svasdssvasds

หลีกเลี่ยงเหตุสลด ลืมเด็กไว้ในรถ ด้วย 3 วิธีสอนลูกเอาตัวรอดเบื้องต้น

หลีกเลี่ยงเหตุสลด ลืมเด็กไว้ในรถ ด้วย 3 วิธีสอนลูกเอาตัวรอดเบื้องต้น

ลืมเด็กไว้ในรถนักเรียน เหตุการณ์สะเทือนหัวใจคนเป็นพ่อแม่ เกิดขึ้นในสังคมอีกแล้ว ผู้ใหญ่ไม่รอบคอบ เด็กต้องเอาตัวรอดด้วย 3 วิธีเบื้องต้น เพื่อให้พ้นจากเหตุการณ์คับขันเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

จากข่าวเหตุการณ์สลดอีกครั้ง กรณี ลืมเด็กไว้ในรถ น้องจีฮุน วัย 7 ขวบ นักเรียนชั้น ป.2 โรงเรียนดังแห่งหนึ่งใน จ.ชลบรี เป็นเวลากว่า 8 ชั่วโมงจนเสียชีวิตในรถตู้รับ-ส่งโรงเรียน ในสภาพนอนคว่ำหน้า เลือดออกปาก ตัวซีด ซึ่งรวมข่าวที่เกิดขึ้นในรอบ 11 ปีย้อนหลัง ข้อมูลจากกองการป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค พบเหตุการณ์เด็กถูกลืมไว้ในรถถึง 129 ครั้ง เสียชีวิต 6 ราย ซึ่งเกิดเหตุในรถรับส่งนักเรียน ถึง 5 รายจากทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการขาดความรอบคอบ โดยส่วนเหตุการณ์เศร้าในครั้งนี้ผลพิสูจน์น้องจีฮุน ออกมาพบว่า  "สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ส่วนเลือดที่ปากน่าจะเกิด จากอาการฮีตสโตรก"

เพจ หมอแพมชวนอ่าน ได้โพสต์ถึงประเด็นดังกล่าว โดยอ้างอิงถึงงานวิจัยของ ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช พบเหตุการณ์สลด ลืมเด็กไว้ในรถ พบในช่วง เมษายน ถึง สิงหาคม ของปี ตรงกับช่วงเปิดเทอมใหม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เผยว่า ส่วนใหญ่เด็กที่ติดอยู่ในรถไม่ได้เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ แต่เสียชีวิต เพราะความร้อนที่อยู่ในรถ   โดยเวลาเพียง 5 นาที อุณหภูมิในรถจะเพิ่มสูงขึ้นจนเด็กไม่สามารถอยู่ได้  และยิ่งนานเกิน 10 นาที ร่างกายของเด็กจะแย่ลง  และภายใน 30 นาทีเด็กอาจหยุดหายใจ และอวัยวะทุกอย่างหยุดทำงานจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

ไม่รู้ว่าเราจะมีอีกกี่อุทาหรณ์เหตุการณ์เศร้านี้จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันสองทางทั้งนี้จึงฝากเป็น 5 เอาตัวรอดที่ผู้ปกครองสามารถสอนได้เองที่บ้านให้กับเด็ก มีดังนี้ 

  • สอนให้บีบแตร  เปิดไฟฉุกเฉิน ปลดล็อกรถ ลดหน้าต่าง เปิดประตูเพื่อขอความช่วยเหลือเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์และทำได้ไม่ยาก ชี้ตำแหน่งต่างๆ ของปุ่มบนรถที่สามารถใช้เอาตัวรอดได้ โดยต้องฝึกซ้อมให้เด็กลองปฏิบัติจริง ตัวอย่างเช่น กรณีของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า จ.สมุทรปราการ ที่เชิญเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารภัยมาสาธิตและให้เด็กฝึกซ้อมจริง จะช่วยให้จดจำได้และทำได้อย่างคล่องแคล่ว

