เอาแล้วไง เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้ออกมาเผยรายงานล่าสุด ระบุว่า ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่ล่องลอยในชั้นบรรยากาศโลกสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา WMO (World Meteorological Organization) หรือ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุในรายงานฉบับใหม่ ว่า มีคำเตือนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งมีท่าจะไม่ดีเสียแล้ว เพราะสถานีเครือข่าย Global Atmosphere Watch ของ WMO ที่สามารถวัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและค่าไนตรัสได้ พวกเขาพบว่า ระดับที่วัดได้นั้นสูงสุดอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน
รายงานระบุว่า ความเข้มข้นของก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุดแล้ว เมื่อเทียบเป็นรายปีในปี 2021 นับตั้งแต่มีการตรวจวัดอย่างเป็นระบบที่เริ่มขึ้นเมื่อราว ๆ เกือบ 40 ปีที่แล้ว ส่วนสาเหตุของการเพิ่มขึ้นอย่างพิเศษนี้ไม่ชัดเจนซะทีเดียว แต่แน่นอนว่ามันมากจากผลกระทบจากกระบวนการทางชีวภาพและกิจกรรมของมนุษย์อย่างแน่นอน
ในปี 2020 ถึงปี 2021 ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นนั้นมากกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และค่าวัดจากสถานีแสดงให้เห็นว่า ระดับเหล่านี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2022 ทั่วโลก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ว่ายน้ำข้ามทะเลแดง เป็นครั้งแรกของโลก เป็นกระบอกเสียงภาวะโลกร้อน
นิวซีแลนด์ไร้หิมะให้เล่นสกีแล้ว จากภาวะโลกร้อน เกิดอะไรขึ้น?
ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2564 อยู่ที่ 415.7 ส่วนในล้านส่วน (ppm) มีเทนที่ 1908 ส่วนต่อพันล้าน (ppb) และไนตรัสออกไซด์ที่ 334.5 ppb ค่าเหล่านี้ประกอบขึ้นเป็น 149%, 262% และ 124% ของระดับก่อนอุตสาหกรรมตามลำดับ ก่อนที่กิจกรรมของมนุษย์จะเริ่มรบกวนสมดุลทางธรรมชาติของก๊าซเหล่านี้ในบรรยากาศ
ด้านศาสตราจารย์ Petteri Taalas เลขาธิการ WMO กล่าวว่า “แถลงการณ์เร่งด่วนของ WMO เรื่องก๊าซเรือนกระจกฉบับนี้ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายอันยิ่งใหญ่อีกครั้ง ในการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในอนาคต ระดับที่บันทึกได้เหล่านี้ บ่งชี้ว่าที่ผ่านมาเรากำลังมุ่งหน้าไปผิดทิศ”
ในด้านของการจัดการและการแก้ไขปัญหา กลยุทธ์หลักคือการจัดการการปล่อยก๊าซมีเทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนของเชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ควรเป็นก๊าซแรกที่ควรได้รับการบริหารจัดการ เพราะหากปล่อยไว้นานจะยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศของโลกรุนแรงขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศเป็นเวลาหลายพันปี ผ่านการสูญเสียน้ำแข็งขั้วโลก ภาวะโลกร้อน และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
Greenhouse gas concentrations have again hit record highs
— World Meteorological Organization (@WMO) October 27, 2022
CO2 levels surged in 2021 to nearly 150% of pre-industrial era
Methane had biggest jump on record
Continued ⬆️ in 2022: WMO bulletin@UNEP releases #EmissionsGap today.#StateofClimate #COP27https://t.co/1nVAAcj06S pic.twitter.com/bpYApAvEXk
“เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรม พลังงาน การขนส่ง และวิถีชีวิตทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นมีราคาไม่แพงและเป็นไปได้ในทางเทคนิค เพราะเวลากำลังจะหมดลงแล้ว” ศาสตราจารย์กล่าว
รายงานฉบับนี้จึงกลายเป็นอีกตัวแปรที่สำคัญ ที่ทำให้ทั่วโลกเริ่มจับตามองการประชุม COP27 ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ในประเทศอียิปต์ ระหว่างวันที่ 7-18 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งจะมีการนำเสนอรายงานภาวะโลกร้อนปี 2022 ชั่วคราวในการประชุมครั้งนี้ด้วย ซึ่งก็จะได้รวบรวมเอนผู้นำแต่ละประเทศมาหารือและแนะแนวทางช่วยโลกด้วยกัน
การประชุมในครั้งนี้จะยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีก หากรายงานฉบับนี้เป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันว่า สิ่งที่หลายประเทศกำลังทำนั้นได้ผลหรือไม่ และเป็นเพราะอะไร จะแก้ไขยังไงดี ที่เป็นการลงมือทำไม่ใช่แค่เพียงวาจาตามเสียงวิพาร์กวิจารณ์ของประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
จะยังทันหรือไม่ ที่เราจะช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจกทั้งจากภาคประชาชน เอกชนและภาครัฐ คุณล่ะคิดเห็นอย่างไร
ที่มาข้อมูล