svasdssvasds

เอกชน 5 ราย จ่อฟ้อง อคส. ปมถุงมือยางแสนล้าน ทำรัฐพลาดโอกาสนำเงินรายได้เข้าประเทศ

เอกชน 5 ราย จ่อฟ้อง อคส. ปมถุงมือยางแสนล้าน ทำรัฐพลาดโอกาสนำเงินรายได้เข้าประเทศ

เอกชน 5 รายจ่อฟ้อง อคส. กรณีปมถุงมือยางแสนล้าน ทำรัฐพลาดโอกาส นำเงินรายได้เข้าประเทศ ด้านอดีตรักษาการผู้อำนวยการคลังสินค้า แจ้งที่ประชุม ‘หากตรวจสอบพบตนทุจริต พร้อมเอาหัวเป็นเดิมพัน’ เพราะเป็นการซื้อเพื่อขายต่อและมีกำไรอย่างแน่นอน 100%

เอกชน 5 ราย จ่อฟ้อง อคส. ปมถุงมือยางแสนล้าน ทำรัฐพลาดโอกาสนำเงินรายได้เข้าประเทศ  

จากกรณีบริษัทเอกชน 7 ราย ที่มาทำสัญญาซื้อขายสินค้าล่วงหน้าถุงมือยางกับ อคส. จำนวน 826 ล้านกล่อง มูลค่า 186,100 ล้านบาท ได้เข้าชี้แจงข้อท็จจริงกับคณะกรรมาธิการพาณิชย์ และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียด โดยมี นายบัลลังก์ อรรณนพพร รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานคณะฯ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 63 ที่อาคารรัฐสภา เพื่อหาข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวให้สังคมได้ประจักษ์ต่อไป

 ดร.ไพโรจน์ ตั้งอาษาศิลป์ ซึ่งเป็นผู้บริหาร บริษัท เคเค ออยล์แอนด์แก๊ส จำกัด หนึ่งในคู่สัญญาถุงมือยางกับ อคส. กล่าวว่า “ประเทศไทยมีธุรกิจหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล คือ ธุรกิจ Medical Care เพราะสถานการณ์โควิด-19 นั้นมีผลกระทบทางธุรกิจทั้งเชิงบวกและเชิงลบไปทั่วโลก ทำให้เกิด  World Demand ในการใช้ถุงมือยางมากกว่า 15 เท่าตัว หากรัฐบาลเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนในภาคอุสาหกรรมในธุรกิจเหล่านี้ จะก่อให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออกให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดโลก

 

  แล้วทำไม อคส. จึงไม่เข้ามาเป็นหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีจุดแข็งตรงที่ความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าต่างประเทศ และมีความพร้อมทางการเงินรองรับการโอนเงินสด  TT หรือ L/C ในวงเงินสูงๆ หลายพันล้านต่อคำสั่งซื้อ แต่หากไม่มีหน่วยงานใดๆ ของรัฐ เข้ามาช่วยกำกับดูแลและผู้รับผิดชอบ ก็จะเกิดการฉ้อโกงอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

 แต่วันนี้ประเทศไทยมี Warehouse ว่างอยู่มากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศที่สามารถเข้าไปฟื้นฟูเพื่อสร้างเป็นโรงงานผลิตถุงมือยางได้ โดยจะใช้เวลาปรับปรุงแต่ละแห่งให้แล้วเสร็จได้ภายใน 6 เดือน บริษัทเอกชนต่างๆ พร้อมและอยากเข้ามาทำธุรกิจตรงนี้มีจำนวนมาก การสร้างซัพพลายเออร์ใหม่ๆ เพื่อขยายกำลังการผลิตในช่วงจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่ผิดตรงไหน โดยเฉพาะประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตถุงยาง Nitrile และ Latex ซึ่งในส่วนของ Latex นั้นจะทำราคาน้ำยางสดของเกษตรกรชาวสวนยางได้ประโยชน์เต็มๆ

