รู้แล้วรอด เดอะซีรีส์ (5) : แยกกักตัวในชุมชน เตรียมการยังไง ควรรู้อะไรบ้าง?
รู้แล้วรอด เดอะซีรีส์ (5) : แนะนำ "คู่มือการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน Community Isolation (ฉบับปฏิบัติการ) อีบุ๊กที่มัดรวมทุกขั้นของการจัดตั้ง ศูนย์กักตัวในชุมชน (CI) ซึ่งอธิบายไว้อย่างรอบด้านและเข้าใจง่าย
ความน่าสนใจของ คู่มือการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน Community Isolation (ฉบับปฏิบัติการ) มีทั้งการให้ความรู้ แนวปฏิบัติ ตั้งแต่การเตรียมคน เตรียมอาสาสมัคร เตรียมสถานที่กักตัว การดูแลผู้ป่วย การตรวจโควิดด้วย ATK การทำความสะอาดภาชนะ การจัดการขยะติดเชื้อ ฯลฯ เพื่อการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและบริหารจัดการได้อย่างครบลูป
SPRiNG นำบางประเด็นที่ผู้ป่วยโควิดหรือบุคคลทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจความสำคัญและหลักการเบื้องต้นเมื่อจะจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน ประโยชน์ รวมถึงข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโควิดมาให้อ่านกัน
- ทำความเข้าใจ "ผู้ป่วยสีเขียว" ที่เข้ารับการรักษาในศูนย์แยกกักตัวในชุมชนได้
- ประโยชน์ของศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
- งานด้านสาธารณสุขและการดูแลสุขอนามัยที่ต้องประสาน
- ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน ไม่ใช่ทุกคนที่จะไปอยู่ได้
- 6 ข้อต้องปฏิบัติ เมื่ออยู่ใน CI
- วางแผนจัดเก็บและกำจัดขยะติดเชื้อ
ผู้ป่วยสีเขียว คือ ผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด 19 แต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย ได้แก่
- มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- ระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96%
- ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
- ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่น
- ถ่ายเหลว
- ไม่มีอาการหายใจเร็ว ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย ไม่มีอาการหายใจลำบาก
- ไม่มีปอดอักเสบ
ประโยชน์ของศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
- เนื่องจากผู้ป่วยโควิด 19 ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย การแยกกักตัวในศูนย์ของชุมชนจะช่วยลดความติดขัดของระบบการดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีจำนวนมากทำให้ระบบบริการภายในชุมชนสามารถตอบสนองต่อผู้ที่มีความจำเป็นเฉพาะได้มากขึ้น
- ผู้ป่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อเพิ่ม รวมทั้งลดความเสี่ยงในการส่งต่อเชื้อไปสู่คนรอบข้าง
- ช่วยให้ผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อได้รับการดูแลรักษาที่เร็วขึ้น และในระยะยาวช่วยลดอัตราการติดเชื้อในชุมชนได้
- แยกผู้ป่วยที่ไม่สามารถแยกกักตัวอยู่ที่บ้านได้
งานด้านสาธารณสุขและการดูแลสุขอนามัยที่ต้องประสาน
การดำเนินงานของศูนย์แยกกักตัวในชุมชนจะเกิดขึ้นได้ นอกจากอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนแล้ว ยังต้องอาศัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลดังต่อไปนี้
หากไม่ได้เป็นทีมตั้งต้นในการจัดทำศูนย์ฯ อาจไม่รู้ว่ามีการแยกคุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ CI ได้และไม่ได้ดังนี้
คุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ CI ได้
- ช่วยเหลือตัวเองหรือทำกิจวัตรประจำวันได้
- เป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ได้รับการยืนยัน อาจมีหรือไม่มีอาการก็ได้ โดยต้องจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวและไม่ต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน*
- เป็นชาวต่างชาติที่สื่อสารกับอาสาสมัครได้ หรือชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาล
- ผู้ป่วยต้องยินยอมเข้ารับการรักษาในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
- ไม่มีปัญหาสุขภาพจิต
คุณสมบัติผู้ป่วยที่อาจไม่เหมาะกับศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
- ผู้มีอายุ 70 ปีขึ้นไป
- สตรีมีครรภ์
- เด็กเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และไม่มีผู้ดูแล ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
- กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง
[*ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดมากกว่า 96% โดยวัดจากเครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse Oximeter)]
มีอีกหลายเรื่องราวน่ารู้เพื่อดูแลและช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน
- รู้แล้วรอด เดอะซีรีส์ : มัดรวม 9 บริการรับ-ส่งผู้ป่วยโควิดฟรี ในพื้นที่ กทม.
-
"CovidSelfCheck” ตัวช่วยประเมินอาการคนกรุง ผ่าน LINE OA โดย นิสิต นศ.แพทย์
6 ข้อต้องปฏิบัติ เมื่ออยู่ในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน
1. มีการกำหนดตารางเวลาประจำวัน
2. ระมัดระวังการรวมกลุ่มพูดคุย
3. ไม่รวมกลุ่มกินอาหาร
4. งดเว้นพฤติกรรมที่ก่อความรำคาญแก่คนรอบข้าง เช่น ดูหนังฟังเพลงเสียงดัง ตะโกนพูดคุย
5. งดเว้นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการกระจายเชื้อ และสร้างความไม่เรียบร้อยให้กับศูนย์ เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน
6. ดูแลความสะอาดทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ได้แก่ การซักล้างเครื่องใช้ส่วนตัว การแยกขยะ การทิ้งขยะทั่วไปและขยะติดเชื้อ การใช้ห้องน้ำและพื้นที่ส่วนกลาง
วางแผนจัดเก็บและกำจัดขยะติดเชื้อ
- กำหนดเวลานัดหมายในการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ
- กำหนดเส้นทางการเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อที่แน่นอน
- ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขต หรือบริษัทเอกชนที่ทำหน้าที่เก็บขยะติดเชื้อไปกำจัด
- เพื่อกำหนดเวลาและจุดนัดหมายในการเข้าเก็บ
ยังมีคอนเทนต์อื่นๆ ในอีบุ๊กเล่มนี้ที่อาจมีประโยชน์ต่อคุณหรือคนรอบข้าง
- สังเกตอาการ
- วิธีรับมือในสถานการณ์ฉุกเฉิน
- การจัดการน้ำเสีย
- แนวทางการใช้ยา
- ฯลฯ
แนะนำทางไปดาวน์โหลดคู่มือ http://ssss.network/w15nq
นอกจากนี้ สสส. ยังร่วมกับ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต (CMU School of Lifelong Education) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดอบรมการ “จัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน” ผ่านระบบ e-Learning บนเว็บไซต์ www.lifelong.cmu.ac.th โดยเป็นหลักสูตรที่ใช้เวลาเรียนและปฏิบัติรวม 1 สัปดาห์ เมื่อเรียนจบหลักสูตรจะได้รับใบประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (e-certification)
ที่มา : คู่มือการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน Community Isolation (ฉบับปฏิบัติการ) | 2564