svasdssvasds

ชวนรู้จัก คาปิบารา หนูยักษ์ผู้เป็นมิตรต่อทุกสรรพสิ่ง

ชวนรู้จัก คาปิบารา หนูยักษ์ผู้เป็นมิตรต่อทุกสรรพสิ่ง

คาปิบารา หนึ่งในสัตว์เป็นมิตรกับมนุษย์มากที่สุด แม้เป็นหนูตัวใหญ่ แต่หนูใจดีนะ Springnews ชวนรู้จักประวติของพวกมัน ถ้าจะเลี้ยงต้องเลี้ยงยังไง พร้อมเปิดราคาคาปิบารา

SHORT CUT

  • คาปิบาลา คืออะไร? หนูยักษ์ ลักษณะคล้ายหนูตะเภา หูสั้น ไร้หาง มีพังผืดที่เท้า ถือเป็นสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 
  • ลักษณะนิสัยเป็นมิตรกับคน และสัตว์ทุกชนิด มักอยู่เป็นฝูง ชอบแช่ และว่ายน้ำ
  • สามารถนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงได้โดยที่ราคาคาปิบาลาจะอยู่ที่ประมาณตัวละ 40,000 - 50,000 บาท

คาปิบารา หนึ่งในสัตว์เป็นมิตรกับมนุษย์มากที่สุด แม้เป็นหนูตัวใหญ่ แต่หนูใจดีนะ Springnews ชวนรู้จักประวติของพวกมัน ถ้าจะเลี้ยงต้องเลี้ยงยังไง พร้อมเปิดราคาคาปิบารา

คาปิบารา (Capybara) ได้ชื่อว่าเป็นหนูที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Hydrochoerus hydrochaeris เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเป็นสัตว์สังคม กินพืชผักผลไม้เป็นอาหาร มีอายุขัยประมาณ 6-12 ปี ความสูงช่วงไหล่เฉลี่ย 50 เซนติเมตร ความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจนถึงโคนหางเฉลี่ย 130 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 35-70 กิโลกรัม มีลักษณะรูปร่างที่เล็ก ลำตัวสั้น แต่มีน้ำหนักมาก 

สถานการณ์สูญพันธุ์ : เสี่ยงสูญพันธุ์ต่ำ

สถานะการสูญพันธุ์ คือยังไม่สูญพันธุ์ แต่ก็อย่าละเลยเชียว Cr. IUCN

หากคุณคิดว่า บีเวอร์เป็นสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติล่ะก็ เจ้าคาปิบารามีขนาดฟันใหญ่กว่า 2 เท่า นั่นจึงทำให้คาปิบาราเป็นสัตว์ฟันแทะที่ใหญ่ที่สุดในโลก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกึ่งบกกึ่งน้ำที่น่าประทับใจเหล่านี้ มักอาศัยอยู่ทั่วไปในอเมริกาเหนือและตอนกลางของอเมริกาใต้

เช่นเดียวกับบีเวอร์ คาปิบาราเป็นนักกีฬาว่ายน้ำที่แข็งแรง รูปร่างคล้ายหมูของพวกมันถูกดัดแปลงให้เข้ากับการใช้ชีวิตใกล้แหล่งน้ำ มักพบในป่า ทุ่งหญ้าสะวันนาที่มีน้ำท่วมตลอดฤดูกาล และพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือจะมองพวกมันเหมือนฮิปโปก็ได้ หน้าตาของพวกมันคล้ายกับหนูตะเภา หูสั้น ไม่มีหาง

นิ้วเท้าของพวกมันมีพังผืดบางส่วนไว้ใช้สำหรับพายไปรอบๆ และขนสีแดงน้ำตาลของพวกมันนั้นเส้นเล็กและหยาบ ทำให้เมื่อขึ้นจากน้ำพวกมันตัวแห้งได้อย่างรวดเร็ว เวลาว่ายน้ำพวกมันจะยกหัวให้พ้นน้ำ ส่วนตัวจะจมอยู่ใต้น้ำ ชวนรู้จัก คาปิบารา หนูยักษ์ผู้เป็นมิตรต่อทุกสรรพสิ่ง

