svasdssvasds

ย้อนไทม์ไลน์คดีพิธา - ก้าวไกล หาเสียง ยกเลิก ม.112 รอดหรือไม่ ? ตัดสิน 31 ม.ค. 67

ย้อนไทม์ไลน์คดีพิธา - ก้าวไกล หาเสียง ยกเลิก ม.112  รอดหรือไม่ ? ตัดสิน 31 ม.ค. 67

ไล่เลียง ลำดับเวลา ไทม์ไลน์ คดีพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ถูกร้อง ในข้อกล่าวหา คดีล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากการเสนอแก้ไข ม. 112 โดยใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 และ ศาลรัฐธรรมนูญ จะตัดสิน ในวันพุธที่ 31 ม.ค. 67

ประเด็น คำร้องพรรคก้าวไกล หาเสียงด้วยการเสนอแก้กฎหมาย "ยกเลิก" มาตรา 112 ในกฎหมายอาญา  เริ่มไว้ตั้งแต่ช่วงสิ้นเดือน พ.ค. 2566  เดิมที ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความ ได้ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุด 

แต่เมื่อเรื่องไม่คืบ ก็ขยับมายื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้น "ราวหนึ่งเดือน" หลัง 2 องค์กรนี้ ถามถึงเหตุ "ซ้ำซ้อน" ตามเงื่อนไขกฎหมายและรัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้ว ศาลฯ ก็มีมติรับคำร้อง และพิจารณา-สอบพยาน-ตรวจเอกสารหลักฐานไปแล้ว นับ 37 ครั้ง

โดยลำดับเวลา ของ คดี พิธา - ก้าวไกล หาเสียง ยกเลิก ม.112  มีดังนี้ 

ย้อนไทม์ไลน์ คดีพิธา - ก้าวไกล หาเสียง ยกเลิก ม.112  รอดหรือไม่ ? ตัดสิน 31 ม.ค. 67

  • 30 พ.ค. 66  : ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ โดยในอดีตที่ผ่านมา  เขาเป็นที่รู้จักในฐานะทนายความของ สุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ ได้ ยื่นคำร้อง อัยการสูงสุด 
  • 14 มิ.ย. 66  ธีรยุทธ  สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ 
  • 26  มิ.ย. 66  ศาลรัฐธรรมนูญ  สอบถามไปที่ อัยการสูงสุด ต่อกรณีนี้  และอัยการสูงสุดขอพิจารณาคู่ขนาน 
  • 12 ก.ค. 66  ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้อง โดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นผู้ถูกร้องที่ 1 และ พรรคก้าวไกล เป็นผู้ถูกร้องที่ 2 
  • 31 ม.ค. 67 : ศาลรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำวินิจฉัย เวลา 14.00 น. เพื่อตัดสินคดีนี้ 

ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ได้ ยื่นคำร้อง อัยการสูงสุด ในคดีล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากการเสนอแก้ไข ม. 112 โดยใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง 2566

ทั้งนี้ แม้คำร้องของ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ที่ส่งตรงถึงศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ ไม่ได้ขอให้มีคำสั่งยุบ พรรคก้าวไกล แต่ขอให้ศาลสั่งให้พิธา และพรรคก้าวไกล ทำสิ่งต่อไปนี้ คือ

1. เลิกการดำเนินการใด ๆ หรือการกระทำใด ๆ เพื่อยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 
2. เลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ที่กระทำอยู่ และจะดำเนินการหรือกระทำต่อไปในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

related