svasdssvasds

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ เหตุการณ์ทางการเมืองที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์แต่กำลังค่อยๆ หายไปจากความทรงจำของคนไทย

SHORT CUT

  • พฤษภาทมิฬ หรือ พฤษภา 35 เป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมืองที่สำคัญเป็นการประท้วงของประชาชนต่อต้านอำนาจรัฐประหาร
  • เมื่อย้อนชมจะรู้ว่าการเมืองไทยไม่ได้ไปไหนแต่ยังวนเวียนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภา 35 เรื่อยมา
  • เป็นสิ่งที่มีคนพยายามทำให้ลืมแต่เราควรจะจดจำว่าครั้งหนึ่งประชาชนแรกเลือดเนื้อเพื่อต่อสู้กับเผด็จการ 

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ เหตุการณ์ทางการเมืองที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์แต่กำลังค่อยๆ หายไปจากความทรงจำของคนไทย

สัปดาห์นี้ในวันที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันครบรอบเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หรือ พฤษภา 35 เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชน ลุกขึ้นต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นคณะที่ทำการรัฐประหาร รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พล.อ.สุจินดา แถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 44 คน บาดเจ็บ 1,728 คน) และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

 

 แม้เหตุการณ์พฤษภา 35 ที่หลายคนในยุคนนี้ พ.ศ. นี้อาจจะลืมเลือนว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง SPRiNG พาไปย้อนประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นกับสังคมไทยที่ยังทิ้งร่องรอยไว้ในปัจจุบัน เล่าผ่าน 5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ   

1.จำลอง ศรีเมือง จากแกนนำต่อต้านเผด็จการสู่แกนนำพันธมิตร

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หรือพฤษภา 35 เป็นเหตุการณ์ที่มีบุคคลสำคัญที่น่าสำคัญคือ พลตรี จำลอง ศรีเมืองในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคพลังธรรมได้รับคะแนนความนิยมสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยสามารถกวาดที่นั่งได้ถึง 32 ที่นั่งจาก 35 ที่นั่ง

เมื่อเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จำลอง เป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร โดยถูกจับกุมตัวกลางที่ชุมนุมเมื่อบ่ายวันทื่ 18 พฤษภาคม

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

ชีวิตของเขาเรียกว่าผ่านร้อนผ่านหนาวทางการเมืองมาสุดๆ เพราะเขาเองเคยรักกับ ทักษิณ ชินวัตร มาก่อนโดยการสนับสนุนให้ ทักษิณ หรือโทนี่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในโควตาของพรรคพลังธรรม และออกมาสนับสนุนทักษิณอยู่เรื่อยมา

แต่แล้วหลังจากที่รักชอบกับโทนี่มานาน ในสถานการณ์วิกฤตการณ์การเมืองประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 จำลอง ได้เข้าร่วมเป็น 1 ใน 5 แกนนำเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และแกนนำอีก 4 คนคือ สนธิ ลิ้มทองกุล พิภพ ธงไชย สมศักดิ์ โกศัยสุข และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ โดยมี สุริยะใส กตะศิลา เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย ร่วมขับไล่รัฐบาลทักษิณ จนนำมาสู่การรัฐประหารเมื่อปี 2549

เรียกได้ว่าจากคนเคยรักกัน เดี๋ยวนี้ชังกันก็ว่าได้ อนิจจาการเมืองไทย

2.แดงไม่ใช่นักสู้แต่เป็นลูกจอร์จ คงสมพงษ์

อีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่น่าจดจำคือ “บิ๊กจอร์จ” พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้าของฉายา นายพลเสื้อคับ เพราะชอบใส่เสื้อพอดีตัว ผู้ที่เป็นหนึ่งในแกนนำรัฐประหารรับบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเป็นปมทำให้เกิดพฤษภาทมิฬตามมา

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

แต่รู้ไหมครับ เขาคือพ่อ บิ๊กแดง ที่ไม่ใช่แดงนักสู้ แต่คือ แดง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และรองเลขาธิการพระราชวัง เจ้าของวาทะเด็ด “โควิดเป็นแล้วหาย แต่โรคชังชาติเป็นแล้วไม่หาย” นั่นเอง

