svasdssvasds

ปตท.เร่งเป้า NET ZERO ใหม่เร็วกว่าที่ประเทศกำหนด ชูปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร่

ปตท.เร่งเป้า NET ZERO ใหม่เร็วกว่าที่ประเทศกำหนด ชูปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร่

ปตท.ประกาศเป้าหมายใหม่ Net Zero จากรัฐกำหนดสำเร็จปี 2065 เป็นต้องสำเร็จภายในปี 2050 ด้วยการเร่งปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร้ เพราะโลกรอช้าไม่ได้แล้ว ไทยต้องได้สังคมคาร์บอนต่ำ

วานนี้ (17 ตุลาคม 2565) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ประกาศเจตนารมณ์ว่า กลุ่มปตท.จะเดินหน้าตั้งเป้าหมายระยะสั้นถึงระยะยาวใหม่ มุ่งลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 ภายในปี 2030 เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ให้ได้ภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ภายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายของประเทศจากที่รัฐกำหนดไว้ภายในปี 2065

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปตท. หันมาสนใจการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Investment) อนึ่ง ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนโดยตรง การปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสหกรรมซึ่งยังคงเป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ  ของปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น และเป็นเรื่องฉุกเฉินสำหรับมนุษยชาติและเพื่อให้ไทยได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสากลในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนร่วมกับนานาประเทศ ปตท.จึงต้องยื่นมือเข้ามาร่วมรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย

ปตท.เร่งเป้า NET ZERO ใหม่เร็วกว่าที่ประเทศกำหนด ชูปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร่ เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา ไทยได้เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมประชุม COP26 (การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ณ กรุงกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ที่ได้รวมผู้นำในแต่ละประเทศทั่วโลกมาประชุมหารือถึงวิธีแก้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและให้แต่ละประเทศชูนโยบายเพื่อช่วยลดโลกร้อน ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2050

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าว ปตท. ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของไทยและใช้พลังงานเยอะเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ จึงต้องออกมาทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ประเทศไทยเดินตามนโยบายที่ให้ไว้กับนานาชาติ กลุ่ม ปตท. ได้จัดตั้งคณะทำงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์กลุ่ม ปตท.  (PTT Group Net Zero Task Force หรือ G-NET) เพื่อกำหนดกลยุทธ์เชิงรุก มุ่งบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับบริบทของการดำเนินธุรกิจ ใน 3 แนวทางหลัก (3P) ได้แก่ Pursuit of Lower Emissions การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการให้ได้สูงสุด ผ่านโครงการสำคัญ เช่น

การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage : CCS) ในพื้นที่บริเวณทะเลอ่าวไทย และพื้นที่บนฝั่งในภาคตะวันออกภายใต้ความร่วมมือ PTT Group CCS Hub Model ที่ระดมเทคโนโลยีของ กลุ่ม ปตท. เพื่อบริหารการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน

การนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์สูงสุด (Carbon Capture and Utilization : CCU) ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อลดการปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ การปรับปรุงกระบวนการผลิต และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต รวมถึงการผลักดันการใช้พลังงานจากไฮโดรเจน เป็นต้น

วิธีการเหล่านี้จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สูงถึง ร้อยละ 30 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด  Portfolio Transformation การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนโดยมุ่งธุรกิจพลังงานสะอาด และการเติบใตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน ซึ่งสอดคล้องตามการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ โดยกำหนดสัดส่วนเป้าหมายระยะยาว 10 ปี ที่ร้อยละ 32 ของงบประมาณการลงทุน การรุกปรับสัดส่วนการลงทุนจะเป็นกลไกสำคัญลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึงร้อยละ 50 และ Partnership with Nature and Society การเพิ่มปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ  ซึ่งจะสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ อย่างน้อยร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของ ปตท.

ปตท.เร่งเป้า NET ZERO ใหม่เร็วกว่าที่ประเทศกำหนด ชูปลูกป่าเพิ่ม 1 ล้านไร่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ปตท. ได้อาสาฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศไปแล้วกว่า 1.1 ล้านไร่ ปัจจุบันพื้นที่ป่าเหล่านี้ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์กว่าร้อยละ 80 สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  หรือเปรียบเทียบการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ส่วนบุคคลเฉลี่ยปีละ 4.6 แสนคัน และปลดปล่อยออกซิเจนได้กว่า 1.55 ล้านตันออกซิเจนต่อปี

อีกทั้งสร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของชุมชนได้มากถึง 280 ล้านบาทต่อปี การดำเนินการภาคป่าไม้จึงเป็นอีกวิธีสำคัญ โดยกลุ่ม ปตท. มุ่งปลูกป่าเพิ่มเติม รวม 2 ล้านไร่ ภายในปี 2030 แบ่งเป็นการดำเนินการโดย ปตท. 1 ล้านไร่ และความร่วมมือบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสำรวจการเติบโตและวิเคราะห์ข้อมูลการดูดซับก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในอนาคตพื้นที่ป่าเหล่านี้จะมีศักยภาพช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้รวมกว่า 4.15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และยังสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจชุมชน นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

หากถามในเรื่องของความคุ้มทุน ปตท.มองว่า หลายอย่างเป็นแผนธุรกิจ เชื่อว่าโครงการดังกล่าวคุ้มค่ากับการลงทุนแน่นอน การที่จะลงทุนเรื่องพลังงานหมุนเวียน เราก็ต้องดูก่อนว่ามีการคุ้มทุนถึงจะลงไปได้ เช่น เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน เราก็ต้องดูผลตอบแทนการลงทุน ส่วนเงินที่ใช้ลงทุนไปเป็น CSR เลยคือเรื่องอขงการปลูกป่า ซึ่งเป็นโครงการ CSR ของปตท.อยู่แล้ว ปตท.มีการทำเพื่อสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา และปลูกป่าก็ไม่ได้ปลูกปีเดียว ก็ปลูกไปเรื่อย ๆ ระยะยาว   

related