svasdssvasds

'ส.ส. ประชาธิปัตย์' ซัดรัฐบาลชอบทำ "เรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่"

'ส.ส. ประชาธิปัตย์' ซัดรัฐบาลชอบทำ "เรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่"

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้facebook ส่วนตัวโดยมีการวิจารณ์ถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆของรัฐบาลในช่วงเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นเรื่องน่าเสียดายที่ตนเองเคยเสนอแนวทางแก้ไขต่อรัฐบาลหลายครั้ง แต่รัฐบาลไม่ได้นำไปใช้ ก็เป็นสิทธิ์ของรัฐบาล ซึ่งยังคงแก้ปัญหาในลักษณะ ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก และทำเรื่องยากให้ ยากยิ่งขึ้น เช่น

 

 

1.เรื่องการออกจดหมายจากนายกรัฐมนตรี ถึงมหาเศรษฐี จำนวน20คนนั้น ถ้าหากนายกรัฐมนตรี ได้ทำจดหมายฉบับนี้ออกมาก่อน การพูดในรายการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย(ทรท.) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็จะไม่มีปัญหาการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ประเด็นรัฐบาลขอทาน รัฐบาลขอรับบริจาค หรือรัฐบาลไถเงินเศรษฐีแต่อย่างใด เพราะเนื้อหาจดหมายของนายกรัฐมนตรี ก็เป็นเพียงจดหมายธรรมดา เป็นการขอความร่วมมือในการพัฒนาประเทศ ไม่มีการขอรับบริจาคเงินแต่อย่างใด

ทั้งนี้เชื่อว่าถ้าเนื้อหาของจดหมายได้เผยแพร่ออกไปก่อน หรือออกมาพร้อมกับนายกรัฐมนตรีพูด ก็จะไม่มีปัญหาการวิจารณ์ใดๆทั้งสิ้น แต่น่าเสียดายเมื่อจดหมายมาออกในภายหลัง จึงมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย ทั้งๆที่หลังการได้รับจดหมายแล้ว มหาเศรษฐีทุกคนดีใจขานรับและพร้อมสนับสนุนรัฐบาลกันทุกคน

2.การทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากคือ การคิดค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์มือถือให้กับประชาชน วิธีการที่ทำได้ง่ายที่สุด คือใช้ใบเสร็จค่าไฟในเดือนกุมภาพันธ์เป็นตัวตั้ง ยอดการใช้ไฟฟ้าเกินจากใบเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลให้ใช้ฟรี ถือว่าเป็นส่วนเกินในช่วงประชาชนหยุดอยู่บ้านรัฐบาลขอรับผิดชอบให้ หรือจะเลือกใช้วิธีค่าไฟฟ้ารายเดือนลด 50% โดยรัฐบาลจ่ายครึ่งหนึ่ง ผู้ใช้บริการจ่ายครึ่งหนึ่ง ดีกว่ามาตรการที่รัฐบาลประกาศเพิ่งประกาศใช้ ซึ่งมีความสลับซับซ้อน เข้าใจยาก

ที่ใช้ใบเสร็จเดือนกุมภาพันธ์เป็นตัวตั้ง ถ้ามิเตอร์ขนาดเกิน5แอมป์ ใช้เกิน 800 หน่วย แต่ไม่เกิน3000หน่วย ลด 50% แต่ถ้าใช้เกิน 3000 หน่วย ลด 30% ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้ประชาชนสับสนเข้าใจยาก ส่วนการช่วยเหลือค่าโทรศัพท์มือถือ ถ้าใช้วิธีการช่วยเหลือทุกหมายเลข ไม่ต้องลงทะเบียน กด*170*ตามด้วยเลขบัตรประชาชน กด#แล้วโทรออก เพื่อขอใช้สิทธิ์เพิ่มเติม จะถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนมากที่สุด