 วันนี้ อคส. พวกท่านจะกลัวอะไรกับกรณีของ บริษัท การ์เดียน โกลฟส์ จำกัด ที่กำลังจะถูกดำเนินคดีฟ้องร้องเป็นคดีความ ผมอยากถามผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายว่า ความผิดเบ็ดเสร็จได้เกิดขึ้นจริงแล้วหรือยัง ซึ่งตอบเลยว่า ยังไม่เกิด เพราะการเป็นคดีความที่ทำให้ลูกค้าในต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นว่าจะได้รับสินค้าหรือไม่ โดยหลักการที่เรากำลังทำกันอยู่นี้ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ โดยไม่มีอะไรผิดเลย หากยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นคือ องค์การเภสัชร่วมลงทุนกับบริษัทผลิตยาฯ

 ผมมองว่าทางออกของปัญหาที่เกิดยังมีทางแก้ไข คือ ต้องเชิญ บริษัท การ์เดียน โกลฟส์ จำกัด ที่ได้เงินประกันสินค้าไป 2,000 ล้าน มาทำข้อตกลงกันใหม่ให้ถูกต้องกับ อคส. เพื่อหาทางออกร่วมกันให้สำเร็จลุล่วงเพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะเกิดความเสียหายต่อรัฐและบริษัทเอกชนที่มาซื้อถุงมือยาง ด้วยเจตนาบริสุทธิ์พร้อมปฎิบัติตามสัญญา หากไม่แล้วนั้นพวกเราซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็มีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้อง อคส. ด้วยเช่นกัน

 ด้าน พ.ต.อ.รุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ อดีตรักษาการผู้อำนวยการคลังสินค้า หรือ อคส. เปิดใจว่า “สาเหตุที่โครงการนี้ไม่ผ่านการพิจารณาของบอร์ด อคส. เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วน จึงได้ออกหนังสือเวียนเพื่อขอมติแทน และยังได้จัดทำร่างสัญญาซื้อขายอย่างถูกต้อง โดยยกร่างจากสัญญาซื้อข้าวสารที่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมกับแต่งตั้งคณะกรรมการวิเคระห์การลงทุน ตรวจรับสินค้า การจ่ายสินค้าให้กับผู้ซื้อ และจัดทำรายงานการรับจ่ายสินค้า เพื่อให้มีการบันทึกบัญชีซื้อขายอย่างถูกต้องด้วย ซึ่งมั่นใจว่ามีผู้ซื้อชัดเจนตรวจสอบได้ แต่ถ้าหากผมจะผิดก็ผิดตรงที่เพราะผมบกพร่อง แต่ไม่มีทุจริตแน่นอน ผมทำเพื่อให้องค์มีกำไรไม่ขาดทุนสะสนต่อเนื่องห้าปี ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เร่งขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นฮับถุงมือยางของโลกโดยใช้โมเดล “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” รุกตลาดถุงมือยาง ซึ่งเราเป็นผู้ผลิตน้ำยางข้นส่งออกเป็นลำดับหนึ่ง จึงไม่ควรปล่อยให้โอกาสนี้หลุดลอยไป ผมถือเป็นนโยบาย”

เอกชน 5 ราย จ่อฟ้อง อคส. ปมถุงมือยางแสนล้าน ทำรัฐพลาดโอกาสนำเงินรายได้เข้าประเทศ

ทั้งนี้ มีรายงานที่เป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับคำสั่งซื้อถุงมือยางจาก บริษัท ฟรอเซ่น วีลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริกา โดยมี มร.โรเบิร์ต เทรลล์ ตัวแทนผู้ประสานงานในประเทศไทย ได้โชว์เอกสารการสั่งซื้อถุงมือยางจาก บริษัท ศรีตรัง จำกัด (มหาชน) แต่สุดท้ายไม่สามารถซื้อได้ เพราะโรงงานไม่มีกำลังการผลิตที่เพียงพอ ทำให้ต้องรอคิวผลิตยาวไปจนถึงปี 2565 ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐเสียโอกาสในการหารายได้อย่างมหาศาล ทั้งที่เวลานี้ถุงมือยางกำลังเป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดทั่วโลกสูงมากๆ ดังนั้น รัฐบาลไม่ควรที่จะปล่อยโอกาสทองแบบนี้ให้หลุดมือไป และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้าง Warehouse และซัพพลายเออร์ใหม่ๆ เพื่อขยายกำลังการผลิตในช่วงจังหวะเวลานี้

related