ทั้งนี้ควรแนะนำด้วยว่าสถานการณ์ไหนควรหรือไม่ควรเปิดประตู หน้าต่าง 

  • สอนใช้โทรศัพท์ เบอร์สำคัญเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ควรบอกและสอนให้โทรหาฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็น เบอร์ผู้ปกครอง หรือ โทรสายด่วน 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) เพื่อให้มีคนเข้าไปช่วยไว้ได้ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
  • สอนลูกให้เราตัวรอดผ่านการเล่านิทานปกติแล้วพ่อแม่ส่วนใหญ่มักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานกันอยู่แล้ว การสอดแทรกนิทานที่เป็นความรู้หรือการใช้ชีวิตประจำวันเข้าไป เช่น นิทานชุด ป๋องแป๋งถูกลืมในรถ ชุด เตรียมพร้อม (ปกใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 4) ที่จะมีการจำลองสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นภัยสามารถเกิดขึ้นกับเด็กๆ ในชีวิตจริงเข้าไปผูกโยง ก็จะช่วยให้จดจำได้ง่ายและเพลิดเพลินไม่เหมือนการสอนแบบปกติ 

นิทานชุด ป๋องแป๋งถูกลืมในรถ ชุด เตรียมพร้อม

แม้จะเป็นการแก้ปัญหา ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช ไม่ใช่ที่ต้นเหตุแต่การสอนให้เด็กรู้จักวิธีเอาตัวรอดและมีการฝึกซ้อมลงมือปฏิบัติจริงจะช่วยให้สามารถป้องกันเหตุการณ์ไม่ได้คาดคิดได้ในกรณีฉุกเฉิน สุดท้ายแล้วคงต้องฝากเตือนให้ครูและผู้ใหญ่พึงระวังไว้เสมอและไม่ประมาทใช้เวลาตรวจตราเช็กให้ถี่ถ้วนเพิ่มอีกไม่กี่นาทีก็ช่วยให้เด็กปลอดภัยมากขึ้น

สำหรับแนวทางแก้ไขที่ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราชได้นำเสนอไว้ ประกอบด้วย 

หลีกเลี่ยงเหตุสลด ลืมเด็กไว้ในรถ ด้วย 3 วิธีสอนลูกเอาตัวรอดเบื้องต้น

  1. บังคับให้รถโรงเรียนทุกคันต้องติดตั้ง child reminder system ซึ่งเป็นระบบ ตรวจจับว่ายังมีคนค้างอยู่ในรถหลังจากที่รถจอด หรือ lock
  2. บรรจุหลักสูตรสอนการเอาตัวรอดให้กับเด็กทุกคนตั้งแต่อนุบาล

ทั้งนี้ยังเพื่อเป็นการตรวจเช็กให้รอบคอบอีกครั้งเมื่อพบด็กไม่เข้าเรียนตามปกติ ในเวลาเช้าเช็กชื่อครูควรโทรติดตามกับผู้ปกครอง ถึงแม้จะไม่ได้เกิดเหตุการณ์ติดในรถตู้ก็เป็นการติดตาม ป้องกันเหตุร้ายอื่นๆ ได้อีกด้วย

ในส่วนของการดำเนินคดีในลักษณะดังกล่าว นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลแขวง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก (31 ส.ค.65) ชี้แจงไว้ว่า เข้าข่ายความผิด "ประมาท ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม "มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท และยังสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่ง ตามกฎหมายให้ชดใช้ได้อีกต่อไป"

"ความประมาทจึงไม่ได้เกิดความสูญเสียแก่ครอบครัวเด็กที่ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของน้องเท่านั้น แต่ผู้ที่ทำประมาท จะต้องถูกดำเนินคดีอาญา และฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งให้ชดใช้ ย่อมนำความเดือดร้อนกลับไปสู่ครอบครัวของตนเช่นกัน อาจติดคุก อาจโดนยึดบ้าน ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์สิน เพื่อชดใช้หนี้ในทางแพ่งต่อไปตามกฎหมาย ชีวิต ประมาทไม่ได้ มีสติ ดำเนินชีวิตด้วยความรอบคอบ 
ระมัดระวัง”

related