svasdssvasds

งานวิจัยชิ้นใหม่เผย ล็อบสเตอร์ หมึกและปู ก็เจ็บปวดเป็น

งานวิจัยชิ้นใหม่เผย ล็อบสเตอร์ หมึกและปู ก็เจ็บปวดเป็น

สหราชอาณาจักรกำลังทบทวนกฎหมายคุ้มครองสวัสดิภาพใหม่ หลังงานวิจัยชิ้นใหม่พบว่า หมึก ปูและล็อบสเตอร์ไม่ควรนำไปปรุงอาหารตอนพวกมันยังมีชีวิต เพราะเจ็บปวดเป็นเหมือนกัน

จะร้องไห้ ซีฟู้ดก็มีหัวใจ งานวิจัยชิ้นใหม่เผยว่า หมึก ปูและกุ้มล็อบสเตอร์สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้และมันจดจำทุกการกระทำของมนุษย์ที่ทำกับมัน งานวิจัยนี้ได้ส่งไปถึงรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรเพื่อให้ทบทวนเรื่องกฎหมายคุ้มครองพวกมัน ด้วยการเพิ่มรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ฉบับใหม่

ผลการศึกษานี้มาจากผู้เชี่ยวชาญของ London School of Economics โดยการศึกษาข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์กว่า 300 ชิ้นเพื่อประเมินและพิสูจน์ความรู้สึกของพวกมันว่าเป็นอย่างไร และได้ข้อสรุปว่า สัตว์ตระกูลหมึก (Cephalopods) เช่น หมึกสาย หมึกกล้วย หมึกกระดอง สัตว์ตระกูลกุ้ง (Decapoda) เช่น ปู ล็อบสเตอร์และกุ้งเครย์ฟิช (Crayfish) ควรได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับสัตว์จำพวกอื่นๆที่มีการคุ้มครอง

การปรุงซีฟู้ส่วนใหญ่ ถ้าเกิดไม่ตายระหว่างขนส่งก็ถูกปรุงสุกตอนยังมีชีวิต

สัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้รับการจัดประเภทแล้วว่าเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกในกฎหมายว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์ฉบับใหม่ที่กำลังอยู่ภายใต้การอภิปรายในสหราชอาณาจักร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ร่างพระราชบัญญัติด้านการรับรองสวัสดิภาพสัตว์เป็นเรื่องสำคัญที่จะได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางกฎหมายฉบับใหม่มากขึ้น ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าสัตว์ตระกูลกุ้งและสัตว์ตระกูลหมึกสามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วที่พวกมันควรได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายดังกล่าว”

รัฐมนตรีด้านสวัสดิภาพสัตว์ Lord Zac Goldsmith กล่าว

ทั้งนี้เพื่อการทบทวนที่สมบูรณ์ขึ้น ทาง LSE ยังเสนอเพิ่มเติมเรื่องการต่อต้านแนวทางการทารุณสัตว์ดังกล่าวที่รุนแรง ซึ่งปัจจุบันสัตว์จำนวนหนึ่ง ถูกลอกเปลือก หั่นเป็นรอย การก้านลูกตา การขายกุ้งที่ยังมีชีวิตผ่านการขนส่งหลายต่อโดยขาดความชำนาญ และวิธีการฆ่าอันน่าสยดสยอง เช่น การต้มสุกในขณะที่มันยังมีชีวิตอยู่ โดยไม่มีการน็อกน้ำก่อน

ต้องมารอลุ้นกันว่า กฎหมายตัวนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่

ร่างกฎหมายฉบับนี้ ยังไม่ถือเป็นกฎหมายฉบับสมบูรณ์เพื่อจัดตั้งคระกรรมการด้านความรู้สึกสัตว์ ที่จะออกรายงานเกี่ยวกับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าคำขอด้านสวัสดิภาพสัตว์นี้จะเอายังไงดี ซึ่งยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการด้านสวัสดิภาพสัตว์ของรัฐบาลในวงกว้าง รายงานดังกล่าวมีใจความสำคัญว่า กุ้งล็อบสเตอร์ หมึกและปู ควรถูกต้มทั้งเป็นหรือไม่ เราต้องร่วมกันหาแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการขนส่งและการการุณยฆาตกลุ่มสัตว์ดังกล่าว

ในปี 2019 ปูและกุ้งเป็นสัตว์ที่ชาวประมงจับขึ้นมาได้เป็นจำนวนมากตามตัวเลขของทางการสหราชอาณาจักรและมีการส่งออกและขายส่งร้านค้าจำนวนมาก และส่วนใหญ่การปรุงพวกมันของเหล่าพ่อครัวแม่ครัวคือการปรุงพวกมันขณะที่พวกมันยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเปรียบเสมือนการตายทั้งเป็น

ในประเทศไทยเอง กุ้งล็อบสเตอร์ ปูและหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ส่งออกไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย ในฐานะของอาหารทะเลหรือซีฟู้ด ไม่ว่าจะเหนือใต้ออกตกมันก็ไปอยู่ได้ทุกที่ ซึ่งสถิติการประมงในแต่ละปีเราจับสัตว์จำพวกดังกล่าวขึ้นมาเป็นจำนวนมากไม่ต่างจากสหราชอาณาจักร และผู้คนนิยมกินสัตว์น้ำที่หลากหลาย แต่การปรุงพวกมันก็หลากหลายเช่นกัน แต่ที่เป็นธุรกิจทำเงินได้ดีในช่วงหนึ่งคือการเปิดบ่อกุ้งสดๆที่พวกมันยังเดินไปมาก้นบ่อ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับประทานอาหารร้านค้าคือให้ลูกค้าของตนตักพวกมันคือมาเองและนำไปปรุงเองบนเตาไฟร้อนๆ หรือมีถังน้ำแข็งเล็กๆไว้ให้น็อกน้ำก่อนลงเตา แล้วคุณล่ะคิดเห็นอย่างไร

ที่มาข้อมูล

https://www.vice.com/en/article/pkpbwb/octopuses-to-have-their-feelings-protected-under-uk-law?fbclid=IwAR2Sv9bdi_8OS70CpDRzfRqNTcqllpIjB7YttgXtnr6J7CGAszhD7d9Zw0k

https://edition.cnn.com/2021/11/22/europe/uk-sentient-beings-crabs-octopus-and-lobsters-scn/index.html?fbclid=IwAR3WO1NRY8nQNeGtdBboGSRmVl5mS_IXNYfYtH0ritLdsblICPWilSfD_fo

related