svasdssvasds

โกดังเก็บพลุ ต้องห่างจากเขตชุมชนแค่ไหน ? กรณีศึกษาจากโกดังพลุสุพรรณระเบิด

โกดังเก็บพลุ ต้องห่างจากเขตชุมชนแค่ไหน ? กรณีศึกษาจากโกดังพลุสุพรรณระเบิด

จากกรณีที่ โรงงานพลุสุพรรณบุรีระเบิด ที่ ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 17 มกราคม 2567 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย และนับเป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แล้วคำถาม สำคัญคือ โกดังเก็บพลุ ต้องห่างจากเขตชุมชนแค่ไหน ?

จากกรณีที่ มีเหตุการณ์ โกดังพลุระเบิด หรือ โรงงานพลุสุพรรณบุรีระเบิด ที่ ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ในวันที่ 17 มกราคม 2567 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย และนับเป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น  

และแท้ที่จริงแล้ว ,  ตรงจุดนี้ บริเวณนี้ ก็เคยเกิดเหตุ ระเบิดโกดังพลุ มาแล้ว ในช่วงเวลา วันที่ 30 0 พ.ย.2565 เวลา 10.00 น. โดย หากทวนเข็มนาฬิกากลับไปในอดีตนั้น ครั้งก่อนมีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 4 คน รถจักรยานยนต์เสียหาย 5 คัน ต้นเหตุของการระเบิดคราวที่แล้วทำความเสียหายมีอานุภาพในพื้นที่แค่ห้องทำงานเพียงห้องเดียว  ซึ่งสาเหตุคาดว่าเกิดขึ้นจากไฟที่ปะทุขึ้นมาจากเตาถ่าน และคนงานรีบนำเอาถังดับเพลิงไปฉีดเพื่อดับไฟ แต่สะเก็ดไฟกระจายเป็นวงกว้าง กระเด็นไปโดนกองดินปืน ทำให้เกิดการระเบิดขึ้น 

ก่อนจะปิดการผลิตชั่วคราว และกลับมาเปิดอีกครั้ง ก่อนเกิดเหตุระเบิดขึ้นซ้ำในวันที่ 17 ม.ค.2567 เวลา 15.30 น.

เศร้าซ้ำเศร้า ที่เดิมมาแล้ว 2  ครั้ง  คงต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ต้องเจอกับฝันร้ายแบบนี้อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น จากเคส โกดังเก็บพลุ จังหวัด สุพรรณบุรี นั้น จึงทำให้มีคำถาม ตามมาว่า แล้ว โกดังเก็บพลุ ต้องห่างจากเขตชุมชนแค่ไหน ?  กรอบของกฎหมายกำหนดไว้อย่างไร 

เรื่องของโกดังเก็บพลุ ระเบิด ถือเป็นปัญหาที่นิ่งนอนใจเพิกเฉยไม่ได้  เพราะเป็นภัยอันตรายใกล้ตัวชุมชนอยู่เรื่อยมา

โกดังเก็บพลุ ต้องห่างจากเขตชุมชนแค่ไหน ? กรณีศึกษาจากโกดังสุพรรณระเบิด
 

 ไม่ใช่ว่า ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายและระเบียบทางราชการ ในเรื่องนี้เรามีกฎหมายในหลายกระทรวงที่ครอบคลุม ทั้ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนฯ 2490 พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 และยังมีของกระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงกลาโหม 

โกดังเก็บพลุ ต้องห่างจากเขตชุมชนแค่ไหน ? กรณีศึกษาจากโกดังสุพรรณระเบิด
 

หลักเกณฑ์การควบคุมและการกำกับดูแลการค้าดอกไม้เพลิง

เช่น 

ห้ามเก็บสะสมดอกไม้เพลิงที่มีน้ำหนักรวมของดินปืนหรือสารระเบิด เกินกว่า 50 กิโลกรัม (ไม่รวมวัสดุห่อหุ้ม)
 ต้องมีแผ่นป้ายหรือสัญลักษณ์ ‘ห้ามสูบบุหรี่’ และแผ่นป้ายคำเตือนถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟ หรือความร้อน
 ห้ามทำกิจกรรมใดๆ ที่อาจทำให้เกิดประกายไฟ หรือความร้อน เช่น การปรุงอาหาร จุดธูปเทียน การเจาะ การเชื่อม และการประสานโลหะหรือสิ่งอื่นใด เป็นต้น
 จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์จำนวนหนึ่งเจาะจงสถานที่เก็บรักษา เลยทำให้ใครที่จะครอบครองดอกไม้เพลิงหรือวัตถุดิบที่ใช้ผลิต จำเป็นต้องเตรียม ‘อาคาร’ ให้มีลักษณะ เช่น

ไม่ตั้งอยู่ในย่านชุมชนที่มีคนอยู่อาศัย หรือใกล้สาธารณสถาน ทั้งโรงเรียน วัด โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ เป็นต้น

ตั้งห่างจากชุมชนตามกำหนด มีตั้งแต่ 30-360 เมตร (ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ถือครองโปรตัสเซียมคลอเรท)

โดย                 
                        
- เกษตรกรรายย่อย  มี โปตัสเซียคลอเรท น้ำหนัก 50-500 กก.  ห่างจากชุมชน  30-70 เมตร
- กลุ่มเกษตรกร    มี โปตัสเซียคลอเรท น้ำหนัก 1 ตัน - 10 ตัน ห่างจากชุมชน   180 - 360 เมตร.
- ผู้นำเข้า  มี โปตัสเซียคลอเรท น้ำหนัก 1.5 ตัน - 60 ตัน     ห่างจากชุมชน 200 - 360  เมตร

ต้องเป็นอาคารเอกเทศ ชั้นเดียว ไม่มีห้องใต้ดินหรือชั้นลอย
ก่อสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ เช่น คอนกรีต อิฐ หลังคาระบายความร้อน
ห้ามมีการพักอาศัยในสถานที่เก็บรักษาดอกไม้เพลิงโดยเด็ดขาด
จัดหาเครื่องดับเพลิงชนิดผงแห้ง ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัม อย่างน้อย 2 เครื่องต่อพื้นที่ 100 ตารางเมตร

ทราบหรือไม่ พลุ จัดกลุ่มอยู่เป็นระเบิดแรงดันต่ำ ถึงตายได้เช่นกัน

ระเบิดอำนาจต่ำ Low - Explosive โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาการระเบิดวัตถุระเบิดประเภทนี้ จะเป็นการลุกไหม้อย่างรวดเร็ว (deflagration) ทำให้เกิดความร้อนและความดันก๊าซ โดยที่คลื่นกระแทก (shock wave) ที่เกิดจากการระเบิด มีความเร็วในการแล่นผ่านตัววัตถุระเบิดเอง น้อยกว่า 1000 เมตรต่อวินาที่ วัตถุระเบิดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ ดินปืน

ระเบิดอำนาจสูง high - Explosive โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาการระเบิดวัตถุระเบิดประเภทนี้ จะเป็นการสลายตัวรวดเร็วของสารระเบิด (detonation) ทำให้เกิดพลังงานที่เกิดความดันก๊าซ และคลื่นกระแทก (shock wave) ที่สูงมาก โดยที่คลื่นกระแทก (shock wave) มีความเร็วในการแล่นผ่านตัววัตถุระเบิดเอง มากกว่า 1000 เมตรต่อวินาที่ วัตถุระเบิดที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ TNT, P.E.T.N., Dynamite, RDX

ที่มา : diw.go.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related