svasdssvasds

เปิดไทม์ไลน์ “โครงการแลนด์บริดจ์” สะพานเศรษฐกิจภาคใต้

เปิดไทม์ไลน์ “โครงการแลนด์บริดจ์” สะพานเศรษฐกิจภาคใต้

เปิดไทม์ไลน์ “โครงการแลนด์บริเชื่อมเส้นทางอ่าวไทย – อันดามัน ยกระดับเศรษฐกิจไทยระยะยาว พร้อมเปิดให้บริการ ต.ค.73

ในงาน Dinner Talk : THAILAND’ S FUTURE อนาคตประเทศไทย 2024 ที่จัดโดยเครือเนชั่นเมื่อวันอังคารที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ประกาศว่า ขอรับบทเซลล์แมนประเทศที่จะเชื่อมโลก รวมถึงยกระดับชีวิตคนไทยทุกคน และเดินหน้าให้ประเทศไทยพร้อมเป็นแหล่งลงทุนของชาวต่างชาติ

ทั้งนี้รัฐบาลจะมุ่งให้ความสำคัญเรื่องยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยทุกคน รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว ซึ่งระยะสั้นคือ นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ลดราคาพลังงาน ไปจนถึงการพักหนี้ ส่วนโครงการระยะยาวคือต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าประเภทต่างๆ ในอนาคต

โดยเมื่อวันที่ 16 ตาคม 2566 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (โครงการแลนด์บริดจ์) พร้อมให้กระทรวงคมนาคมรับฟังความคิดเห็นจากต่างชาติ เพื่อหาผู้ร่วมลงทุนในลำดับต่อไป

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ มีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท โดยมีจุดประสงค์ให้ย่นระยะเวลาการขนส่งสินค้าต้องผ่านช่องแคบมะละกาได้ 6-9 วัน เพราะคาดว่าปริมาณการส่งสินค้าในช่องแคบมะละกาจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการขุดท่อส่งน้ำมันเพื่อเชื่อมระหว่างทะเลอันดามันและอ่าวไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้หารือกับ “CRRC Group” รัฐวิสาหกิจที่ผลิตอุปกรณ์ขนส่งทางรางใหญ่ที่สุดในโลกจากจีนมาร่วมพัฒนาแล้ว

ไทม์ไลน์โครงการ 

 

ต.ค. 66 ครม.รับทราบโครงการ

พ.ย.66-ม.ค. 67 ดำเนินการรับฟังความเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ( Road Show )

ม.ค.- ธ.ค. 67 ดำเนินการจัดทำกฎหมายพ.ร.บ.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ( SEC) 

เม.ย.-มิ.ย.68  คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน

ม.ค.68-ธ.ค. 69 ดำเนินการออกพรฎ.เวนคืนที่ดิน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ก.ค.-ส.ค. 68 เสนอครม.อนุมัติลงนามในสัญญา

ก.ย.68- ก.ย. 73 ดำเนินการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์

ต.ค.73 เปิดให้บริการ

สำหรับรายละเอียดโครงการมีดังนี้

  • สร้างท่าเรือชุมพร ให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย นำระบบออโตเมชันมาใช้ ก้าวสู่ Smart Port และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาให้เป็นสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามัน และอ่าวไทย
  • สร้างท่าเรือระนอง ให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์ และเป็นประตูสู่การค้าฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือระนอง กับท่าเรือกลุ่มประเทศแถบเอเชียใต้ BIMTEC ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
  • พัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) และรถไฟทางคู่ และการขนส่งทางท่อคู่ขนานบนเส้นทางเดียวกันตาแบบบูรณาการการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมต่อแนวเส้นทางรถไฟคู่ (MR-MAP)

 

กระทรวงคมนาคมได้ประเมินมูลค่าโครงการว่าต้องใช้วงเงินในระยะแรก 5.2 แสนล้านบาท สำหรับก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกชุมพร ท่าเรือน้ำลึกระนอง เส้นทางเชื่อม ท่าเรือ พื้นที่เปลี่ยนรูปแบบขนส่งสินค้า และการเวนคืนที่ดิน ซึ่งเป็นโปรเจกต์ใหญ่หลายรัฐบาลอยากให้เกิดมานานแล้ว ส่วนรัฐบาลเศรษฐาก็อยากให้เกิดขึ้นจริงเร็วที่สุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทำไม “สวิสเซอร์แลนด์-สหรัฐ” ถึงเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมดีที่สุดในโลก

SINOPEC เปิดตัวปั๊มน้ำมันสัญชาติไทย - จีน สาขาแรกในไทย แบรนด์ “SINOPEC SUSCO”

เศรษฐา ทวีสินขอเป็นเซลล์แมนประเทศคนที่เชื่อมโลกยกระดับชีวิตคนไทยทุกคน

 

 

 

related