svasdssvasds

"หญิงหน่อย" ดันตั้ง กมธ.วิสามัญ ตรวจสอบใช้งบ 1.9 ล้านล้านบาท ต้องรายงานสภา ทุก 3 เดือน

"หญิงหน่อย" ดันตั้ง กมธ.วิสามัญ ตรวจสอบใช้งบ 1.9 ล้านล้านบาท ต้องรายงานสภา ทุก 3 เดือน

"เพื่อไทย" ยืนยัน ดันตั้ง กมธ.วิสามัญ ตรวจสอบใช้งบ 1.9 ล้านล้านบาท ต้องรายงานสภา ทุก 3 เดือน อัด รัฐไม่สร้างความเชื่อมั่น สร้างความหวาดกลัว หวั่นใช้เงินไม่มีประสิทธิภาพ

วันนี้ (2 มิ.ย. 63) - คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการติดตามการเสนอ พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ รวมทั้งจะมีการพิจารณา พ.ร.บ.โอนงบประมาณ 2563 ว่าพรรคเพื่อไทยมีความไม่สบายใจ อยากให้รัฐบาลนึกถึงความยากลำบากของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ต้องละความเห็นแก่ตัวลง ไม่ใช่ความมั่นคงของรัฐบาล ไม่ใช่ประโยชน์ของพรรคการเมือง แต่ต้องมองประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก พรรคเพื่อไทยเห็นช่องโหว่ของ พ.ร.ก. 3 ฉบับและ พ.ร.บ.ที่กำลังจะเข้าที่ประชุม

ทั้งนี้ สิ่งที่พรรคเพื่อไทยกังวล และมองเห็นหายนะด้านเศรษฐกิจที่กำลังจะมาถึง กรณีที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พูดว่าไม่เก่งเศรษฐกิจ แต่มีความจริงใจ ตนเห็นด้วยที่นายกไม่เก่งเศรษฐกิจจริงๆ ส่วนเครื่องความจริงใจตนมองไม่เห็น ทั้งเรื่องการนำเสนอ พ.ร.ก.3 ฉบับ และการบริหารเศษรฐกิจที่ผ่านมา สิ่งที่พรรคเพื่อไทยอภิปราย เน้นเห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ว่าต้องทำ แต่สิ่งที่คัดค้าน คือในรายละเอียดไม่มีความชัดเจน ว่าเงินที่ใช้ลงไปจะได้เยียวยาฟื้นฟู และพัฒนาเศษฐกิจจริง และการใช้เงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ใช้เงินอย่างไม่โปร่งใส

ดังนั้น ต้องการจะแก้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ ให้ตรวจสอบได้ โดยการตั้งกรรมาธิการ และรายงานงบประมาณทุกๆ 3 เดือน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยให้ทุกคนช่วยกันตรวจสอบให้เงินไม่รั่วไหล ส่วนพ.ร.บ.โอนงบประมาณปี 2563 พรรคเพื่อไทยเสนอว่าควรตัดงบปี 63-64 ก่อนแล้วค่อยไปกู้เงิน แต่รัฐบาลแสดงความไม่จริงใจโดยการพิจารณา พ.ร.ก.กู้เงิน ก่อนและจึงพิจารณา พ.ร.บ.โอนงบฯ นอกจากนี้การตัดงบประมาณก็ไม่จริงใจ เพราะแต่ละหน่วยงานตัดน้อยมาก ทั้งนี้มีการอ้างว่ากู้เพื่อช่วยโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคโควิด-19 แต่การตัดงบประมาณนี้กลับนำไปไว้ในงบกลาง ที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเพียงคนเดียวในการใช้ จึงจำเป็นต้องอภิปรายและเสนอให้มีการตรวจสอบ

ด้านประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ด้านนโยบายและแผนงาน นายโภคิน พลกุล กล่าวถึงการทำงานหลังจากผ่านการอภิปรายพระราชกำหนด 3 ฉบับ ว่า ต้องขอชื่นชม ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนอย่างเต็มที่และไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ อ้างว่าการชนะโควิด-19 ได้คือมีผู้ป่วยน้อยมาเป็นผลงานของตนเอง เพราะจริงๆ แล้วเป็นผลงานของทุกคนโดยเฉพาะประชาชนคนไทย

โดยที่ผ่านมา วิสัยทัศน์ของรัฐบาลแทนที่จะสร้างความเชื่อมั่นความหวังให้กำลังใจประชาชน กลับสร้างความหวาดกลัวกับสถานการณ์โควิด ซึ่งประชาชนเสียสละมากและไม่มั่นใจในอนาคตว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ทั้งนี้การใช้เงิน 1.9 ล้านล้านบาทนั้น ยังไม่มีความชัดเจนขาดเป้าหมายและตัวชี้วัด รวมถึงการตรวจสอบที่ยากมากๆ ดังนั้นอาจจะการทุจริตคอรัปชั่นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีความชอบมาพากลแฝงมาตั้งแต่แรกจึงต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด

ดังนั้น จึงต้องการให้ผลักดันให้มีการตั้งกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบการใช้เงินและ เตรียมร่างกฎหมายพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนด เพื่อให้มีการรายงานการทำงานของรัฐบาลทุกๆ 3 เดือน ด้านธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะต้องรายงานการใช้เงินทั้งหมด ทุกๆ 15 วันหรือ 1 เดือน รวมถึงพลักดันให้มีกฎหมาย สภาSMEs ขึ้น เพื่อสร้างมาตราฐานร่วมกันในกลุ่มเอสเอ็มอี

related