svasdssvasds

คุก 3 ปี "เบญจา หลุยเจริญ" ช่วยโอ๊ค-เอม เลี่ยงภาษี

คุก 3 ปี "เบญจา หลุยเจริญ" ช่วยโอ๊ค-เอม เลี่ยงภาษี

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้จำคุกนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 3 ปี ไม่รอลงอาญา คดีช่วยเหลือนายพานทองแท้ และพิณทองทา ชินวัตร เลี่ยงภาษี

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริต และประพฤติมิชอบ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ในจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา นางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กับพวกรวม 5 คน ในคดีที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางเบญจา กับพวกซึ่งเป็นอดีตข้าราชการกลุ่มงานกฎหมายสรรพสามิต ในความผิดตามมาตรา 157 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ช่วยเหลือไม่ให้นายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากรหรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควร โดยชอบด้วยกฎหมาย จากการที่นายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละกว่า 164 ล้านหุ้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีส่วนต่างราคาหุ้น คนละกว่า 7,900 ล้านบาท ซึ่งการกระทำนั้นทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย

คุก 3 ปี "เบญจา หลุยเจริญ" ช่วยโอ๊ค-เอม เลี่ยงภาษี

ศาลอุทธรณ์ พิจารณาคำอุทธรณ์ของจำเลยทุกประเด็นฟังไม่ขึ้น ที่ศาลเห็นพ้องกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้ง 5 โดยนางเบญจ , นางสาวจำรัส อดีต ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย นางสาวโมรีรัตน์ อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย นายกริช ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร จำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกคนละ 3 ปี

ส่วน นางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิด เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 86 มีโทษ 2 ใน 3 จึงให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี โดยโทษจำคุกไม่รอลงอาญา

ทั้งนี้หลัง การอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ฯแล้ว เมื่อทั้งสองศาลคือศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนคดีซึ่งในอัตราโทษจำคุกเดียวกันในคดีต้องห้ามฎีกาในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง จะต้องให้ผู้พิพากษาที่ได้ร่วมทำสำนวนหรืออัยการสูงสุดเซ็นรับรองฎีกาด้วย และมีรายงานว่า จำเลยทั้ง 5 อยู่ระหว่างการเตรียมยื่นคำร้องขอประกันตัวในชั้นฎีกา

related