ์ใจชน พรรคไทยรักไทย เป็นประธานสภาฯ รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (พรรคไทยรักไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 248 เสียง)
ปี 2551 ยงยุทธ์ ติยะไพรัช พรรคพลังประชาชน รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (พรรคพลังประชาชนที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 233 เสียง)
ปี 2551 ชัย ชิดชอบ พรรคภูมิใจไทย (ก่อนหน้านั้นะหว่างดำรงตำแหน่งสังกัดพรรคพลังประชาชน) สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากมีการยุบพรรคการเมือง 3 พรรค ได้แก่ พลังประชาชน, ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย นายชัย ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเปลี่ยนขั้วมาเข้าร่วมรัฐบาลกับ ปชป.
ปี 2554 สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พรรคเพื่อไทย รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 265 เสียง)
ปี 2557 พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ปี 2562 ชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์ (ที่นั่งในสภา 52 เสียง พรรคอันดับ 4 ) รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรคพลังประชารัฐ 116 เสียง)
.

related