svasdssvasds

น้ำประปาประเทศไหนดื่มได้บ้าง ทำไมในไทยถึงยังดื่มไม่ได้สักที ?

น้ำประปาประเทศไหนดื่มได้บ้าง ทำไมในไทยถึงยังดื่มไม่ได้สักที ?

เผยรายชื่อประเทศที่น้ำประปาสะอาด สามารถใช้ดื่มได้ ที่ได้รับการรับรองจาก "ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ" หรือ "CDC"

SHORT CUT

  • มีคนไม่ถึง 1 พันล้านคนที่สามารถดื่มน้ำจากก๊อกในบ้านได้  ส่วนอีก 2 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้
  • การรักษาน้ำประปาให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอนั้น มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องเป็นประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในระดับหนึ่ง

เผยรายชื่อประเทศที่น้ำประปาสะอาด สามารถใช้ดื่มได้ ที่ได้รับการรับรองจาก "ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ" หรือ "CDC"

เพราะน้ำมีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์ และหากไม่มีน้ำ เราก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ดังนั้นน้ำควรเป็นสิ่งที่หาดื่มได้ง่าย ไม่แพง และต้องสะอาดอยู่เสมอ

เนื่องในโอกาสที่วันนี้ (22 มี. ค. 67) เป็นวันน้ำโลก ทีม SPRiNG จึงขอพามาดูว่าบนโลกนี้มีประเทศใดบ้าง ที่ประชาชนสามารถดื่มน้ำจากระบบน้ำประปาได้ ซึ่งมีรายชื่อดังนี้

ทวีปอเมริกาเหนือ

  • สหรัฐอเมริกา
  • แคนาดา

ทวีปยุโรป

  • สหราชอาณาจักร
  • ไอซ์แลนด์
  • กรีซ
  • ฝรั่งเศส
  • ไอร์แลนด์
  • เช็กเกีย
  • เยอรมนี
  • เนเธอร์แลนด์
  • สโลวีเนีย
  • อิตาลี
  • เบลเยียม
  • มอลตา
  • สเปน
  • ลักแซมเบิร์ก
  • โปรตุเกส
  • สวิตเซอร์แลนด์
  • โปแลนด์
  • นอร์เวย์
  • เดนมาร์ก
  • ฟินแลนด์
  • ออสเตรีย

ทวีปเอเชีย

  • ญี่ปุ่น
  • เกาหลีใต้
  • ฮ่องกง
  • สิงคโปร์
  • บรูไน
  • ซาอุดีอาระเบีย
  • อิสราเอล

ทวีปออสเตรเลีย

  • ออสเตรีย
  • นิวซีแลนด์ที่มา

โดยประเทศเหล่านี้ ได้รับการรับรองจาก ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ หรือ CDC น้ำประปาสามารถดื่มได้ ซึ่งหมายความว่าปลอดภัยสำหรับการดื่ม เตรียมอาหาร แปรงฟัน และทำเป็นน้ำแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ยกเว้นบางประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งเป็นรัฐโซเวียตในอดีต และอีกสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกคือ จีนและอินเดีย

การที่ประเทศน้ำประปาสะอาดกระจุกตัวอยู่ในยุโรปและอเมริกาเหนือ เป็นข้อพิสูจน์ว่าการรักษาน้ำประปาให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอนั้น มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในระดับหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีคนไม่ถึง 1 พันล้านคนที่สามารถดื่มน้ำจากก๊อกในบ้านได้

ในทางกลับกัน ข้อมูลของ CDC ยังเผยว่า ทั่วโลกมีคนอย่างน้อย 2 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศรายได้น้อย และการไม่มีน้ำสะอาดให้ดื่มอย่างเพียงพอเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของ 6 คน จากทุก 100 คนอีกด้วย

 2 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้

ทำไมบางประเทศน้ำประปาถึงสะอาด

อ้างอิงจาก Rocket Media Lab ประเทศที่น้ำประปาดื่มได้จะต้องมีการการันตีแรงดันขั้นต่ำ หรือค่า PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) พูดง่ายๆ คือ แรงดันขั้นต่ำจะบ่งบอกว่าน้ำที่เปิดโดยระบบประปานั้นจะสามารถพุ่งขึ้นไปในแนวตั้งได้กี่เมตร ซึ่งจะเป็นค่ามาตรฐานของประเทศนั้นๆ เพราะแรงดันที่สูงจะช่วยล้างและดันสิ่งสกปรกไม่ให้เข้ามาภายในท่อได้ และจะทำให้น้ำสะอาดดื่มได้

ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกามีการตั้ง ‘แรงดันขั้นต่ำให้อยู่ที่ 14 เมตร หากต่ำกว่า 14 เมตร ทางการจะแนะนำให้ต้มน้ำเพื่อใช้ในการดื่มทันที และหากต่ำกว่า 3.5 เมตร จะต้องล้างน้ำประปาคงค้างให้หมดและเก็บตัวอย่างโคลิฟอร์ม ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ใช้บ่งชี้คุณภาพความสะอาดของน้ำ

