svasdssvasds

จับจริงปรับหนัก 5พัน สายควันดำ

จับจริงปรับหนัก 5พัน สายควันดำ

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

ปัญหามลพิษเกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (พีเอ็ม 2.5) ที่เพิ่มสูงขึ้นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นอาการป่วยจากโรคภูมิแพ้หรืออาการป่วยทางเดินหายใจ “ฝุ่นพิษ” ที่ว่านี้เกิดขึ้นทั้งจากแหล่งธรรมชาติ เช่น เกลือทะเล และที่มนุษย์สร้างขึ้นจากไอเสียจากรถยนต์และรถบรรทุก ฉะนั้นเมืองใหญ่และเขตอุตสาหกรรมที่มีการจราจรหนาแน่น โรงงานและงานก่อสร้างมากมายจึงมีแนวโน้มที่จะมีอันตรายต่อมลพิษดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลได้สรุปสาเหตุการเกิดสถานการณ์ดังกล่าว พบว่าเกิดจาก 1.ปัญหาการจราจรการนำรถที่มีสภาพเครื่องยนต์ไม่พร้อมมาใช้งาน ก่อให้เกิดควันดำบนท้องถนน 2.การเผาในที่โล่งในภาคเกษตรกรรม 3.การปล่อยมลพิษทางอากาศของภาคอุตสาหกรรม และ 4.การก่อสร้างและผังเมืองที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

ด้วยเหตุนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผบ.ตร. พร้อม พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วยผบ.ตร. และ พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผบช.น. ประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหานี้ โดยมี กรมควบคุมมลพิษ กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางบก กรมโรงงานอุตสาหกรรม ขสมก. รวมทั้งข้าราชการตำรวจที่รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

จับจริงปรับหนัก 5พัน สายควันดำ

พล.ต.อ.สุวัฒน์ เผยผลสรุปการประชุมว่า การแก้ไขที่ต้องดำเนินการ คือ 1.เพิ่มมาตรการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่นำรถยนต์ที่มีลักษณะการปล่อยมลพิษควันดำมาใช้บนนท้องถนน 2.เพิ่มมาตรการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการที่ปล่อยมลพิษทางอาการ โดยเฉพาะการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน 3.ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบเผาพืชไร่เผาในที่โล่งในภาคเกษตรกรรมและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 4.เพิ่มมาตรการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่บิดเบือนสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จ เพื่อประสงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก 5.บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานราชการและภาคเอกชนในการสนับสนุน และ 6.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบแนวทางการป้องกันตนเองจากสถานการณ์ฝุ่นมลพิษพีเอ็ม  2.5 โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่นำรถยนต์ที่มีลักษณะการปล่อยมลพิษควันดำมาใช้บนท้องถนน โดยมอบหมายให้ บก.จร.เพิ่มความเข้มงวดกวดขันจับกุม โดยเพิ่มชุดตรวจจับควันดำจากเดิมมีจำนวน 14 ชุดปฏิบัติการเป็น 20 ชุด ประจำจุดตามแผนจำนวน 15 ชุด ส่วนอีก 5 ชุด เป็นการเคลื่อนจุดต่างๆ

ด้าน นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก บอกว่า ได้ยกระดับความเข้มข้นในการดำเนินการให้ทุกมาตรการต้องดำเนินการเร่งด่วน เข้มข้น จริงจังโดยเน้นการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการตรวจค่าควันดำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้ฝ่าฝืน โดยรถที่ตรวจพบควันดำจะเปรียบเทียบปรับทันที 5,000 บาท และพ่นห้ามใช้ สำหรับรายที่ไม่เกินแต่อยู่ในเกณฑ์สูง (30-45%) ซึ่งจะออกใบเตือนเพื่อให้ปรับปรุงสภาพรถไม่ให้เกิดควันดำ

จับจริงปรับหนัก 5พัน สายควันดำ

หากประชาชนพบรถบรรทุกควันดำที่ถูกพ่นสีห้ามขับ หรือรถยนต์เล็กที่ถูกปิดสติกเกอร์กรมควบคุมมลพิษ แต่ยังนำมาใช้บนท้องถนนก็สามารถแจ้งสายด่วน บก.จร.1197 ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้ทันที ซึ่งผู้ที่แกะหรือทำลายสติกเกอร์จะได้รับโทษทางอาญาด้วย เพราะเจ้าหน้าที่ได้นำข้อมูลไปบันทึกในระบบเรียบร้อยแล้ว และต้องไปแก้ไขภายใน 30 วัน ที่ศูนย์แก้ไขรถยนต์ควันดำ หรือศูนย์ปรับแต่งรถยนต์ต่างๆ ต่อไป

ทั้งนี้มีรายงานสถิติการจับกุมรถควันดำในปี 2560 มีจำนวน 188,718 คัน ปี 2561 มีจำนวน 133,733 คัน และระหว่างเดือนมกราคม-กันยายนที่ผ่านมา มีจำนวน 116,040 คัน งานนี้ถ้าไม่อยากสะอื้นโดนจับเสียค่าปรับ อย่าปล่อยให้รถตัวเองควันดำเป็นต้นตอของฝุ่นพิษ..!!

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-นายกฯ สั่งคมนาคมเข้มงวด “รถควันดำ” ต้องหยุดใช้งานจนกว่าจะปรับปรุงใหม่

-ชาวเน็ตวิจารณ์ คลิปสารวัตรหญิงตอบคำถาม “จับควันดำ”

-คมนาคม จัดหนัก!!! เดินหน้าลดค่าครองชีพ ปชช.

-ไฟเขียว! คมนาคมเล็งคลอด “ใบขับขี่บิ๊กไบค์”

 

 

 

 

 

related