svasdssvasds

ครบทุกประเด็น Innovation Keeping The World เมื่อโลกร้อน ไทยจะรับมืออย่างไร?

สัมมนา Innovation Keeping The World เมื่อโลกร้อนขึ้น ไทยจะรับมืออย่างไร? ชวนหาคำตอบว่าไทยพร้อมแค่ไหน ท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปงของสภาพภูมิอากาศ หรือโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น

ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่หลายคนยังคงมองข้ามและกล่าวว่า ไม่สำคัญเท่าเรื่องปากท้อง และความอยู่รอดของผู้คน ซึ่งก็เป็นความจริง แต่จะมีใครเข้าใจอีกมุมไหมว่า ภาวะโลกร้อนกับเรื่องปากท้องคือเรื่องเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน คือสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอากาศที่ร้อนขึ้นทุกปี น้ำท่วมถี่ขึ้น ภัยแล้งที่กำลังคร่าเกษตรกร ซึ่งส่งผลกระทบแบบโดมิโนต่อพืชผลหลายอย่างในประเทศและทั่วโลก รวมถึงเศรษฐกิจระดับมหภาค

ดังนั้น การปรับตัวรับมือกับภาวะโลกรวน (Adaptation) คือเป้าหมายหลักที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ แล้วไทยเราพร้อมหรือไม่ สำหรับนวัตกรรมรับมือโลกรวน หรือ Climate Tech ติดตามได้ใน งานสัมมนา “Innovation Keeping the World นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน?” จบครบทุกประเด็นรับมือ “โลกรวน” ที่จัดขึ้น เมื่อวันพุธ ที่ 7 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00-16.00 น. ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ สื่อเครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์

Climate Tech เทคโนโลยีรับมือโลกเปลี่ยน

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นายเกียรติชายได้อธิบายถึงเรื่อง Climate Tech ไว้ว่าเรื่องโลกร้อน เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ประเทศอื่น ๆ ก็เจอปัญหาเดียวกันกับไทย ไม่ว่าจะอากาศร้อน น้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งทั้งหมดนี้คือ ปัญหาโลกร้อน เกี่ยวข้องกับเรื่องอากาศ เรื่องเศรษฐกิจ ดังนั้น มันใกล้ตัวเราหมด

ไทยเราจะยังคงที่ในด้านของการการนำเข้าแบตเตอรี่ (Battery Import) ต่อไปเรื่อย ๆ หากเราไม่เริ่มประดิษฐ์เอง สร้างเอง ความท้าทายคือ จะทำยังไงให้การผลิตใช้เองในบ้านเราทำได้ และราคาถูก แต่แน่นอนเราเชื่อมั่นว่าในอนาคต ราคาของเทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกลงได้ หากทุกคนหันมาให้ความสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การก้าวสู่ผู้ผลิตพลังงานสะอาด

นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งในภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยได้มีการเร่งตัวเองในการบรรลุเป้าหมายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์จากเดิมในปี ค.ศ. 2065 ขยับขึ้นมาเป็น2050 จึงทำให้มองว่ายังไงไทยต้องทำให้ได้

นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำหรับคำถามที่ว่า EV ไทยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?  ความคืบหน้าในขณะนี้ได้มีการร่วมมือกันของผู้ประกอบการ 5 ราย เชื่อมโยงโครงข่ายสถานีชาร์จอีวี เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้อีวีสามารถดูหมุดสถานีชาร์จข้ามค่ายได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นได้มีการรวมตัวที่จะทำงานร่วมกันได้

โดยคาดว่าจะดึงผู้ประกอบการทุกรายที่รวมตัวกันเข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกันสามารถทำงานร่วมกันได้ เช่นการจ่ายเงินได้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น โมเดลธนาคารที่สามารถกดเงิน โอนเงิน ผ่านตู้ต่างธนาคารได้ หรือการทำงานร่วมกันในมิติอื่นๆ ที่ง่ายต่อลูกค้ามากขึ้น

นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน?

ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร โฆษกและผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA

ระบุว่า จากข้อมูลภูมิสารสนเทศและดาวเทียมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าสถานการณ์ที่เราเจออยู่ปัจจุบันแทบจะล้างตำราทั้งหมดที่เราเคยเรียนมา ซึ่งปัจจุบัน สิ่งที่เราทำได้คือ เร่งปรับตัว และเรียนรู้จากสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เพื่อให้อุณหภูมิโลกลดลง ด้วยการลดก๊าซเรือนกระจก

"เราจะต้องหยุดวิกฤตเรื่องอุณหภูมิให้จบที่รุ่นเรา แก้ไขที่รุ่นเรา อย่าให้ไปถึงรุ่นลูกหลาน"

ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร โฆษกและผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย

ระบุว่า “รถยนต์ไฟฟ้า ในปีที่แล้วจดทะเบียนไปแล้วกว่า 20,816 คัน เติบโตกว่า 400% เทียบกับปีก่อนหน้า ปี 2024 เป็นต้นไปจะมีค่ายรถยนต์ต่างๆเข้ามาประกอบและผลิตในประเทศไทย ตามที่ได้เซ็น MOU กันไว้กับผู้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้นอีก”

นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย พญ.จามรี เชื้อเพชระโสภณ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ระบุว่า “กระทรวงสาธารณะสุขได้มีความสนใจเรื่องรักษ์โลกจากหน่วยงานสุขภาพประเทศไทย ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้โรงพยาบาลหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”

“ขณะเดียวกันองค์กรอนามัยโลก ได้มีแผนงานยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและพลังงาน เพื่อเร่งพัฒนาการเข้าถึงพลังงานสะอาดและยั่งยืนสำหรับการคุ้มครองและบริการด้านสาธารณสุข”

พญ.จามรี เชื้อเพชระโสภณ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเมดพาร์ค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าว

ทำไมสินค้าในบัญชีนวัตกรรมราคาแพงกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งที่ความจริงแล้ว คอนเซ็ปของการทำนวัตกรรมคือการทำมาร์จิ้น สู้กับคู่แข่งรายใหญ่ ดังนั้นสิ่งที่รัฐควรช่วยเหลือคือ การปรับแก้กฎหมายให้ทันยุคสมัย เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการลงทุนให้มากขึ้น และช่วย ออกเงินต้นทุนช่วงแรก จากนั้นภายใน 5 ปีจะวัดใจแล้วว่าไปต่อได้หรือต้องล้มเลิก

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าว พีรกานต์ มานะกิจ ประธานอำนวยการ บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด

อยากให้ผลักดันในเรื่องของการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ให้มากขึ้น เพราะยิ่งมีการใช้งานก็ยิ่งทำให้ต้นทุนลดลง เพราะพลังงานแสงอาทิตย์ถือว่าเป็นพลังงานที่มีต้นทุนถูกที่สุด หรือเรื่องของแบตเตอรี่ก็มีราคาถูกลงมาเรื่อยๆ เรื่องของการรักษ์โลกจึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งทำทั้งระบบ  รัฐก็ควรเข้ามาช่วยในเรื่องของแบตเตอรี่และการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

พีรกานต์ มานะกิจ ประธานอำนวยการ บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด กติกาการค้าโลกใหม่ ไทยรับมืออย่างไร?

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์

“ปัจจุบันผู้นำเข้าสอบถามว่าสินค้าทำจากอะไร? ผลิตอย่างไร? สินค้านี้กระทบกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมถือเป็นจุดขาย เรามีช่องทางประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ขณะเดียวกันผู้ประกอบควรหาแนวทางใหม่เกี่ยวกับเทรนด์รักษโลก ไม่สร้างภาระให้กับโลก และติดตามกฎกติกาที่เปลี่ยนแปลงไป” 

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์

related