svasdssvasds

"ปางช้าง" โต้เดือด! "นั่งแหย่งบนหลังช้าง" ไม่ได้ทรมานสัตว์ หลังโดนวิจารณ์

"ปางช้าง" โต้เดือด! "นั่งแหย่งบนหลังช้าง" ไม่ได้ทรมานสัตว์ หลังโดนวิจารณ์

ปางช้างแม่แตง ออกโรงโต้เดือดมูลนิธิแห่งหนึ่งปล่อยข่าวโจมตีใส่แหย่งท่านั่งบนหลังช้างทำให้กระดูกหลังช้างผิดรูป ชี้ชัดหวังผลทำลายการท่องเที่ยวช้างไทย จี้ตรวจสอบประวัติช้างมีตั๋วหรือไม่ ด้านหมอช้างยันทำงานมา 10 ปีไม่เคยพบช้างป่วยจากเคสนี้

 เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 13 มีนาคม 2566 ดร.บุญทา ชัยเลิศ ประธานบริหารปางช้างแม่แตง จ.เชียงใหม่ เปิดเผยถึงกรณีมีการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จจากมูลนิธิแห่งหนึ่ง อ้างว่ามีช้างเจ็บป่วยจากการทำงานหนักในธุรกิจท่องเที่ยว ต้องใส่แหย่งที่นั่งบนหลังช้างบริการนักท่องเที่ยวครั้งละถึง 6 คนมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนทำให้กระดูกสันหลังหักดูผิดรูปไปอย่างน่าสงสาร โดยระบุว่า

 เมื่อถึงเวลาใกล้ๆ วันช้างไทย ในวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี  มักจะมีกระแสข่าวออกมาโจมตีทำลายวงการท่องเที่ยวช้างไทย บิดเบือนและใส่ร้ายการเลี้ยงช้างไทยมาโดยตลอดว่าทารุณกรรมทรมานสัตว์

 ทั้งๆ ที่วัฒนธรรมการเลี้ยงช้างไทยของคนไทยเรานั้นเป็นมรดกภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมาส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นนับเป็นพันๆ ปีแล้ว จากช้างป่ากลายมาเป็นช้างบ้านผูกพันกันมาร่วมสร้างชาติกันมากับบรรพบุรุษไทยของเรา      

"ปางช้าง" โต้เดือด! "นั่งแหย่งบนหลังช้าง" ไม่ได้ทรมานสัตว์ หลังโดนวิจารณ์

 จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้น ขอตั้งข้อสังเกตว่าทำไมมูลนิธินั้นที่ออกมาโจมตี ทำไมมีแต่คนต่างชาติที่บ้านเมืองเขาไม่เคยมีช้างเลย แต่มาทำธุรกิจแฝงในนามนักอนุรักษ์สัตว์และสิ่งแวดล้อม เข้าไปดูในเว็บไซต์ก็เห็นแต่การเปิดรับบริจาค คล้ายๆ กับมูลนิธิบางแห่งที่สามารถสร้างรายได้จำนวนมหาศาลด้วยการหาเงินจากความสงสารของผู้คนที่จิตใจอ่อนไหวจนลืมความเป็นจริงหรือข้อเท็จจริงไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ปางช้างลูกดก! สวนนงนุชพัทยา เกิดสิ่งมหัศจรรย์ ช้างตกลูก 4 สัปดาห์ 4 เชือก

• ปางช้างแม่สา กับการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ในยุควิกฤตโควิด-19

 

อยากจะให้ทุกคนช่วยรับข่าวสารด้วยใจที่เป็นธรรม และมีสติไม่หลงเชื่อไปในข่าวสารที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง ซึ่งในสมัยนี้ที่การสื่อสารรวดเร็วมากๆ ข้อมูลที่ได้รับมาต้องมีการกลั่นกรองให้ดี ซึ่งในเรื่องช้างนี้เหมือนกัน มีขบวนการจ้องทำลายชื่อเสียงของการท่องเที่ยวช้างไทยและการท่องเที่ยวไทยอยู่ เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ซบเซาไปนานเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 กำลังจะฟื้นตัวกลับมาดี กลับจะต้องมาสะดุดเพราะการโจมตีอย่างไร้สาระแบบนี้ 

