svasdssvasds

เชิญผู้สนใจส่งผลงานประกวดศิลปกรรม ปตท. หัวข้อ “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต”

เชิญผู้สนใจส่งผลงานประกวดศิลปกรรม ปตท. หัวข้อ “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต”

ใครที่มีความอาร์ตอยู่ในตัวอยากหาที่ปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์หรือผลงานศิลปะของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป ศิลปิน หรือผู้ที่ทำงานศิลปะ ถนัดศิลปะประเภทไหนมาปล่อยของกันได้ที่งานประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 38 ประจำปี 2566 ในหัวข้อ “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต” โดยส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 5-21 มิ.ย. 2566

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 38 ประจำปี 2566 ในหัวข้อ “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต” เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปิน เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ร่วมถ่ายทอดผลงานเล่าความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ในช่วงชีวิตเดียวกันที่ผ่านมาพร้อมความหวังในการขับเคลื่อนไปสู่อนาคต ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นจดหมายเหตุของประเทศในรูปแบบของงานศิลปะ ผ่านผลงานศิลปะทุกประเภท ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และผลงานทางด้านทัศนศิลป์อื่นๆ โดยมีกฎกติกาเข้าร่วมประกวด ดังต่อไปนี้

เชิญผู้สนใจส่งผลงานประกวดศิลปกรรม ปตท. หัวข้อ “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต”

หัวข้อการประกวด “จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต”

จากการระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และได้เปลี่ยนวิถีชีวิต ของผู้คนทั้งโลกไปโดยสิ้นเชิง เมื่อความท้าทายของโลกอนาคต คือ การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิดในทุกมิติ ซึ่งประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูหลังวิกฤติโควิด 19 คนทุกรุ่น ทุกสาขาอาชีพและทุกภาคส่วน เริ่มกลับมามีพลังกายและพลังใจ ปรับตัว ลุกขึ้นใหม่พร้อมความหวังอีกครั้ง

ในปี 2566 ปตท. ก้าวสู่ปีที่ 45 ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่อยู่เคียงข้างคนไทยข้ามผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง และครั้งนี้ถือเป็น “ความท้าทาย” และ “โอกาส” ในการพัฒนาธุรกิจพลังงานและริเริ่มธุรกิจใหม่ ที่ไกลกว่าพลังงานเพื่อ “จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต” พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม มอบคุณค่าตอบแทนสังคม พัฒนาศักยภาพความยั่งยืนของธุรกิจ ด้วยความหวังที่จะเห็นทุกคนกลับมามีพลัง “ข้ามผ่านวิกฤตหลังโควิด 19” ไปพร้อมกัน

คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

1. เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย

2. เป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปกรรมที่ส่งผลงานเข้าประกวดด้วยฝีมือและความคิดของตนเองและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่เข้าประกวด ซึ่งจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคล หรือบริษัทอื่นใด

3. เป็นผลงานที่ไม่เคยเข้าร่วมประกวดที่ใดมาก่อน

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้

1. ระดับเยาวชน มี 3 กลุ่ม

- กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2557)

- กลุ่มอายุ 9 - 13 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2557)

- กลุ่มอำยุ 14 - 18 ปี (แจ้งเกิดตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2547 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2552)

2. ระดับประชาชนทั่วไป (แจ้งเกิดก่อนวันที่ 12 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป)

 

การส่งงานเข้าประกวด

1. เอกสารการรับสมัคร ประกอบด้วย

- ใบสมัครฉบับจริงที่ครบถ้วนสมบูรณ์

- สำเนาบัตรประชำชน หรือสูติบัตร ของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1ชุด (ในกรณีที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมาย)

- สำเนาบัตรประชำชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด เป็นผู้เยาว์)

2. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด มีสิทธิ์ส่งผลงานได้ไม่เกินคนละ 2 ชิ้น ต่อใบสมัคร 1 ใบ

3. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องกรอกชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อีเมล พร้อมกรอกข้อมูลอื่น ๆ ลงในใบสมัคร อย่างละเอียดและชัดเจน ทั้งภาษำไทยและภาษาอังกฤษ

*** ทั้งนี้ห้ามติดใบสมัครลงบนผลงานที่ส่งเข้าประกวดฯ โดยขอให้ผู้สมัครนำใบสมัครแนบใส่ซอง เพื่อส่งมาพร้อมผลงาน ***

ขนาดผลงาน

 

ระดับเยาวชน ต้องมีขนาดผลงาน ดังนี้

- กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี และกลุ่มอายุ 9 - 13 ปี จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 40 x 60 เซนติเมตร หรือไม่ต่ำกว่าขนาด A2 และไม่เกิน 60 x 80 เซนติเมตร หรือไม่เกินขนาด A1 ไม่รวมกรอบหรือฐาน

- กลุ่มอายุ 14- 18 ปี จะต้องส่งผลงานที่มีขนาดไม่ต่ำกว่ำ 60 x 80เซนติเมตร และมีความกว้าง ความยาว หรือความสูง ไม่เกิน 100 เซนติเมตร ไม่รวมกรอบหรือฐาน

ระดับประชาชนทั่วไป ต้องมีขนาดผลงาน ดังนี้

- ผลงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ หรือผลงานเทคนิคอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผลงาน 3 มิติ จะต้องมีขนาด ผลงาน โดยมีความกว้าง ความยาว หรือ ความสูงไม่เกิน 200 เซนติเมตร รวมกรอบ หรือฐาน

- ผลงานประติมากรรม หรือสื่อ 3 มิติจะต้องส่งผลงานที่มีขนาดรวมแท่น ฐาน และกรอบ (กว้าง x ยาว x สูง) ด้านละไม่เกิน 150 เซนติเมตร

4. งานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย พร้อมที่จะติดตั้งได้ ทั้งนี้คณะกรรมการคัดเลือก และตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพและเหมาะสมเข้าร่วมแสดงผลงาน คณะกรรมการดำเนินงานจะระวังรักษาผลงานที่เข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเหตุสุดวิสัย

5. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงให้ ปตท. มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวตลอดระยะเวลาแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือ นำผลงานของผู้ส่งผลงานเข้าประกวดไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานของ ปตท. โดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งนี้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงที่จะไม่ให้สิทธิแก่บุคคลอื่นในการด ำเนินการข้างต้น โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตกลงให้เอกสารใบสมัครนี ้เป็นหนังสืออนุญาตให้สิทธิแก่ ปตท. ตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 (ในกรณีที่เป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ในการยื่นเอกสารการรับสมัคร)

รางวัลพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ

1. ระดับเยาวชน แบ่งรางวัลในแต่ละกลุ่ม ดังนี้ 

  • กลุ่มอายุต่ำกว่า 9 ปี

รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท

รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 7,000 บาท

  • กลุ่มอายุ 9-13 ปี

รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 15,000 บาท

รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท

  • กลุ่มอายุ 14-18 ปี

รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 20,000 บาท

รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 15,000 บาท

2. ระดับประชาชนทั่วไป

รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินรางวัล 200,000 บาท

รางวัลดีเด่น 5 รางวัล รางวัลละ 100,000 บาท

และได้รับสิทธิ์ในการจัดนิทรรศการแสดงผลงานที่หอศิลป์ ณ บ้านเจ้าพระยา ภายใต้เงื่อนไขที่ ปตท. กำหนด

หมายเหตุ

- ผู้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมระดับเยาวชน จะได้รับสิทธิ์ในการประชาสัมพันธ์ผลงานของตนเอง หรือในนามสถาบันสอนศิลปะ ภายใต้เงื่อนไขที่ ปตท. กำหนด

- ผู้ที่ได้รับรางวัลทุกระดับ เฉพาะเงินรางวัลจะต้องรับผิดชอบในการจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตรา ที่กฎหมายกำหนด