การตื่นตัวนั้นสำคัญกับพวกมันมาก เพราะหนูยักษ์ชนิดนี้เป็นอาหารสุดโอชะของเสือจากัวร์ เสือพูมา และสัตว์ดุร้ายในน่านน้ำอย่างจระเข้ นอกจากนี้พวกมันเป็นขนมให้กับงูเหลือม จิ้งจอก และนักล่าแห่งนภา เช่น คาราการา และแร้งดำได้ด้วย ทั้งนี้ความกระฉับกระเฉงของมันขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของนักล่า พวกมันไม่มีเวลาการหาอาหารตายตัวว่าจะหากินตอนกลางวันหรือตอนกลางคืน มันจะออกหากินก็ต่อเมื่อนักล่าที่อาศัยอยู่แถวนั้นไม่ออกล่าแค่นั้นเอง

คาปิบารา กินอะไร ? ลักษณะนิสัย

แน่นอนว่าพวกมันเป็นสัตว์กินพืช ไม่กินเนื้อ และเติบโตขึ้นเรื่อยๆตามความอุดมสมบูรณ์ทางโภชนาการ แต่ก็มีพฤตกรรมการกินที่แปลกประหลาดของมันอีกอย่างคือ พวกมันมักกินอุจจาระของตัวเองในตอนเช้า หรือช่วงที่มูลของมันอุดมไปด้วยโปรตีนจากจุลินทรีย์จำนวนมากที่พวกมันได้ย่อยอาหารของวันไปก่อนหน้า เนื่องจากหญ้าที่พวกมันกินเข้าไปนั้นย่อยยาก การกินของเสียของพวกมันเองจึงทำให้พวกมันสามารถย่อยได้ 2 ครั้ง เอาให้ละเอียดไปเลย

กิน 2 รอบจะได้ย่อยง่ายๆไงนุด

การผสมพันธุ์และจำนวนประชากร

นิสัยของคาปิบาราไม่สนใจที่จะอยู่คนเดียว พวกมันมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มมากสุดประมาณ 40 ตัวได้ การผสมพันธุ์ของมันเกิดขึ้นได้ทุกฤดู ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคู่ครองพวกมันและที่อยู่อาศัยที่เหมาสม ตัวเมียสามารถมีลูกได้ครอกละ 4-5 ตัวต่อปี ระยะตั้งครรภ์ประมาณ 5 เดือน แต่มักจะเป็นเหยื่อชั้นดีของ หมาจิ้งจอกและแร้งได้ ดังนั้นแม่คาปิบาราจะต้องคอยดูแลลูกของพวกมันไม่ห่าง โดยเฉพาะตัวที่ยังว่ายน้ำไม่เป็น ต้องคอยหลบตามพุ่มไม้

พฤติกรรมของคาปิบารา

พวกมันชอบนอนแช่น้ำ เหมือนการแช่ออนเซ็น บางตัวชอบดำผุดๆโผล่ๆอยู่ในน้ำ แล้วแต่สภาพแวดล้อม ถ้าหากไม่มีนักล่าอยู่แถวนั้น เราจะได้เห็นพฤติกรรมที่หลากหลายของมัน อย่างที่บอกไปข้างต้นว่ามันเป็นสัตว์ที่ต้องมีไหวพริบดี หากมัวแต่ทำตัวสบายมันอาจจะตกเป็นเหยื่อได้ ดังนั้นพฤติกรรมหายากอย่างการแช่น้ำเล่นสบายใจจะไม่ค่อยได้เห็นตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบัน ถ้ามันมาอยู่ในฟาร์มเลี้ยงเพาะพันธุ์ล่ะก็ พวกมันจะเริ่มชินกับสภาพแวดล้อมที่ไม่มีภัยใกล้ตัว เราอาจจะได้เห็นมันในอิริยาบทต่างๆง่ายมากขึ้น และที่สำคัญพวกมันไม่มีพิษไม่มีภัยกับมนุษย์เลย เพราะมันสามารถเชื่อมสัมพันธ์กับสัตว์สายพันธุ์อื่นได้ด้วย เป็นสัตว์ที่ค่อนข้าง Friendly พอสมควรเลยแหละ