 ตนอยากจะเรียกร้องให้มีการตรวจสอบช้างเชือกที่ถูกกล่าวอ้างว่า ถูกใช้งานบรรทุกนักท่องเที่ยวจนหลังผิดรูป ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีตั๋วรูปพรรณและเลขไมโครชิปหรือไม่ และขอให้จัดทีมงานสัตวแพทย์จากหน่วยงานของภาครัฐ เช่น กรมปศุสัตว์หรือสถาบันคชบาลแห่งชาติเข้าไปตรวจสุขภาพ และลักษณะทางกายวิภาคของช้างว่าเป็นอะไร และสาเหตุมาจากโรคอะไร รวมทั้งตรวจสอบที่มาของมูลนิธิและยอดการรับบริจาคด้วย เพื่อพิสูจน์ความจริงให้ปรากฏชัดว่าการสร้างกระแสข่าวด้านลบของช้างในครั้งนี้หวังผลอะไรกันแน่

"ปางช้าง" โต้เดือด! "นั่งแหย่งบนหลังช้าง" ไม่ได้ทรมานสัตว์ หลังโดนวิจารณ์

 สพ.ญ.พนิดา เมืองหงษ์ สัตวแพทย์ประจำคลินิกช้างปางช้างแม่แตง กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่ทำงานเป็นสัตวแพทย์ด้านช้างมาเกือบสิบปีที่คลินิกช้างปางช้างแม่แตงแห่งนี้ เราไม่เคยพบกรณีช้างเจ็บป่วยแบบนี้เลย

 อีกทั้งยังมีงานวิจัยออกมารองรับว่าช้างสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว และไม่ทำให้พบรูปแบบการเดินที่ผิดปกติ ซึ่งโดยปกติช้างโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 3,000 กิโลกรัม นั่นหมายถึงว่าช้างสามารถแบกรับน้ำหนักได้ถึง 450 กิโลกรัมนั่นเอง

"ปางช้าง" โต้เดือด! "นั่งแหย่งบนหลังช้าง" ไม่ได้ทรมานสัตว์ หลังโดนวิจารณ์

 

 ปกติแล้วช้างที่ทำงานรับนักท่องเที่ยวก็จะรับครั้งละ ไม่เกิน 2 คนรวมน้ำหนักควาญช้างและแหย่งแล้วก็ไม่เกิน 300 กิโลกรัมแน่นอน นอกจากนี้เรายังมีการปูวัสดุรองหลัง เช่น เปลือกต้นปุย กระสอบ แผ่นฟองน้ำ วางบนหลังให้หนา ถึงจะวางแหย่งลงไป ก่อนจะใช้สายรัดแหย่งกับตัวช้าง และเรายังจำกัดเวลาทำงานของช้างด้วยว่าในวันหนึ่งๆ ไม่เกินเชือกละ 6-8 รอบต่อวันเท่านั้น ซึ่งโดยเฉลี่ยก็ไม่ถึง แต่ละรอบใช้เวลา 15-30 นาที ระยะทาง 500 เมตรถึง 1 กิโลเมตร และช้างก็จะมีช่วงเวลาพักระหว่างรอบ

 ปางช้างแม่แตงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพช้างเป็นอย่างมาก ภารกิจดูแลช้างให้อยู่ดีกินดีมีสุขภาพที่ดีคือภารกิจหลักของเรา โดยมีสัตวแพทย์และผู้ช่วยคอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด หากพบว่าช้างผิดปกติหรือมีอาการป่วย ก็จะถูกสั่งให้พักงานเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและทำการรักษาจนกว่าจะหาย อยากจะขอฝากให้ทุกคนมองเรื่องของสวัสดิภาพที่ช้างได้รับด้วย ไม่ใช่มองเพียงว่าเป็นงานหนักหรืองานเบา 

"ปางช้าง" โต้เดือด! "นั่งแหย่งบนหลังช้าง" ไม่ได้ทรมานสัตว์ หลังโดนวิจารณ์

 ดังนั้น ปางช้างที่มีการจัดการที่ดีและช้างได้รับการดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ มีควาญช้างดูแลเรื่องอาหารการกิน ที่หลับนอน รวมไปถึงด้านจิตใจ ควรจะได้รับคำชื่นชม 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย   ในปีนี้คนไทยหันมาสนใจช้างมากขึ้นแล้วก็อยากจะให้ทำความเข้าใจและเรียนรู้อย่างถูกต้องจริงๆ ว่าการเลี้ยงช้างของบ้านเราตอนนี้เป็นยังไง ช้างได้รับการดูแลและมีสวัสดิภาพที่ดีขนาดไหน

 อย่างไรก็ตาม เพจโรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ก็ได้ออกมาโพสต์รวบรวมผลงาน ข้อมูลด้านวิชาการชี้แจงอย่างเป็นทางการถึงลักษณะการทำงานของช้างไทยในการท่องเที่ยว เป็นการชี้แจงให้ความรู้อย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจในบริบทของการท่องเที่ยวช้างไทย

related