3.เจ้าของวลีเด็ดเสียสัตย์เพื่อชาติ

เหตุการณ์นี้เอง เป็นเหตุการณ์ที่สร้างวาทะเด้ดในประวัติศาสตร์การเมืองเช่นเดียวกันของคำพูดที่ว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” เป็นประโยคเด็ดของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ที่กล่าวขึ้นต่อสาธารณะ เพื่อการก้าวขึ้นมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ทั้งที่ ก่อนหน้า พล.อ.สุจินดา คราประยูร ยืนยันปฏิเสธมาโดยตลอด ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งในปี 2535 แต่สุดท้ายเขาต้องเสียคำพูด มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยวาทะนี้ พล.อ.สุจินดากล่าวไว้ ณ วันอำลากองทัพบก ที่ห้องประชุมกองทัพบก และในคราวเดียวกันนั้นก็ถึงกับหลั่งน้ำตาขณะกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้านายทหารอีกด้วย

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

กลายเป็นตำนานทางการเมืองที่น่าจดจำ ทั้งการเสียสัตย์เพื่อชาติ และการหลั่งน้ำตาเพื่อชาติบ้านเมืองที่ในยุคนี้สมัยนี้ยังเห็นได้อยู่ ล่าสุดในเรื่องจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วก็ว่าได้ นำมาสู่ความไม่พอใจของประชาชน

4.ยุคพรรคเทพพรรคมาร ต้นกำเนิดแบ่งขั้วพรรคเทวดา

ยิ่งอ่านมายิ่งน้ำเน่า แต่นั่นแหละครับท่านผู้อ่านการเมืองไทยก็เป็นเช่นนี้วนไปวนมาไม่ไปไหน เรื่องแบ่งพรรคคนไม่ดีคนดีก็เหมือนกัน

ในยุคนั้นหลังจากที่รัฐประหารยึดอำนาจเสร็จภายหลังได้เริ่มฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลพรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพ คือพรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

ได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมือง ได้แก่

  1. พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง)
  2. พรรคประชาธิปัตย์ (44 เสียง)
  3. พรรคพลังธรรม (41 เสียง)
  4. พรรคเอกภาพ (6 เสียง)

ด้านพรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล 5 พรรค ได้แก่

  1. พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง)
  2. พรรคชาติไทย (74 เสียง)
  3. พรรคกิจสังคม (31 เสียง)
  4. พรรคประชากรไทย (7 เสียง)
  5. พรรคราษฎร (4 เสียง)

ก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)

กลายเป็นต้นแบบลำดับต้นๆ ของวาทกรรมการเมืองไทยก็ว่าได้ เรื่องพรรคการเมืองคนดี พรรคของฉันคือคนดี ฝ่ายตรงข้ามของฉันคือคนไม่ดี อะไรทำนองนี้ที่เกิดขึ้นในการเมืองไทย

5.หนึ่งในเหตุการณ์ต่อสู้ของภาคประชาชนที่ไร้ตัวตนในประวัติศาสตร์

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองและการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชนในต่างประเทศนั้นมีหลากหลายพิพิธภัณฑ์ เช่น พิพิธภัณฑ์ Apartheid Museumในโจฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้ บอกเล่าเรื่องราวของการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงนิทรรศการ ภาพถ่าย วิดีโอ และวัตถุจัดแสดงอื่นๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวของเหยื่อการแบ่งแยกสีผิว การต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่อาณาจักรประชาธิปไตย

พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งวอชิงตัน ดี.ซี.ในสหรัฐอเมริกาเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์ของขบวนการสิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศ และการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติ

5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ

หรือ พิพิธภัณฑ์ Anne Frank Houseในอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ เป็นบ้านที่แอนน์ แฟรงค์ วัยรุ่นชาวยิว ซ่อนตัวจากพวกนาซีระหว่างการยึดครองเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นบ้านเดิมของแอนน์ แฟรงค์ และปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวของเธอและครอบครัวของเธอ

ในขณะที่บ้านเรานั้นมีน้อยมากถึงขนาดที่ไม่มี เช่นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หรือ พฤษภา 35 ที่ค่อยๆ ถูกลืมเลือนไป จนต่อไปผู้คนอาจไม่รู้จักเหตุการณ์นี้อีกด้วยซ้ำ

ทั้งหมดนี้คือ 5 เรื่องที่คุณ (อาจ) ไม่รู้เกี่ยวกับ พฤษภาทมิฬ ที่ SPRiNG รวบรวมมาให้ชม และหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมระลึกถึงเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ หรือพฤษภา 35 เหตุการณ์ที่ต้องจารึกไว้ว่าประชาชนคืออำนาจสำคัญที่สุดของประเทศนี้   

อ้างอิง

ศิลปวัฒนธรรม / BBC / The People / The Modernist

ข่าวที่เกี่ยวข้อง