3.การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายแต่รัฐบาลไม่ยอมทำ กลับทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องยากยิ่งขึ้น ในเรื่องโครงการเราไม่ทิ้งกัน ที่มีการเปิดลงทะเบียนช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งยอดในขณะนี้รัฐบาลเพิ่มเป็น 14ล้านคน และมีแนวทางจ่ายให้กลุ่มเกษตรกรอีก 9ล้านครอบครัว

 

ถ้ารัฐบาลใช้หลักคิดที่ตนเองเสนอคือ เยียวยาทุกครัวเรือน ซึ่งทั้งประเทศมีอยู่ 20ล้านครัวเรือน จะมีจำนวนน้อยกว่ายอดตัวเลขที่รัฐบาลจะเยียวยาคือครัวเรือนเกษตรกร 9ล้านครัวเรือนรวมกับยอดผู้ได้รับการเยียวยา 14ล้านคน จะเท่ากับ23ล้านคน ซึ่งมากกว่าจ่ายให้ทุกครัวเรือนอีก หรือถ้าหากรัฐบาลจะเลือกวิธีการเยียวยา ให้คนอายุ 18 ปีขึ้นไป มีเงินฝากในธนาคารยอดไม่เกิน 1แสนบาท ก็จะใช้วงเงินใกล้เคียงกัน แต่วิธีการในการทำงานง่ายกว่า และรวดเร็วกว่าการทำงานในปัจจุบัน เพราะสามารถทำเสร็จได้ ภายใน5-10วัน ซึ่งต่างกันวิธีการลงทะเบียนและคัดกรองด้วยระบบ AI จนถึงบัดนี้ยังไม่เสร็จสิ้น จากยอดคนลงทะเบียนทั้งหมด28.8ล้านคน และยังมีการยื่นทบทวนสิทธิ์อีกส่วนหนึ่ง

 

สำหรับข้อเสนอและความเห็นทั้งหมดนี้ แม้ว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้วก็ตาม แต่เป็นการตั้งข้อสังเกต และแสดงความเห็นในฐานะ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลคนหนึ่ง ที่มีความปรารถนาดี และขอพูดแทนพี่น้องประชาชนในเรื่องปัญหาปากท้องไม่ใช่ประเด็นทางการเมืองมายังรัฐบาลให้ได้รับรู้ข้อมูลบ้าง

 

นายเทพไท กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลได้พิจารณาถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ด้วยการเยียวยาต้องทำในทันท่วงที และเร็วที่สุด เพราะคนหาเช้ากินค่ำ คนไม่มีรายได้ จะต้องกินต้องใช้ทุกวันหากโครงการนี้ใช้เวลานานถึง2เดือน ก็จะมีประชาชนอดตาย ฆ่าตัวตายรายวัน อย่างแน่นอน ในสถานการณ์เช่นนี้ ประชาชนส่วนใหญ่มีความเดือดร้อนกันทั่วหน้า ยกเว้นคนที่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสากิจที่มีเงินเดือนจากรัฐบาลเท่านั้น ที่มีความเดือดร้อนน้อยกว่าอาชีพอื่นๆ

 

ติดตามข่าว ล่าสุด “COVID-19”

กดที่ลิ้งค์นี้ —> https://bit.ly/2UxjSwR

#โควิด19 #Covid_19 #COVID19 #ข่าวจริง #สปริงนิวส์ #Springnews #COVID2019 #coronavirus #ไวรัสโคโรนา #โควิท19

 

เรื่องน่ารู้จาก COVID-19

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> แพทย์แนะ มาตรการต้องมีในที่ชุมนุมชน รับมือไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/623982

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> 4 ทริค รับมือ COVID-19 มฤตยูร้ายสายพันธุ์ใหม่ ให้อยู่หมัด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/627250

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธี กักกันตัวเอง ที่บ้าน ทำอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/630786

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> Social Distancing ระยะห่างทางสังคม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/631471

 

อ่านข่าวแนะนำ >>> วิธีรับมือ ความวิตกกังวลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

https://www.springnews.co.th/alive/lifestyle/634538

related