svasdssvasds

คำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคไทยรักษาชาติ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักษาชาติ จากการเสนอพระนามทูลกระหม่อมฯเป็นนายกรัฐมนตรีพร้อมตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี

เมื่อเวลา 15.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ โดยเริ่มต้นด้วยการพิจารณาคำร้องต่างที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยกคำร้องของนายเรืองไกรและคนอื่น ๆ ยกเว้น กกต. เนื่องจากไม่ใช่คู่กรณี ทั้งนี้ศาลได้แบ่งการพิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักษาชาติออกเป็น 3 กรณี คือ 1. มีเหตุให้เหตุสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติหรือไม่ 2. คณะกรรมการบริหารพรรคจะถูกเพิกถอนสิทธิรับเลือกตั้งหรือไม่ 3. ผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรค และถูกเพิกถอนสิทธิจะจดทะเบียนหรือไม่จัดตั้งพรรคขึ้นให้ภายในระยะเวลา 10 ตามที่ศาลมีคำสั่งหรือไม่

ประเด็นที่ 1 พิจารณาแล้วเห็นว่า การปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีการสถาปนาขึ้นโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 โดยหมวด 1 ระบุว่า พระบรมศานุวงศ์ตั้งแต่ระดับหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิด หรือแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะการเหนือการเมือง ซึ่งเป็นไปตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชหัตถเลขา ถึงพระยาโนปกรณ์นิติธาดา ประธานกรรมการราษฎร์

โดยมีสาระสำคัญคือกล่าวโดยหลักการพระบรมศานุวงศ์ย่อมดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพเหนือความติเตียน ไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมืองซึ่งเป็นการงาน ที่จะถูกโจมตีให้ร้ายกัน ย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองทั้งหลาย หลักการพื้นฐานดังกล่าวย่อมเป็นเจตนาร่วมของการสถาปนาของไทย ไว้ในรัฐธรรมนูญแต่เริ่มแรก ที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและสืบต่อกันมาประกอบกับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ มีหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์ เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นบทบัญญัติรับรองสถานะพิเศษ ตามคติการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ทรงดำรงอยู่เหนือการเมือง และทรงดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมือง ที่สอดคล้องกับทรงราษฎร์ ไม่ได้ทรงปกครอง พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีความใกล้ชิด ไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

แม้พรรคไทยรักษาชาติ มีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามกฎหมายกำหนดไว้ทางการเมืองแต่การกระทำใดของพรรคการเมืองต้องไม่อาศัยสิทธิและเสรีภาพมาจากรัฐธรรมนูญ ให้มีผลมาทำลายหลักการพื้นฐาน บรรทัฐาน และคุณค่า เสียเอง

ดังนั้นการที่พรรคไทยรักษาชาติได้เสอนพระนาม ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ที่ทรง เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งยังเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไป แต่ยังทรงดำรงเป็นสมาชิกจักรีวงศ์ การนำสมาชิกชั้นสูงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ย่อมเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นว่า จะทำให้การเมืองแปลงเปลี่ยนไปจากหลักการพื้นฐานการปกครองต้องถูกบ่อนทำลาย ไปโดยปริยาย และเข้าลักษณะของการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างชัดแจ้ง

ประเด็นที่ 2 เพิกถอนสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง 10 ปี เมื่อผู้ถูกร้องกระทำการอันเป็นเหตุให้ต้องถูกยุบพรรค และศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค จึงชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคผู้ถูกร้องที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 8 ก.พ. 2562 อันเป็นวันที่มีการกระทำอันเป็นเหตุให้ยุบพรรค

ประเด็นที่ 3 ห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกเพิกถอนสิทธิไปจดทะเบียนพรรคใหม่-ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง บัญญัติว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ห้ามมิให้ผู้เคยดำรงตำแหน่งพรรกการเมืองที่ถูกยุบไปจดทะเบียนพรรคขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรค หรือ มีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองอีก บทบัญญัติกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนั้นเมื่อศาลสั่งยุบพรรคการเมืองแล้ว จึงต้องสั่งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกเพิกถอนสิทธิไปจดทะเบียนพรรคขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรค หรือ มีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองอีกไม่ได้ในระยะเวลา 10 ปี

 

related