svasdssvasds

เลือกตั้ง 2566 เทียบนโยบายแต่ละพรรคเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งดีขึ้น

เลือกตั้ง 2566 นโยบายสาธารณสุข สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง จากพรรคการเมืองต่างๆ หากได้เป็นรัฐบาลจะยกระดับการดูแลผู้ป่วยอย่างไรให้เข้าถึงการรักษาและยาใหม่ๆ ได้ในราคาถูกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

       หนึ่งสิ่งที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย  คือ ระบบสาธารณสุข โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยมาหลายสิบปี ตามข้อมูลจาก WHO  แนวโน้มผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปี 2554 มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็ง   61,082 ราย   เฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน และในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 124,866 ราย การไม่เป็นโรค ถือเป็นลาภอันประเสริฐ แต่เราไม่สามารถคาดเดาได้ และเมื่อเจ็บป่วย ก็จะเกิดค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งไม่ใช่คนทุกคนจะเข้าถึงได้

       แม้ว่าในประเทศไทย ทุกคนจะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) เป็นสิทธิพื้นฐานในการรักษา
แต่ยาบางประเภท ไม่อยู่ในระบบ ทำให้เมื่อผู้ป่วยต้องใช้ ต้องออกเงินเอง ค่าใช้จ่ายก็สูง

       รวมไปถึงไทยยังขาดยาใหม่บางตัวที่จำเป็น ในการรักษาโรคมะเร็งด้วย ต่างจากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีงบประมาณเฉพาะด้านของสาธารณสุข ที่เขาให้ความสำคัญในการลงทุนในด้านทรัยากรมนุษย์อย่างเต็มที่ และเพราะเข้าถึงการรักษาได้ไม่เหมือนกัน จึงเกิดเป็นความเหลื่อมล้ำ ต่อความมั่นคงในคุณภาพชีวิตของคนไทย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

       อีกไม่กี่วันจะถึงการ เลือกตั้ง 2566  อยากชวนทุกคนมาฟังนโยบายด้านสาธารณสุข ว่าหากพรรคเหล่านี้มีโอกาสเป็นรัฐบาล พวกเขาจะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เข้าถึงการรักษาและยาใหม่ๆได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เราไปฟังคำตอบจาก  นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ผู้ช่วยหาเสียง พรรคเพื่อไทย, ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้า พรรคก้าวไกล, นพ.เธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พรรคประชาธิปัตย์ และ ดร.สุวดี พันธุ์พานิช พรรคไทยสร้างไทย 

       สุดท้ายจ๊ะโอ๋เชื่อว่า นโยบายแต่ละพรรคการเมือง ก็ล้วนอยากให้คนไทยมีสุขภาพดีทั้งนั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ ผู้ป่วยมะเร็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต้องมาจาก ได้รับการรักษาด้วยยาที่ดี  มีงบประมาณด้านสาธารณสุขที่เพียงพอ เพื่อดูแลสุขภาพคนไทยให้ดีขึ้น ซึ่งแต่ละพรรคจะทำได้จริงไหม เดี๋ยวเรามาดูกัน หลัง เลือกตั้ง 2566  14 พ.ค. นี้ค่ะ

related