svasdssvasds

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด คุมโควิดมีอะไรบ้าง จากกรณีนายกฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ฉบับ ที่ 1 โดยมีการออกข้อกำหนด 16 ข้อ โดยจะมีรายละเอียดของการ เปิดปิดสถานที่ ข้อห้ามต่างๆ ดังนี้

 

ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ข้อห้าม เตรียมประกาศใช้ 26 มี.ค. 63

1.การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง

2.การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค

3.การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร

4.การห้ามกักตุนสินค้า

5.การห้ามชุมนุม

6.การเสนอข่าว

7.มาตรการเตรียมรับสถานการณ์

8.มาตรการพึงปฏิบัติสำหรับบุคคลบางประเภท

9.มาตรการเกี่ยวกับการออกนอกราชอาณาจักร

10.มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย

11.มาตรการป้องกันโรค

12.นโยบายการยังคงใก้เปิดสถานที่ทำการ

13.คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเบตพื้นที่จังหวัด

14.คำแนะนำในการจัดกิจกรรมอื่นๆ

15.โทษ

16.การใช้บังคับ

โดยข้อกำหนดดังกล่าวทั้ง 16 ข้อ จะกำหนดพฤติกรรมไว้ 3 ประเภท คือ ห้ามทำ, ให้ทำ, ควรทำ โดยมีขอบเขตกำหนดพฤติกรรมดังนี้

 

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับ 2548 ประเภท "ห้ามทำ"

เป็นการห้ามประชาชน เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสาธารณะ, ศาสนสถาน รวมไปถึงห้ามเดินทางเข้าราชอาณาจักรทุกการโดยสาร ยกเว้นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ กรณีที่ไม่มีให้ติดต่อสถานทูต, บุคคลในคณะฑูต ให้ติดต่อแจ้งกระทรวงการต่างประเทศของไทย ต้องมีใบรับรองแพทย์เช่นกัน, ผู้ขนส่งสินค้า แต่เมื่อส่งสินเสร็จต้องออกไปโดยเร็ว, ผู้ที่มากับยานพาหนะ พนักงานสายการบินต่างๆ และบุคคลที่ได้รับการยกเว้นจากนายกรัฐมนตรี แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขเวลา

นอกจากนี้ยังมีการห้ามชุมนุม เพราะการชุมนุมเป็นสาเหตุที่ทำให้แพร่ระบาดได้ง่ายที่สุด เว้นแต่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการป้องกันที่ถูกหลักการแพทย์ รวมไปถึงการห้ามเผยแพร่ข่าวเท็จ ที่จะทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก

 

ประเภท "ให้ทำ"

เป็นการบังคับส่วนราชการ ไม่ใช่บังคับประชาชน เช่น ให้หน่วยงานเตรียมบุคลากร, เตรียมยา, โรงพยาบาลสนาม, สถานที่ หรือเช่าโรงแรม เพื่อรักษาและกักกันผู้ป่วย รวมไปถึงการใช้อาคารเอกชนเพื่อเป็นโรงพยาบาลสนามแทนบางที่ ซึ่งมีการเตรียมการล่วงหน้าบางส่วนแล้ว

 

ประเภท "ควรทำ"

เป็นการแนะนำประชาชน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ถึงขั้นบังคับ ในคำสั่งฉบับที่ 1 ใช้คำว่า "ควร" แต่ในฉบับถัดไปจะเป็นการยกระดับคำสั่งทันที เช่น ประกาศให้ประชาชนควรอยู่บ้าน ซึ่งบุคคลสูงอายุอายุเกิน 70 ปี, บุคคลที่มีโรคประจำตัว และเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ปี เป็นบุคคลกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควรอยู่บ้าน หากจำเป็นก็สามารถออกมาทำธุรกรรมภายนอกได้

อีกหนึ่งพฤติกรรมคือการเดินทางออกนอกพื้นที่ หรือความเข้าใจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ห้ามเดินทางออกนอกเคหสถานหรือไม่? หลายประเทศก็ใช้มาตรการนี้เช่นกัน ถึงแม้มาตรการฉบับ ที่ 1 จะระบุว่าสามารถเดินทางได้ แต่ก็ต้องอยู่ในมาตรการซึ่งอาจทำให้เกิดความลำบากในการเดินทาง โดยจัดเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจ, ทหาร, กอ.รมน., และอาสาสมัคร ตั้งจุดสกัดหรือด่าน โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างจังหวัด โดยกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หาทางติดแอปพลิเคชันตามตัวผู้โดยสารทุกคน

ทั้งนี้นายวิษณุ ยืนยันว่าคำสั่งที่ 2 และ 3 จะเข้มข้นขึ้นตามสถานการณ์ และยืนยันว่า ยังไม่ปิดประเทศ เพราะยังเปิดให้คนไทยเดินทางกลับประเทศได้ รวมไปถึง ยังไม่ปิดเมือง และเดินทางข้ามจังหวัดได้ แต่จะมีความยุ่งยากในการเดินทาง และ ยังไม่มีประกาศปิดบ้าน เป็นเพียงการกึ่งปิดเท่านั้น ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ

ในส่วนของ โรงงาน, ธนาคาร, ร้านอาหาร, ห้างสรรพสินค้า, การขนส่งสินค้า, สถานที่ราชการ, โรงพยาบาล, ร้านขายยา, คลินิก และ สถาบันหลักทรัพย์ ให้ปฏิบัติตามนโยบายก่อนกน้านี้ โดยมีเวลาเปิด-ปิดชัดเจน และเป็นการซื้อกลับบ้านเท่านั้น

โดยยืนยันว่า ขณะนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังไม่มีประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกนอกเคหสถาน สามารถออกได้ตามปกติ เพราะเป็นเพียงระดับที่ 1 แต่ถึงจะมีประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง ก็จะมีข้อระบุยกเว้นไว้ แต่จะไม่เหมือนที่ผ่านมา เพราะโรคโควิด 19 แพร่ระบาดตลอดเวลา และจะมีประกาศไหมต้องอ้างอิงจาดสถานการณ์รายวัน ที่ใช้ข้อมูลทางการแพทย์

ในส่วนของความมั่นคงเรื่องการ ปล้น, จี้, ชิงทรัพย์ ได้แต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นคำสั่งการจากนายกฯในที่ประชุม  ที่เกรงว่าจะเกิดอาชญากรรมมากขึ้นและต้องตรวจตาเพิ่มกว่าเดิม และขอให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายด้วยความมั่นใจ ไม่หย่อนยาน ดำเนินคดีเฉียบขาด

ทั้งนี้ พระราชกำหนดนี้ยังไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกด้านต่างๆรวมถึงการเมืองได้ตามปกติ สามารถติชมรัฐบาลได้ตามอย่างที่เคยทำ

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 16 ข้อกำหนด ห้ามทำ ประกาศใช้ 26 มี.ค. 63

related