svasdssvasds

​​​​​​​เวย์ใหม่ของการระดมสมอง Gen Z หาวิธี #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา

​​​​​​​เวย์ใหม่ของการระดมสมอง Gen Z หาวิธี #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา

#ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา แคมเปญใหม่ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ดีแทค ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพั้นช์อัพ สตูดิโอ เพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนถูกไซเบอร์บูลลี่มากขึ้น รุนแรงขึ้น

ทำความเข้าใจเบื้องต้น

"Gen Z ที่เข้าใจโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือ Gen Z อายุ 13-25 ปี เราต้องชวนเขาออกมาแก้ปัญหาที่เขาเผชิญ เนื่องจากเป็น Digital Native ซึ่งใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มที่ และได้รับการศึกษาที่ดีกว่ารุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่า ขณะเดียวกันก็มีความสนใจที่จะแก้ปัญหาสังคม" ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกริ่นถึงธรรมชาติของ Gen Z ก่อนเข้าเรื่องงานวิจัยการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และความร่วมมือล่าสุด นำโดย ดีแทค เพื่อยุติปัญหานี้ผ่านแพลตฟอร์ม Jam ideation ภายใต้แคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา

cyberbully_2 ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา_3 เพราะปัญหาใหญ่ตกอยู่ที่เยาวรุ่น จึงต้อง #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา

"การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ (Cyberbullying) ควรเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับความสนใจมากขึ้น แคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา จะเปิดรับความคิดเห็นข้อเสนอแนะทางออก เพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่ใน 3 ประเด็นที่วัยรุ่นไทยเผชิญอยู่มากที่สุด คือ การเหยียดรูปร่างหน้าตา (Body Shaming) การเหมารวมและอคติทางเพศ (Gender Inequality) และการกล่าวล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Harassment)" ผศ.ดร.ธานีระบุถึงปมปัญหาสังคมที่ลุกลามและขยายวงมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่เด็กและเยาวชนไปโรงเรียนไม่ได้เพราะวิกฤตโควิด 19

ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ผศ.ดร.ธานี Pain point 4 ข้อที่ส่งผลให้ไซเบอร์บูลลี่เป็นปัญหาหนักขึ้น

จากการเก็บข้อมูลและพูดคุยกับผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ผศ.ดร.ธานีเผยต้นทางของปัญหา 4 ข้อ ซึ่งสะท้อนความเข้าใจและมายด์เซ็ตของคนไทย ดังนี้

  • สังคมไทยมักมองว่า การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์เป็นเรื่องปกติ
  • มีทัศนคติต่อการแกล้งกันว่าเป็นเรื่องธรรมดา จึงไปแกล้งคนอื่นต่อ
  • การกลั่นแกล้งมีพลังมากขึ้นและขยายตัวตามโลกไซเบอร์
  • คนในสังคมยังมีความเข้าใจเรื่องไซเบอร์บูลลี่น้อย

ผศ.ดร.ธานีเล่าว่า เนื่องจากทางคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำวิจัยเรื่องไซเบอร์บูลลี่ร่วมกับดีแทคเมื่อ 2-3 ปีก่อน มาในปี 2564 พั้นช์อัพ สตูดิโอ (Punch Up) เข้ามาร่วมโฟกัสที่ไซเบอร์บูลลี่ เพื่อสร้าง Playbook ระดมโซลูชันสำหรับ Gen Z แบบเน้นๆ เนื้อๆ

"อะไรที่มากับรูปและวิดีโอจะถูกเหยียดได้ง่าย โดยเราพบว่า มีหลายประเด็นที่ Gen Z ไม่ได้ตั้งใจจะทำร้ายกัน แต่ที่น่าสนใจคือ การที่มีบุคคลที่สามเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเพราะเห็นว่า 'ยุ่งได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ต้องขัดแย้ง' ดังนั้น บุคคลที่สามจึงเป็นคนที่เข้าไปซ้ำเดิมและไม่ได้ช่วยอะไร

"ดังนั้น เมื่อเขาเป็นคนทำและถูกกระทำ เพราะฉะนั้น เขาต้องเป็นคนหยุด เราจึงควรมีองค์ความรู้บางส่วนจากความสนใจของ Gen Z เป็นหลัก ส่วนวิธีแก้ปัญหาก็ต้องพิจารณาด้วยว่า Gen Z คิดอะไร การสร้างภุมิคุ้มกันออนไลน์จึงต้องแก้ปัญหาที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ไซเบอร์บูลลี่"

