svasdssvasds

มหากาพย์ "เรือดำน้ำจีน" ไทยเปลี่ยนไปซื้อ "เรือฟริเกต" คุ้มไหม?

จากกรณี เรือดำน้ำจีนมีปัญหา จนไทยมีแผนจะซื้อ "เรือฟริเกต" มาแทน ล่าสุด นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงเป็นการหารือทางออกเท่านั้น

มหากาพย์การซื้อเรือดำน้ำของกองทัพไทยเริ่มมาตั้งแต่ยุค คสช. ปี 2558 ซึ่งมีการอนุมัติการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน 3 ลำ ต่อมาในปี 2560 รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการอนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำ 3 ลำ มูลค่า 36,000 ล้านบาท และต้องส่งมอบเรือดำน้ำลำแรกให้กับไทยในปี 2566 ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากฝ่ายค้านในขณะนั้น เรื่องความคุ้มค่าการใช้งบประมาณของรัฐ

ในปี 2565 เริ่มมีกลิ่น เมื่อโฆษกกองทัพเรือ ออกมาแถลงว่า เยอรมันไม่สามารถขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้กับจีนได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่จีน ต้องไปแก้ไขให้กับเรา โดยทางการจีนเองก็มีการเสนอให้ใช้เครื่องของจีนแทนได้ไหม โดยจะมี 3 ประเทศ ที่เป็นหนูทดลองใช้เครื่องยนต์เครื่องนี้คือ จีน ไทยและ ปากีสถาน

หลังจากนั้นทางการไทยมีการแก้ปัญหาด้วยการไปเจรจากับ เยอรมันให้ยอมขายเครื่องยนต์ให้ แต่ไม่สำเร็จ หรือยกเลิกสัญญาคืนเงิน 7,000 ล้านให้ไทย หรือเปลี่ยนจาก เรือดำน้ำ เป็น เรือฟริเกต ซึ่งวิธีการนี้น่าจะเป็นทางออกที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุดตอนนี้

ในขณะเดียวกันเราได้เตรียมงบสำหรับโครงสร้างพื้นฐานไว้แล้วดังนี้

  1. ท่าจอดเรือดำน้ำ ระยะที่ 1 900ล้าน
  2. โรงซ่อมบำรุง 995 ล้าน
  3. ท่าจอดเรือดำน้ำระยะที่ 2 950 ล้าน
  4. คลังเก็บตอร์ปิโด 130 ล้าน
  5. อาคารทดสอบ คลังอาวุธนำวิถี 138 ล้าน

ในเมื่อจีนผิดสัญญา ทำไมเราไม่ยกเลิกสัญญา แล้วคืนเงิน ?

จากปัญหาการซื้อเรือดำน้ำที่เกิดขึ้น นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงว่า จีนไม่ได้ผิดสัญญา แต่ไม่เป็นไปตามข้อตกลง เป็นเรื่องของ G to G เชื่อว่าไทยไม่ได้เสียเปรียบ เพราะราคาที่ต้องจ่ายเพิ่ม เป็นราคากลางที่ทั่วเขารับรู้กันอยู่แล้ว

เรือฟริเกต คือ เรือรบคุณภาพสูง โดยสามารถทำการรบได้ 3 ระบบ คือ ต่อสู้ทางอากาศ ผิวน้ำ และ ใต้น้ำ ถือเป็นเรือรบที่มีศักยภาพสูงในการทำการรบ และมีความทันสมัยในระดับแนวหน้าของชาติในอาเซียน โดยประเทศไทยมีเรือรบฟริเกตอยู่ทั้งหมด 5 ลำ แบ่งออกเป็น 4 ลำเรานำมาจากจีน และอีก 1 ลำเราซื้อมาจากเกาหลีคือ “เรือภูมิพล“

ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนจากเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกตจริง เรือฟริเกตจะมีราคาที่สูงกว่าเรือดำน้ำอยู่ 1000 ล้านบาท นั้นหมายความว่าไทยต้องจ่ายเงินเพิ่มถ้าต้องการเรือ ฟริเกต แทนเรือดำน้ำที่จีนผิดสัญญา

เท่านั้นยังไม่พอหากการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจริง ปัญหาต่อมาที่กองทัพเรือต้องแก้ไขต่อ คือ เรือฟริเกตที่จะนำเข้ามาครั้งนี้ มีเทคโนโลยี ยุทโธปกรณ์ จรวด เรดาห์ กระสุนปืน ระบบสื่อสาร ถือเป็นอีกปัญหาที่สำคัญ เพราะไม่สามารถเข้ากับเรือฟริเกตที่เรามีอยู่แล้วทั้ง 5 ลำได้ ทำให้อาจต้องลงทุนเพิ่ม เพื่อทำให้เรือรบลำใหม่นี้สามารถเข้ากับเรือรบก่อนหน้าทั้ง 5 ลำได้

ร่วมถึงงบประมาณที่เตรียมทำท่าเทียบเรือดำน้ำ กับการส่งกำลังพลไปฝึกการใช้เรือดำน้ำ เรื่องนี้ใครรับผิดชอบ ?

การจ่ายเงินร่วมหมื่นล้านเพื่อเรือรบนี้ หากประเทศไทยไม่มีสงครามที่ต้องใช้เรือรบเลย โดยปกติแล้วกองทัพไทยก็จะมีการปลดประจำการเรือรบแต่ละลำเฉลี่ย 40- 50 ปี
แต่ประเทศอื่นเขาใช้ประมาณ 30 ปี

จริงๆแล้วกองทัพไทยมีการวางกำลังรบของประเทศไทยโดยต้องมีเรือฟริเกต 8 ลำ ปัจจุบันมี 5 ลำแล้ว เท่ากับว่ายังขาดอีก 3 ลำ รวมถึงยังต้องการเรือดำน้ำอีก 2 ลำ หากการจัดซื้อเรือดำน้ำที่ต้องเปลี่ยนไปเป็นเรือฟริเกตจริง ในอนาคตไทยเราก็ยังต้องมีการจัดซื้อเรือฟริเกตเพิ่มอีก 2 ลำ และเรือดำน้ำ 2 ลำ เพื่อให้สอดคล้องกับการวางกำลังรบของกองทัพเรืออยู่ดี

พวกเราในฐานะเจ้าของภาษีคิดว่าการตัดสินใจของกระทรวงกลาโหมครั้งนี้ คุ้มค่ากับงบประมาณของชาติ ที่ต้องสูญเสียไปหรือเปล่า ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related