svasdssvasds

ทปอ.แจงแล้ว ปมข้อสอบ ม.6 "เมนูอาหารใดส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด"

ทปอ.แจงแล้ว ปมข้อสอบ ม.6 "เมนูอาหารใดส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด"

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ชี้แจงประเด็นร้อน ปมข้อสอบของนักเรียน ม.6 กับคำถามที่ว่า เมนูใดต่อไปนี้สร้างก๊าซเรือนกระจก และส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด

 กลายเป็นประเด็นที่ชาวโซเชียลโต้เถียงกันสนั่นเมือง สำหรับข้อสอบของนักเรียน ม.6 หรือการสอบ TGAT หรือข้อสอบวัดสมรรถนะทั่วไป หลังมีการแชร์ข้อสอบข้อหนึ่งที่มีการตั้งถามว่า

เมนูใดต่อไปนี้สร้างก๊าซเรือนกระจก และส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด? 

1. ราดหน้าหมู

2. สุกี้ทะเลรวมมิตร

3. สเต็กปลาแซลมอน

4. ข้าวราดไก่ผัดกระเทียมพริกไทย

ล่าสุด ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Mytcas.com ชี้แจง ประเด็นที่สื่อสังคมให้ความสนใจข้อสอบ TGAT พร้อมอธิบายเจตนาของการปรับการสอบรูปแบบใหม่ โดยระบุว่า 

 ตามที่มีประเด็นไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ในข้อคำถาม เกี่ยวกับการเลือกเนูอาหารที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุดนั้น คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียงและทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างก๊าซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาชาติ (SDG: Sustainable Development Goals)

ทปอ.แจงแล้ว ปมข้อสอบ ม.6 \"เมนูอาหารใดส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด\"

  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• FDA ชี้ เนื้อไก่จากห้องแล็บ ปลอดภัยสำหรับบริโภค ทางเลือกช่วยลดโลกร้อนได้

• ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ช่วยลดโลกร้อนทันไหม

• ทำความรู้จัก Cultured Meat แหล่งโปรตีนแห่งใหม่ของโลกอนาคต

 เพราะนอกจาการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยสารสาธารณะ การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะแล้ว การเลือกชนิดอาหารที่รับประทานก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างก๊ซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนฐานความรู้ของการเป็นพลเมือง ที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของสังคม (Civic Engagement) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competency) ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก

ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล การบริหารจัดการอารมณ์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นผลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน

สำหรับการสอบวิชา TGAT และวิชาความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการหรือTPAT ปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 10-12 และ 17 ธันวาคม ปฏิทินการสอบ ดังนี้

• วันที่ 10 ธันวาคม สอบ TGAT เวลา 09.00-12.00 น. TPAT3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์

• วันที่ 11 ธันวาคม TPAT 5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ TPAT 2 ความถนัดทางทางศิลปกรรมศาสตร์

• วันที่ 12 ธันวาคม TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

• วันที่ 17 ธันวาคม TPAT 1 วิชาเฉพาะ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท)

ที่มา : Mytcas.com

related