ส่วนใน อังกฤษที่มีระบบประปาเป็นชาติแรกๆ ของโลก และยังคงใช้ท่อประปาที่มีอายุกว่า 100 ปีอยู่ แต่สามารถกำหนดค่าแรงดันขั้นต่ำได้ เพื่อให้น้ำประปาที่สามารถดื่มได้ ซึ่งมีการตั้งไว้ที่ 10-14 เมตร แต่หากตรวจสอบเจอว่าต่ำกว่านั้น ผู้ให้บริการจ่ายน้ำจะต้องจ่ายค่าปรับแพงมาก

นอกเหนือจากเรื่องแรงดันแล้ว อุปกรณ์ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหัวของก๊อกต้องทำจากวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง และต้องอุปกรณ์ต่างๆ ต้องกันสนิม เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศเหล่านั้นจะได้น้ำประปาที่สะอาดตลอดเวลา เพราะในบางฤดูกาล หรือบางพื้นที่โดยเฉพาะชนบท คุณภาพน้ำประปาก็อาจลงมาต่ำกว่าเกณฑ์ชั่วคราว และต้องใช้เวลาระยะหนึ่งถึงกลับมาดื่มได้

ทำไมน้ำประปาไทยยังดื่มไม่ได้

ทำไมน้ำประปาไทยยังดื่มไม่ได้

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ชาวไทยยังดื่มน้ำจากก๊อกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ท่อเก่า หัวก๊อกในบ้านมีหลายเกรด หลายราคา ซึ่งถ้าใช้ของไม่ดีก็ง่ายที่จะมีเชื้อโรคสะสม และเกิดการกัดกร่อนสีที่เคลือบจนละลายลงมาเป็นเจือปน

อีสาเหตุหลักคือ การประปานครหลวง จะพิจารณาแรงดันน้ำในแต่ละพื้นที่ แล้วสร้างเป็น Pressure Trend Curve เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจ่ายน้ำให้มีแรงดันที่เหมาะสมตลอด 24 ชั่วโมง โดยปลายเส้นท่อประธานต้องไม่ต่ำกว่า 6 เมตร ในขณะที่แรงดันน้ำในท่อจ่าย ที่เชื่อมไปยังอาคารต่างๆ จะลดลงไปตามระยะการไหล ซึ่งสุดลายท่ออาจเหลือแค่ 2-3 เมตร และอาจต่ำลงไปอีกในบางพื้นที่ จึงทำให้แรงดันน้ำของไทยโดยรวมต่ำมาก

การประปานครหลวง จะพิจารณาจากปริมาณความต้องการน้ำในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละพื้นที่ให้บริการ แล้วสร้างเป็น Pressure Trend Curve เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจ่ายน้ำให้มีแรงดันที่เหมาะสมตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีการควบคุมแรงดันน้ำที่ตำแหน่งปลายเส้นท่อประธานต้องไม่ต่ำกว่า 6 เมตร ในขณะที่แรงดันน้ำในท่อจ่าย ซึ่งจะเชื่อมต่อกับท่อบริการเข้าไปยังสถานที่ใช้น้ำ ก็จะลดลงไปตามระยะทางในการไหลของน้ำเนื่องจากการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อ โดยสุดท้ายแล้วที่ปลายท่ออาจจะลดลงไปอีก 2-3 เมตร และอาจจะต่ำลงอีกในบางพื้นที่และในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งทำให้แรงดันน้ำประปาของไทยยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ และทำให้น้ำที่ไหลออกมามีสิ่งปนเปื้อนออกมาด้วย

การที่แรงดันน้ำประปาของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำก็เป็นเพราะว่าต้องการลดการสูญเสียน้ำที่เกิดจากการรั่วซึมของท่อลำเลียง (อันเกิดจากคุณภาพของท่อและการติดตั้งที่ไม่เหมาะสม) เพราะการที่น้ำมีแรงดันสูงก็จะทำให้น้ำรั่วออกไปมาก หากมีแรงดันต่ำ ปริมาณน้ำที่สูญเสียจากการรั่วก็จะน้อยลง ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีปริมาณการสูญเสียน้ำจากการรั่วมากเกินไป จึงมีการกดแรงดันให้ต่ำลง

ที่เป็นแบบนั้นเพราะ การประปานครหลวง ต้องการลดการสูญเสียน้ำที่เกิดรั่วเสียออกไป ซึ่งเป็นผลมาจากการวางท่อที่ไม่ดีมาก่อน ซึ่งถ้าน้ำมีแรงดันสูงจะรั่วออกไปเยอะ แต่ถ้าน้อยก็จะรั่วออกไปไม่มาก ทำให้ปัจจุบันอัตราการสูญเสียน้ำของการประปานครหลวงอยู่ที่ประมาณ 26.76% โดยในอดีตเคยมีระดับการสูญเสียน้ำสูงถึง 40%

แต่นั่นอาจดูเป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะสุดท้ายก็ไม่รู้อยู่ดีว่าท่อตรงไหนที่รั่ว และการใช้แรงดันต่ำก็ทำให้ยากมากที่จะมีน้ำสะอาดไหลออกมา

ที่มา : Rocket Media Lab 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related