อ่านบทความเกี่ยวกับไซเบอร์บูลลี่ในแง่มุมต่างๆ

3 ข้อสังเกตก่อนระดมความเห็น

"จากการสำรวจครั้งก่อน เด็กจำนวนหนึ่งเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ 60-70% ที่ตอบว่า เขาเคยถูกกระทำ เป็นคนกระทำหรือเคยเห็น ถ้าถามว่าเยอะไหม ใกล้เคียงกับหลายประเทศ แต่ถ้าเป็นร่างกายเกือบ 90% และหลังจากเรียนออนไลน์ ไซเบอร์บูลลี่เพิ่มขึ้นเยอะมาก" 

ในฐานะผู้ศึกษางานวิจัย ผศ.ดร.ธานีเผยถึงการวิจัยในขั้นตอนแรกเพื่อพัฒนาสู่แพลตฟอร์มระดมความคิดเห็น Jam ideation ว่าพบข้อสังเกตที่น่าสนใจ 3 ประการ ได้แก่

  1. การให้คำนิยาม (Definition) พบว่า อายุและประสบการณ์มีผลต่อความเข้าใจความหมายของปัญหากลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์
  2. การลำดับความสำคัญ (Prioritizing) พบว่า เหตุของการแกล้งกันบนออนไลน์เกิดจากในชีวิตจริงก่อน โดยผู้ถูกกลั่นแกล้งมักด้อยค่าตัวเองเพราะความแตกต่างจากผู้อื่น นอกจากนี้ ยังพบว่าบุคคลที่สาม (Bystander) รับบทเป็นนักสืบ นักแชร์ มีความสำคัญต่อวงจรการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ทั้งยังไม่ถูกเอาผิดโดยตรงจากสังคม
  3. การแก้ไข (Solving) พบว่า การจัดการความรู้สึกเมื่อถูกบูลลี่ทางออนไลน์ “ยากกว่า” การจัดการในชีวิตจริง และผู้ถูกกลั่นแกล้งมักเลือกแก้ไขหรือจัดการความรู้สึกด้วยตัวเอง ด้วยเหตุผลว่า การกลั่นแกล้งทางออนไลน์นั้นพบเจอได้ในชีวิตประจำวันและไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น

การปลูกฝังและสร้างความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมไปถึงการนิยามขอบเขตเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันของสังคม และจากข้อสังเกตข้างต้นนี้ จึงนำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนด 'กรอบการระดมความคิดเห็นบนแพลตฟอร์ม Jam Ideation' #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา

ดีแทค stop cyberbullying Jam Ideation จะช่วย #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา ได้ยังไง

ธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง พั้นช์อัพ สตูดิโอ กล่าวถึงแพลตฟอร์ม Jam ideation ว่า

"เป็น Collaborative technology ที่เข้ามาช่วยทำให้ 'การระดมความเห็นขนาดใหญ่' มีความเป็นไปได้และมีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน และแนวโน้มดังกล่าวได้รับความนิยมมากขึ้นในต่างประเทศ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีความกล้าคิด กล้าแสดงออก และเชื่อว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคม"

สำหรับพื้นที่ JAM Ideation เพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่ มีแผนงานอยู่ 3 สเต็ป

1. Domain setting หรือการทำวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลตั้งต้นจากเยาวชนและงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นกรอบการระดมความคิดเห็นผ่านแพลตฟอร์ม 

2. การระดมความเห็นบนแพลตฟอร์มซึ่งจะเปิดวันที่ 25 มิถุนายนนี้ 

3. การสรุปความคิดเห็น เพื่อพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติในการหยุดปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์

ธนิสรากล่าวเสริมในแง่เทคนิคหลังบ้านเพื่อ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา เช่น แพลตฟอร์มนี้สามารถเช็กได้ว่า 1) ข้อมูลหรือข้อเสนอที่ระบุลงไป มีคนเข้ามาอ่านแล้ว 2) มีระบบตรวจจับการเข้ามาเยี่ยมชมซ้ำๆ แบบ Anonymous Data และระบบป้องกันความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว  3) แพลตฟอร์มนี้ยังส่งเสริม Trust สร้างความมั่นใจในฐานะมนุษย์ได้ว่า คอมมูนิตีนี้จะนำไปความคิดเห็นหรือ Data ไปใช้ประโยชน์ในทางที่ถูกต้องด้านใดและอย่างไร 

