แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้ยุติการคุกคามทางการเมืองของฝ่ายค้าน นักสิทธิมนุษยชน และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีจุดประสงค์ "ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ"
วันที่ 24 ธ.ค. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ออกประกาศ เรื่อง ข้อกล่าวหาของสมาชิกที่เคลื่อนไหวกิจกรรม "แฟลชม็อบ" โดยในเอกสารระบุว่า
"แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้ยุติการคุกคามทางการเมืองของฝ่ายค้าน นักสิทธิมนุษยชน และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ทางการเริ่มกระบวนการทางกฎหมายอาญาต่อสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ และนักเคลื่อนไหว จากการประท้วงอย่างสันติ
ทางการไทยได้ยื่นฟ้องต่อพรรคอนาคตใหม่ รวมถึง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พรรคฝ่ายค้านที่ได้รับคะแนนเสียง กวาดที่นั่งในสภากว่า 81 ที่นั่ง ในปีนี้เจ้าหน้าที่พยายามจะยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิ์ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในวันประท้วงตำรวจได้เรียกนายธนาธร หัวหน้าพรรค และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ชุมนุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายในที่สาธารณะโดยไม่ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ดังกล่าว และการใช้ลำโพงอย่างผิดกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ
ในวันที่ 16 ธันวาคม นายสนธิญา สวัสดี ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นฟ้องสมาชิกพรรคอนาคตใหม่รวม 4 คน ที่เป็นแกนนำประท้วง ทั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ,นางสาวพรรณิการ์ วานิช,นายปิยบุตร แสงกนกกุลและ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตกเป็นจำเลยข้อหาจัดชุมนุมโดยพลการ ไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ว่าจะจัดชุมนุมในระยะ 150 เมตรจากเขตพระราชฐานและปิดกั้นพื้นที่สาธารณะ การปลุกระดมภายใต้มาตรา 116 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และ ละเมิดสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญไทย หากถูกตัดสินลงโทษสมาชิกพรรคจะถูกจำคุกสูงสุด 7 ปี
ในจังหวัดเชียงใหม่ แอดมิน เฟซบุ๊กแฟนเพจ "สมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตย"ได้จัดงานประท้วงวันเดียวกันนั้น ถูกเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาว่าไม่มีการขออนุญาตชุมนุมภายใน 24 ชั่วโมง ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ มีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท และมีการห้ามชุมนุมทั่วประเทศตั้งแต่มีการรัฐประหาร ตั้งแต่ปี 2558
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้ทางการหยุดใช้บทบัญญัติ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ที่มากเกินไป และใช้มาตรา 116 กฎหมายการชุมนุมของไทย เป็นเครื่องมือยับยั้งนักเคลื่อนไหว นักสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน และนักกฎหมาย ควรยกเลิกบทบัญญัติเหล่านี้ หรือแก้ไขให้สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย ต้องเคารพปกป้องส่งเสริมการปฏิบัติตามเสรีภาพในการแสดงออก"