svasdssvasds

ข้อความขึ้นต้นด้วย ลิงค์ Bit.ly อันตรายกดแล้วโดนแฮกจริงไหม ?

รู้ไว้ปลอดภัยกว่า ชวนหาคำตอบ ลิงค์ Bit.ly อันตรายกดแล้วโดนแฮกจริงไหม ? ใครได้รับข้อความเงินกู้แล้วลังเลว่าจะกดดีไหม รีบดูคลิปนี้ก่อนเงินหายโดยไม่รู้ตัว

ต๋า สปริงนิวส์ ชวนทุกคนมารู้ทันโจรก่อนโดนแฮก คือ ก่อนหน้านี้ทาง โฆษกสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เขาออกมาเตือนว่า ถ้าเจอลิงค์ bit.ly ใน SMS แบบนี้อันตรายเงินหายหมดแน่นอน

อันนี้เรามาทำความเข้าใจก่อนว่าลิงค์ bit.ly ไม่ได้อันตราย 100% ขนาดนั้น เพราะเดิมทีแล้วเว็บไซต์ bit.ly เป็นเว็บไซต์ที่เอาไว้ย่อลิงค์ให้สั้นลง เพราะเพจ สคบ. และเพจอื่น ๆ เองก็ใช้

แต่ประเด็นก็ คือ คนร้ายเขาก็อาศัยช่องโหว่ของเว็บไซต์นี่แหละ มาหากินกับเรา โดยการแอบเอาลิงค์ปลอมไปใส่ เช่น เว็บไซต์ปลอมของ Advice ขื่อ Advic0 หรือเว็บธนาคารปลอมอย่าง ธนาคาร... Bahk เป็นต้น

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งพอเรากดเข้าไปที่ลิงค์ปลอมที่มาในคราบของลิงค์ที่ย่อมาให้ดูจริงอีกทีแล้วเผลอกรอก Username Password ลงไป เท่านั้นแหละ เงินหายหมดบัญชีแน่นอน

สรุปสั้น ๆ เลยคือ ลิงค์ Bit.ly กดได้ แต่ดูคนส่งหรือชื่อเว็บไซต์ที่เป็น www…. หลังจากนั้นด้วยว่าของจริงไหม ?

ซึ่งวิธีการส่วนใหญ่ที่คนร้ายใช้ชื่อว่า Phishing ย้อนกลับไปดูเรื่องนี้ได้เต็ม ๆ ที่รายการ Digital Life Update EP 229

แล้วโลกนี้มันจะย่อลิงค์ไปทำไม ?

อันนี้ตอบสั้น ๆ ง่าย ๆ เลย ย้อนกลับไปที่ยุค SMS เราส่งข้อความได้สั้นกว่าทวิตเตอร์อีก ดังนั้นสมมุติเราจะโฆษณาลิงค์ยูทูป ลองนึกภาพดูครับ เราถูกจำกันด้วยจำนวนตัวอักษร แค่พิมพ์คำว่า Youtube.com ก็หมดไปครึ่งนึงแล้ว ดังนั้นเขาเลยย่อให้สั้นลง เป็น youtu.be/..... หรือ ทวิตเตอร์ก็จะเหลือ t.co/… เป็นต้น

เคยกด Copy Link แล้วเป็นภาษาเอเลี่ยนยาว ๆ ยาวมาก ๆ คนใช้ Shopee – Lazada จะรู้ดีเวลาแชร์ให้เพื่อนเป็นอย่างไร ดังนั้นเลยเกิดเว็บไซต์อย่าง Bit.ly ขึ้น ที่สำคัญเลยคือเว็บไซต์นี้ยังสามารถติดตามได้ว่า ใครกดลิงค์เรากี่ครั้งแล้ว

related