svasdssvasds

"คำนูณ" จี้รัฐบาลออกกฎหมายรับมือ เพราะอาจเกิดวิกฤตใหญ่หลังโควิด-19

"คำนูณ" จี้รัฐบาลออกกฎหมายรับมือ เพราะอาจเกิดวิกฤตใหญ่หลังโควิด-19

สมาชิกวุฒสภา ออกโรงเตือนรัฐบาล หลังโควิด-19 อาจเกิดวิกฤตใหญ่ แนะจัดตั้งกลไกถาวร "แก้จน-ลดเหลื่อมล้ำ"

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 63 นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒสภา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Kamnoon Sidhisamarn แสดงความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 โดยระบุว่า

เงาทมึนใหญ่ที่กำลังตามมาหลัง COVID-19 คือวิกฤตเศรษฐกิจโลก จะแค่ recession หรือถึงขั้น depression หรือ Great Depression อีกไม่นานคงได้รู้กัน ประวัติศาสตร์บอกเราว่าหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลกมักจะตามมาด้วยความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในประเทศที่มีเงื่อนไขสะสมอยู่ก่อนแล้วเสมอ และแน่นอนที่สุด ความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่จะเพิ่มมากขึ้นคือฟืนจำนวนมหาศาลในกองไฟแห่งความขัดแย้ง จะบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำแบบเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว

นอกเหนือจากการที่จะต้องใช้เงินกู้ในส่วน 4 แสนล้านเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนทั่วประเทศให้เหมาะสมที่สุดแล้ว ยังจะต้องดึงกราฟสัดส่วนคนยากจนที่จะเพิ่มสูงขึ้นจาก COVID-19 และวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำให้ลงมาให้ได้ โดย ‘หัวใจ’ ที่จะทำได้ทันทีภายใต้เงื่อนไขรัฐบาลปัจจุบันและระบอบการเมืองปัจจุบันเท่าที่สติปัญญาของผมจะเสนอได้ โดยประยุกต์ปรับจากสิ่งที่รัฐบาลนี้เคยคิดจะทำอยู่แล้ว ก็คือ...

การจัดตั้ง ‘กลไก’ เพื่อกำหนดทิศทางและกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐในระยะกลางถึงระยะยาวในระดับคิดใหม่ทำใหม่ ปฏิรูปใหญ่ หรือ reset ตลอด 5 ปีจากนี้ไป

กลไกแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำนี้จะต้องเป็นช่องทางพิเศษและเร่งด่วน

"คำนูณ" จี้รัฐบาลออกกฎหมายรับมือ เพราะอาจเกิดวิกฤตใหญ่หลังโควิด-19

อันที่จริงก่อน COVID-19 ประเด็นนี้ก็มีระบุอยู่แล้วในแผนปฏิรูปประเทศ 2 ด้าน คือ ด้านกฎหมาย และด้านเศรษฐกิจ ที่เห็นตรงกันว่าให้จัดตั้งเป็นกลไกพิเศษขึ้นโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำโดยตรง เฉพาะแผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายนั้นระบุให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ โดย ณ นาทีนี้ย่อมหมายถึงเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 ที่ต้องพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

แต่คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้วมีเห็นว่าเป็นระดับเพียง ‘ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี...’ ก็พอ โดยข้อดีประการหนึ่งคือออกได้เร็ว ไม่ต้องผ่านสภา จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 อนุมัติหลักการ ‘ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบูรณาการเพื่อลดควาามเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. ...’ ที่สภาพัฒน์ยกร่างเสนอขึ้นมา

นายกรัฐมนตรีได้นำเรื่องนี้มากล่าวรายงานประชาชนในรายการศาสตร์พระราชาในอีกสองสามวันถัดมา สร้างความยินดีให้กับประชาชนทั่วประเทศ

แต่จนบัดนี้เวลาผ่านไป 1 ปี 5 เดือนยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ยังไม่มีคณะกรรมการบูรณาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหหาความยากจนเกิดขึ้น ไม่ว่าจะในรูปแบบใดทั้งสิ้น

"คำนูณ" จี้รัฐบาลออกกฎหมายรับมือ เพราะอาจเกิดวิกฤตใหญ่หลังโควิด-19

แม้แต่ ‘ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบูรณาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจน พ.ศ. ....’ ก็ยังไม่เบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เพราะเมื่อคณะรัฐมนตรีรับหลักการแล้วตามกระบวนการก็ส่งต่อไปให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี (คกอ.) สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ตรวจร่างฯ แม้จะตรวจและปรับแก้เสร็จแล้ว แต่ก็เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา เมื่อคกอ.แก้ไขแตกต่างไปจากร่างเดิมมาก จนแทบจะกล่าวได้ว่าเสียเจตนารมณ์เดิมไปในสาระสำคัญ

มาถึงวันนี้ COVID-19 และวิกฤตเศรษฐกิจร่วมกันกดปุ่ม ff- fast forward ปัญหาความยากจนของประเทศไทยไปไกลในอัตราคูณ 2 คูณ 3

ฟันธงฉับด้วยความเคารพ - ปรับมติคณะรัฐมนตรี 18 ธันวาคม 2561 เสียใหม่เถอะครับ !

related