svasdssvasds

เลือก สว. ชุดใหม่ 13 พ.ค. 2567 อยู่จังหวัดไหนมีโอกาสได้ไปต่อมากกว่ากัน

เลือก สว. ชุดใหม่ 13 พ.ค. 2567 อยู่จังหวัดไหนมีโอกาสได้ไปต่อมากกว่ากัน

เลือก สว. ชุดใหม่ 13 พ.ค. 2567 อยู่จังหวัดไหนมีโอกาสได้ไปต่อมากกว่ากัน อ่านไปกับ SPRiNG คุณจะได้ไม่พลาดข่าวสารการเมือง

SHORT CUT

  • สูตรคำนวณ สว.รอบนี้มีความซับสนและซับซ้อน ในการคัดเลือกตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด จนถึงระดับประเทศ
  • โดยการคัดเลือก สว.ไม่ได้คำนึงถึงสัดส่วนของประชากร และสัดส่วนของเขตพื้นที่ในแต่ละจังหวัด
  • กลายเป็นระบบตัวแทนที่ต้องยอมควักเงินถึง 2,500 บาท เพื่อจะได้เป็นตัวแทนไปเลือก สว.

เลือก สว. ชุดใหม่ 13 พ.ค. 2567 อยู่จังหวัดไหนมีโอกาสได้ไปต่อมากกว่ากัน อ่านไปกับ SPRiNG คุณจะได้ไม่พลาดข่าวสารการเมือง

เอาแล้ว กรรมการไฟเขียวเตรียมศึกเลือกตั้ง (โดยไม่มีประชาชน) ทั่วประเทศเพราะในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 สว.ชุดพิเศษที่ได้รับการแต่งตั้งและคัดเลือกจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะหมดวาระลงแล้ว หลังจากนั้นก็จะมีสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ ที่มีที่มาแตกต่างออกไป มาจากการ “เลือกกันเอง” ในบรรดาผู้สมัคร การเลือกแบ่งเป็นระดับอำเภอ-จังหวัด-ประเทศ ซึ่งที่มา สว. จากการเลือกกันเอง ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่กำหนดวิธีการได้ สว. จากการเลือกกันเอง

รัฐสภาที่ประชุม สว.

เอ๊ะ แล้วเพื่อนๆ สงสัยไหมครับว่าใครอยู่จังหวัดไหน อยู่พื้นที่ไหนจะเข้าวิน กลายเป็นแชมป์ สว.ของจังหวัดนั้นๆ กัน เพราะเอาเข้าจริงแล้ว สว.ชุดนี้ไม่ได้ยึดเรื่องจำนวนประชากรหรือพื้นที่สักเท่าไหร่ สุดท้ายแล้วแต่ละจังหวัดจะมี สว. เท่ากัน

นั่นเท่ากับว่าบ้านเธอกับบ้านฉันมี สว.แบบงงๆ SPRiNG พาไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน

กฎเกณฑ์เลือก สว.

ก่อนจะไปขยี้เรื่องสัดส่วน สว.ที่ดูไม่สมเหตุสมผลเรามาดูวิธีการคัดเลือก สว.กันเลยต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ในวันที่สมัครรับเลือก มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี

ไม่นับรวมผู้สมัครกลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่นต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เกิดในอำเภอที่ลงสมัครรับเลือก มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของอำเภอที่ลงสมัครรับเลือก เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีนับถึงวันที่สมัคร

ห้องประชุมจันทรา ที่ประชุม สว.

หรือเคยทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีนับถึงวันที่สมัครเคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า สองปีการศึกษา

ผู้มีคุณสมบัติไปสมัคร สว. ได้ที่อำเภอหรือเขต ซึ่งเคยมีความเกี่ยวข้องด้วย อำเภอที่เกิด อำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี (นับถึงวันสมัคร) อำเภอที่ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี (นับถึงวันสมัคร) อำเภอที่เคยทำงาน หรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่าสองปีอำเภอของสถานศึกษาที่เคยศึกษาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษาตั้งอยู่

เท่ากับว่า เพื่อนๆ คนไหนอยากสมัคร สว. สามารถจิ้มสมัครได้หลายพื้นที่ทั้งที่ที่เขาเกิด มีทะเบียนบ้านอยู่ หรืออำเภอที่เขาทำงาน เช่น นส.บี สมัคร สว. โดยที่เขามีทะเบียนบ้านอยู่ที่ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ทำงานอยู่ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร เท่ากับว่า นส.บี สามารถสมัคร สว.ได้ทั้งที่ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และ สามารถสมัครเป็น สว.ที่เขตบางนา กรุงเทพมหานครได้

