svasdssvasds

Spiro Carbon วิธีขายคาร์บอนเครดิตฉบับชาวนา ปลูกข้าวยังไงให้รักษ์โลก

ชาวนาอยากหารายได้เสริมด้วยคาร์บอนเครดิตมาทางนี้! Spiro Carbon หนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่อยากขายคาร์บอนเครดิตจากการทำนา รายได้ดี แถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปี 2022 เป็นปีแห่งการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิต โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจและเอกชน ที่มีการประโคมข่าวกันอย่างเต็มที่ว่าจะช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อขายคาร์บอนแครดิต และเป็นกลไกการตลาดที่กำลังมาแรงมาก ๆ แต่คาร์บอนเครดิตต้องไม่จำกัดอยู่แค่เหล่าผู้ประกอบการรายใหญ่ การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควรเป็นของทุกภาคส่วน แต่จะทำอย่างไรให้คนตัวเล็ก ๆ สามารถเข้าถึงตลาดคาร์บอนได้ Spiro Carbon จึงมีตัวเลือกดี ๆ มานำเสนอ

David Rockwood ผู้ร่วมก่อตั้ง Spiro Carbon หรือเรียกสั้น ๆ ว่าคุณช้าง คุณช้างเป็นเจ้าของ Spiro Carbon ที่มีความมุ่งมั่นในการอยากให้ชาวนาหรือชาวเกษตรกรทั่วโลกสามารถเข้าถึงตลาดคาร์บอนได้ และอยากให้หันไปทำการเกษตรแบบรักษ์โลกกันมากขึ้น จึงได้ทุ่มทุนและทุ่มแรงในการพัฒนาและหาพาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีในประเทศต่าง ๆ เพื่อมาสนับสนุนให้ชาวนาสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

David Rockwood ผู้ร่วมก่อตั้ง Spiro Carbon Spiro Carbon เป็นองค์กรที่ดำเนินการเรื่องคาร์อบนเครดิตให้กับชาวนาและเกษตรกรที่ปลูกผลิตผลต่าง ๆ ให้สามารถขายคารืบอนเครดิตได้ในราคาดี โดยไม่ต้องไปจ้างหรือผ่านตัวกลางอื่นใด และนำเข้าสู่ตลาดคาร์บอนระดับสากล หรือเรียกได้ว่า เป็นกระบวนการระดับรากหญ้าแบบ end-to-end แห่งแรกของโลกที่จะช่วยให้ผลักดันการกักเก็บคาร์บอนจากเกษตรกรทั่วโลกได้มากขึ้นด้วยแพลตฟอร์ม Spiro Carbon

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่การปลูกข้าวหรือพืชผลอื่น ๆ มีส่วนทำให้เราเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศ ก่อให้เกิดเป็นก๊าซมีเทนได้ แถมในปัจจุบันปัญหาของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็ส่งผลอย่างมากต่อภาคเกษตรที่ต้องทำนาตามฤดูกาลที่ไม่แน่นอนและอาจทำให้เราเสียน้ำจำนวนมากไปอย่างสิ้นเปลือง

ดังนั้น พืชที่ทาง Spiro Carbon เน้นที่สุดคือการทำนา เพราะการปลูกข้าวในปัจจุบันของชาวนาใช้น้ำปล่อยให้ท่วมนา เพื่อให้ข้าวได้คุณภาพดี แต่กระบวนการนี้ส่งผลให้เกิดการเน่าของวัชพืชและก่อให้เกิดการปล่อยมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศได้

'ข้าว' เป็นหนึ่งในกลุ่มพืชผลทางการเกษตรที่คุณช้างบอกว่าขายได้ราคาดีที่สุดสำหรับคาร์บอนเครดิต ดังนั้นจึงขอขยายความจึงรูปแบบการเกษตรที่เรียกว่า การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ว่าเป็นอย่างไรและช่วยลดคาร์บอนหรือช่วยสิ่งแวดล้อมได้จริงไหม?

การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง

ข้อมูลจากกรมชลประทาน INWEPF Thai และบริษัทสยามคูโบต้า ได้จัดทำ คู่มือชาวนา ที่ได้อธิบายการทำนาแบบเปียกสลับแห้งของไทยไว้ ผู้เขียนจึงขอสรุปมาพอสังเขปเกี่ยวกับการทำนาเปียกสลับแห้งให้ผู้อ่านได้รับรู้ดังนี้

ในปีพ.ศ.2547 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายนานาชาติด้านน้ำและระบบนิเวศในนาข้าว (International Network for Water and Ecosystem in Paddy Fields, INWEPF) ที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การทำนาและระบบนิเวศที่เหมาะสมกับประเทศสามาชิกที่มีทั้งหมด 17 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา บังกลาเทศ จีน เนปาล อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ฟิลิปปินส์เกาหลีใต้ ศรีลังกา เวียดนาม อียิปต์ปากีสถาน อินเดีย และไทย

Spiro Carbon วิธีขายคาร์บอนเครดิตฉบับชาวนา ปลูกข้าวยังไงให้รักษ์โลก

และเมื่อเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2555 กลุ่มของประเทศไทย ประกอบด้วยหน่วยงานดังข้างต้น ได้นำเสนองาน Best Practice การทำนาแบบเปียกสลับแห้งขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะการทำแบบนี้มีผลการทดสอบว่าอาจสามารถช่วยให้การทำนานั้นใช้น้ำน้อยลง ลดต้นทุนการใช้ยา ปุ๋ย และน้ำมันสูบน้ำได้ อีกทั้ง ได้ผลผลิตในปริมาณและคุณภาพที่สูงกว่าการปลูกแบบปกติทั่วไปได้ด้วย

และจากการทำการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำที่ใช้ระหว่างปลูกข้าวแบบปกติกับแบบเปียกสลับแห้ง เราพบว่า การปลุกข้าวแบบเปียกสลับแห้งนั้นสามารถประหยัดน้ำได้ 28% และตั้งแต่ปี 2556-2558 ก็มีการขยายผลการศึกษาและทดลองในพื้นที่การเกษตรหลายที่ในไทย

เทคนิคการทํานาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว หรือ AWD (Alternative Wetting and Drying) เป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดน้ำในการทํานาที่หลายๆ ประเทศนําไปเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ และ Spiro Carbon ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ได้ปฏิบัติตามหลักการทำนาดังกล่าวด้วย

หน้าที่ของ Spiro Carbon

แต่ Spiro Carbon นั้น ไม่ได้ทำเพียงแค่แนะนำชาวนาให้ใช้การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แต่ยังส่งเสริมให้ชาวนาหารายได้เสริมด้สนการขายคาร์บอนเครดิตจากการทำนาด้วยวิธีนี้ด้วย โดยการใช้เทคโนโลยีจานดาวเทียมเฉพาะ ตรวจสอบพื้นที่ที่ได้ลงทะเบียนกับ Spiro Carbon จะเป็นการตรวจจับพืชผลที่มีแสงแตกต่างกันออกไป พร้อมแสดงข้อมูลพิสูจน์ว่า ที่น่าผืนนี้มีการทำนาแบบเปียกสลับแห้งจริงไหม และเราลดก๊าซมีเทนไปได้เท่าไหร่ อีกทั้งยังใช้พลังของ Blockchain เพื่อสร้างระบบแบบกระจายศูนย์ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส่และความน่าเชื่อถือ ประชาชนสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ทั้งหมด

ซึ่งผลตอบรับตอนนี้มีชาวนาหรือเกษตรที่ร่วมโครงการกับ Spiro Carbon แล้วทั้งสิ้น 10,000 ราย สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้ 60,000 ตันคาร์บอน และจ่ายรายได้ให้กับชาวนาไปแล้วทิ้งสิ้น 900,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๆ 31 ล้านบาท

หากผู้อ่านท่านใดสนใจอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมทั้งจาก Spiro Carbon เอง หรือศึกษากระบวนการทำนาแบบเปียกสลับแห้งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ >>>

Spiro Carbon

คู่มือชาวนา ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง

 ระบบผลิตเปียกสลับแห้ง แกล้งช้าวโดย ชาวนาวันหยุด

related