ไซเบอร์บูลลี่

ไซเบอร์บูลลี่ ไม่ได้ช่วยให้สังคมหรือใครมีชีวิตที่ดีขึ้น

ผศ.ดร.ธานีขยายความว่า แต่ละคน แต่ละ Gen แต่ละพื้นเพ อาจถูกบูลลี่หรือไซเบอร์บูลลี่ต่างกันไป อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคต 

"เช่น คนที่เป็นเพศที่สามจะถูกบูลลี่แบบหนึ่ง ผู้หญิงก็จะเจอ Sexual Harassment สุดท้ายลงที่ซึมเศร้า ไม่พึงพอใจในตัวเอง ซึ่งอาจจะไม่ได้เห็นผลกระทบในวันนี้ แต่จะส่งผลต่อพฤติกรรมตอนโต"

dtac safe internet อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวถึงแนวคิดของการร่วมส่งเสริม #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเราว่า

“การระดมความคิดเห็นขนาดใหญ่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์หรือ Jam ideation เป็นกระบวนการระดมความคิดเห็นในระยะเวลาที่จำกัด ให้พื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมและเป็นกลางต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง วิธีการนี้จะต่างจากการระดมความเห็นในรูปแบบเดิมที่มีข้อจำกัดเชิงปริมาณและอคติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ซึ่งนี่ถือเป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาสังคม สะท้อนความต้องการและแก้ไขปัญหาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

เนื่องจากมีคนพูดถึงเรื่องไซเบอร์บูลลี่กันมาก แต่ในแง่ปลีกย่อย ไม่มีแนวทางปฏิบัติเพื่อยุติปัญหานี้อย่างชัดเจน ในฐานะโอเปอเรเตอร์ อรอุมากล่าวเพิ่มว่า ดีแทคอยาก Connect the dot เพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในภาพรวม โดยในท้ายที่สุด บริษัทมุ่งออก Playbook ที่มีเหตุมีผลและมีน้ำหนักส่งให้ภาครัฐ แล้วสร้างความเปลี่ยนแปลงทางใดทางหนึ่งให้เกิดขึ้นในสังคม

"มันไม่ใช่เรื่องที่สามารถแก้ที่คนคนเดียวได้ แต่คนที่เป็น Stakeholder ทำได้ เช่น ละครไทย ควรเลิกกลั่นแกล้ง สร้างบทพูดที่นำเสนอทัศนคติใหม่ๆ เช่น สวยคือต้องขาว หน้าอกใหญ่ เอวเล็ก ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้ให้สังคมว่า ผิดจากนี้ไม่สวย กลายเป็นความไม่ชอบธรรม แล้วนำมาบูลลี่"

อรอุมากล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลง ส่วน ผศ.ดร.ธานีให้เหตุผลปิดท้ายว่า 

"คนไม่รู้จักมาว่า มาเหยียด ผู้ถูกกระทำจะรู้สึกว่ารุนแรงเพราะไม่รู้ว่าทำไปทำไม และในอนาคตยังสืบค้นข้อมูลได้เรื่อยๆ เราจึงต้องหาพยายามหาวิธี Stop Bullyling ช่วยกันหยุดไซเบอร์บูลลี่ตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้มีการบันทึกไว้"

รู้จักแคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา มากขึ้น

เป็นแคมเปญที่เปิดพื้นที่ให้คน Gen Z มาร่วมระดมสมอง-ออกแบบ “ข้อปฏิบัติร่วมเพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่” ผ่านแพลตฟอร์มที่ได้รับการออกแบบในชื่อ JAM Ideation โดยเยาวชนสามารถเข้าไปแจม เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเข้มข้นต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ถึงวันที่ 28 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ได้ที่ www.safeinternetlab.com/brave

ข้อเสนอแนะทั้งหลายจากเยาวชนที่ร่วมแคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา จะเป็นแก่นตั้งต้นของการแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างจริงจังผ่านการพูดคุยในคอมมูนิตีบนโซเชียลมีเดียระหว่างคนทุกเพศวัย ระหว่างวันที่ 3 - 5 กรกฎาคม 2564 โดยดีแทคและคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ศึกษาวิจัยจะร่วมสรุปประเด็นและแนวทางเพื่อชงให้หน่วยงานภาครัฐนำไปกำหนดเป็นกฎหมายหรือแนวปฏิบัติในสังคม เช่นเดียวกับอังกฤษ​ สวีเดน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฯลฯ 

ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา_ออกไอเดีย_72ชม.

related