สว.จากอำเภอ สู่จังหวัดและประเทศ

คราวนี้มาดูกันบ้างว่าด่านในการฝ่าฟันจะเป็น สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ต้องผ่านด่านไหนบ้าง มาดูกัน เริ่มจากต้องผ่านด่านการสมัครไปอยู่ในกลุ่มอาชีพที่มีทั้งหมด 20 กลุ่มอาชีพ แล้วจะสุ่มแบ่งออกเป็น 4 สาย เมื่อเลือกระดับอำเภอเสร็จแล้วจะเป็นตัวแทนไปสู่ระดับจังหวัด

ในการเลือกระดับจังหวัดเองก็มีลักษณะคล้ายกันเท่ากับว่าในระดับจังหวัดจะมีจำนวนตัวแทนเท่ากันไปเป็นตัวแทนระดับประเทศ

แสดงว่า สว.มีสัดส่วนไม่สมดุลกับจำนวนประชากรและจำนวนอำเภอ

ทุกจังหวัดจะมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนหรือว่าที่สมาชิกวุฒิสภาเพื่อเข้าสู่การเลือกระดับประเทศ จังหวัดละ 40 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 คนต่อกลุ่มวิชาชีพ เช่น นส.เอ เป็นผู้ที่สนใจสมัครในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในกรุงเทพมหานครเองมีประชากร 5,460,640 คน โอกาสที่จะได้เป็น สว.คือ 0.00000733% จังหวัดสมุทรสงคราม 189,453 คน โอกาสที่จะได้เป็น สว.คือ 0.0211% หรือมีโอกาสมากกว่าถึง 2,878 เท่านั่นเอง

ฉะนั้นแต่ผลสุดท้ายเมื่อเลือกตัวแทนมาถึงระดับจังหวัดก็มีอัตราส่วนว่าที่ สว.จำนวนเท่ากัน โดยไม่สนใจจำนวนประชากร ทำให้จำนวนว่าที่ สว.จึงไม่สมดุลกับจำนวนประชากร นส.เอ จึงมีโอกาสน้อยในการเป็นตัวแทน สว.ในกรุงเทพมหานคร แต่ถ้าไปสมัครที่จังหวัดสมุทรสงครามจะมีโอกาสมากกว่านั่นเอง

พรเพชร วิชิตชลชัย อดีตประธานสมาชิกวุฒิสภา

หรือจังหวัดสมุทรสาครมีทั้งหมด 3 อำเภอ จะมีผู้ผ่านเข้าจากระดับอำเภอ 3 คนเพื่อไปสู่การเลือกระดับจังหวัด รวมแล้วอำเภอละ 60 คนตามกลุ่มวิชาชีพ เมื่อนำไปคูณ 3 ตามอำเภอที่มีจะมี 180 คน ซึ่งกลายเป็นว่ามีคู่แข่งน้อย ขณะที่จังหวัดนครราชสีมามี 32 อำเภอ จะมีผู้ผ่านเข้าจากระดับอำเภอสู่จังหวัดอำเภอละ 60 คน นำไปคูณ 32 จะมี 1,920 คน มีอัตรการแข่งขันที่สูงกว่าจังหวัดสมุทรสาครถึง 10 เท่า เพราะสุดท้ายจะเหลือจังหวัดละ 40 คน ไปเลือกต่อในระดับประเทศนั่นเอง

จะทำให้มีอัตราส่วนว่าที่ สว.ที่มีจำนวนเท่ากัน เท่ากับว่าโอกาสในการจะเป็น สว.ในระดับอำเภอก็ควรจะสมัครในจังหวัดสมุทรสาครมากกว่าจังหวัดนครราชสีมานั่นเอง ฉะนั้นใครไปลงจังหวัดนครราชสีมาต้องคิดให้ดี

เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่าการคัดเลือก สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ของไทยครั้งนี้มีความซับซ้อน ที่สำคัญมีความไม่สมดุลเรื่องสัดส่วนประชากร ที่สำคัญยังไม่คำนึงถึงเรื่องอัตราส่วนขนาดเล็กใหญ่ของจังหวัดและจำนวนอำเภอ เท่ากับว่าไม่ได้ยึดโยงจากเรื่องประชากร เป็นปัญหาที่เราควรตั้งคำถามและ กกต.ควรตอบว่ากติกาเลือกตั้ง สว.ที่ออกมาใครได้ประโยชน์ และประชาชนอยู่ส่วนไหนในสมการการเลือกตั้งครั้งนี้

อ้างอิง

ilaw1 / ilaw2 / ilaw3 / ilaw4 /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related