การจัดการภายในฝูงนั้น ตัวผู้จะเป็นผู้นำ และจะมีตัวผู้ที่อยู่นอกวงคอยเป็นยามเฝ้าเวรระวังภัยจากนักล่าให้กับตัวเมียและลูกๆ ส่วนใหญ่ตัวผู้สำรองที่เป็นยามนั้นมักจะเป็นเหยื่อให้แทนเสมอ ยามนักล่าเข้าจู่โจม ส่วนใหญ่ตัวสำรองเหล่านี้จะเป็นตัวที่เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์และถูกไล่ให้ไปเฝ้ายาม

ราคาซื้อขาย

ตามท้องตลาดที่ขายเพื่อไปเพาะพันธุ์หรือเลี้ยงเพื่อทำธุรกิจท่องเที่ยว ราคาตลาดของคาปิลาราตอนนี้ตกอยู่ตัวะ 40,000-50,000 บาท

เลี้ยงดูยังไง

เนื่องจากมันเป็นสัตว์ที่ชอบน้ำและขุดรูจากดินโคลน จึงต้องทำพื้นที่ให้มันกว้างๆ หากจะซื้อโปรดซื้อหลายๆตัว เพราะมันไม่ชอบอยู่ตัวเดียว พื้นที่ต้องเพียงพอ หากมีการขยายพันธุ์ก็ต้องเพียงพอต่อจำนวนประชากรของมัน และต้องร่มไม้ใหญ่ให้พวกมันได้หลบแดด พร้อมหนองน้ำให้พวกมันได้ว่ายน้ำได้ ความลึกประมาณ 2 ฟุต และดินควรเป็นดินเหนียว ไม่ใช้ดินทราย ห้ามจับขังกรงเด็ดขาด เพราะจะเกิดความเครียดได้ จะไม่ยอมกินอาหารและตายลงได้

อาหารของพวกมันเน้นผักผลไม้เป็นหลัก และต้องปลอดสารเคมีตกค้างและยาฆ่าแมลง ฉะนั้นอย่าลืมล้างผักผลไม้ก่อนให้มันรับประทานด้วย

อย่าลืมล้างผักผลไม้ให้มันก่อนกินล่ะ เพราะผักผลไม้ของเราอาจปนเปื้อนสารพิษได้ ค่าดูแลรักษาพวกมันก็ไม่ใช่ย่อยนะ คาปิบาราตัวโตเต็มวันกินจุได้ประมาณ 2-3.5 กิโลกรัมต่อวัน และจะทำให้มันขับถ่ายของเสียบ่อยมากและเกิดกลิ่นเหม็น จึงต้องทำความสะอาดให้พวกมันบ่อยๆ 

เมื่อตัวเมียพร้อมคลอดลูก พวกมันจะตีตัวออกห่างไปอยู่ตัวเดียว หลังคลอดพวกมันยังต้องดูแลลูกๆจนกว่าจะแข็งแรง ดังนั้นผู้เพาะเลี้ยงต้องแยกแม่ลูกออกจาตัวอื่นๆจนกว่าลูกคาปิบาราจะแข็งแรงพอเข้าร่วมฝูงได้ และเป็นการป้องกันการไล่ฆ่าลูกในตัวผู้ เพราะเคยเกิดขึ้นบ่อยในศูนย์เพาะพันธุ์ต่างประเทศ

และที่สำคัญ ควรควบคุมประชากรด้วยการทำหมัน และอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ 

 

 

ที่มาข้อมูล

https://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=392&c_id=

https://www.nationalgeographic.com/animals/mammals/facts/cabybara-facts

https://animalfoodd.com/capybara3.html

 

related