svasdssvasds

พบกระดูกสันหลังมนุษย์เสียบไม้อายุ 500 ปีในสุสานเปรู

พบกระดูกสันหลังมนุษย์เสียบไม้อายุ 500 ปีในสุสานเปรู

งานวิจัยใหม่เผยเรื่องราวความเป็นมาของกระดูกสันหลังมนุษย์เสียบไม้ ที่พบในหลุมฝังศพชื่อดังของเปรูเมื่อหลายร้อยปีก่อน ความจริงได้ถูกเฉลยแล้ววันนี้

อ๊ะ อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะกระดูกเสียบไม้เหล่านี้ไม่ได้น่าสยดสยองเหมือนที่หลายคนคิด แต่จะน่าเศร้ามากกว่า หากรู้ที่มาที่ไปของมัน

มาเริ่มกันที่การค้นพบกระดูกเสียบไม้เสียก่อนว่าเป็นอย่างไร

การค้นพบนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เพิ่งค้นพบคำตอบจากการวิเคราะห์และเรียบเรียงเรื่องราว โดยงานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Antiquity ซึ่งมุ่งเน้นไปที่กระดูกสันหลังของมนุษย์ที่พันเป็นเกลียวบนแท่งไม้ ที่พบหลายร้อยชิ้น อยู่ภายในสุสานที่รู้จักกันดีในเปรู อย่าง Chullpas ในหุบเขา Chincha ห่างจากลิมาไปทางใต้ประมาณ 120 ไมล์ บริเวณชายฝั่งแถบนั้น อดีตเคยเป็นอาณาจักรชินชา ซึ่งปกครองตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 900 ไปจนกระทั่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอินคาในปี 1480

Chincha Valley Cr.google maps

นักโบราณคดีได้สำรวจหลุมศพ 664 หลุมในพื้นที่ขนาด 15 ตารางไมล์ (40 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งประกอบด้วยสถานที่ฝังศพ 44 แห่ง พวกเขาบันทึกตัวอย่างแท่งไม้ที่มีกระดูกสันหลังจำนวน 192 ตัวอย่างไว้เพื่อตรวจสอบที่มา

ผู้ศึกษาหลักของเรื่องนี้คือ Jacob Bongers จากมหาวิทยาลัย East Anglia ในสหราชอาณาจักร เขาได้เข้าไปทำงานในภูมิภาคที่ค้นพบในฐานะนักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแองเจลิส Bongers ได้ทำการวิเคราะห์กระดูก 192 ชุด แต่ละชุดประกอบไปด้วยกระดูก 4-10 ชิ้นร้อยไว้อยู่บนแท่งไม้ บางไม้มีหัวกะโหลกศีรษะเสียบไว้ด้านบนด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Jacob กล่าวว่านี่เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตที่หลุมฝังศพของชนพื้นเมืองมักถูกทำร้ายโดยชาวสเปน และชาว Chincha อาจกลับมายังสุสานที่ถูกขโมยไปและเรียงกระดูกไขสันหลังเกลียวบนไม้เพื่อสร้างการฝังศพที่ถูกรบกวนขึ้นใหม่

จากการประเมินอายุของแต่ละคนโดยตรวจสอบการเติบโตของกระดูกและดูว่ากระดูกสันหลังส่วนล่างหลอมรวมเข้าด้วยกันได้พอดีหรือไม่ เขาพบว่ากระดูกส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ และประมาณ 1 ใน 6 เป็นเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

ชุดกระดูกพร้อมกระโลหกเสียบไม้ Cr.J.L. BONGERS กระดูกทั้งหมดถูกฝังมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1500 เป็นช่วงที่ชาวสเปนเข้ามาในภูมิภาคของเปรูเพื่อค้นหาอาณาจักรอินคาประมาณช่วงทศวรรษ 1530 แต่พวกมันถูกเสียบไม้ในระยะเวลา 40 ปีให้หลัง หรือบางกระดูกบางชิ้นก็อยู่ระหว่าง ค.ศ. 1450 และ 1650 - ช่วงเวลาที่อาณาจักร Inca กำลังพังทลายและอาณานิคมของยุโรปกำลังรวบรวมอำนาจ

ในความเป็นจริงกระดูกเสียบไม้แบบนี้เป็นที่แพร่หลายในชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นมานานแล้ว คนแถวนั้นถือว่ามันเป็นของโบราณวัตถุและก็ไม่รู้ที่มาแน่ชัดว่าทำไมจึงต้องเสียบไม้

สำหรับการศึกษาครั้งใหม่นี้ นักวิจัยได้ตรวจสอบเสาเกลียวกระดูก 79 เสาอย่างใกล้ชิด ซึ่งแต่ละเสาเป็นตัวแทนของกระดูกไขสันหลังที่สะสมมาจากผู้ใหญ่หรือจากเด็ก เสาส่วนใหญ่มีกระดูกของบุคคลคนเดียว แต่กระดูกสันหลังไม่ครบถ้วน โดยกระดูกส่วนใหญ่ถูกตัดการเชื่อมต่อและไม่เป็นระเบียบ จึงทำให้นักวิเคราะห์คาดเดาได้ว่า มีความตั้งใจที่จะทำให้กระดูกเหล่านี้มาเรียงต่อกันให้กลายเป็นบุคคลเดิม

ทิฟฟินี ตุง (Tiffiny Tung) นักชีวโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย กล่าวว่า สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่าการพิชิตสเปนได้ทำลายชีวิตผู้คนในภูมิภาคนี้มากเพียงใด

“งานนี้เตือนเราถึงความน่าสะพรึงกลัวของสิ่งที่ชุมชนพื้นเมืองประสบด้วยน้ำมือของผู้ล่าอาณานิคมในยุโรป มันสะท้อนถึงความพยายามของชาวพื้นเมืองในการรับมือ และต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกระเทือนจิตใจต่อวิถีชีวิตของพวกเขา”

เอาล่ะ หากยังงงอยู่ สรุปการค้นพบนี้ได้ว่า ในสมัยก่อนชาวอินคาและชาวChinchaนั้น เคร่งเรื่องพิธีกรรมการฝังศพมาก รวมไปถึงการบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ มีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับชาว Chinchorro ที่มีพัฒนาวิธีการทำมัมมี่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แต่เกิดการปล้นสะดมเพื่อค้นหาสมบัติของการล่าอาณานิคมจากชาวสเปนทำให้ศพและกระดูกจากหลุมฝังในสุสานนั้นกระจัดกระจายออกไปคนละทิศ เมื่อสงครามสงบลง ก็มีกลุ่มคนเข้าไปจัดระเบียบ (อาจจะเป็นผู้ที่เข้าไปฟื้นฟูพื้นที่หลังการล่าอาณานิคมหรือชนพื้นเมืองในเปรู) พวกเขาพยายามเรียงร้อยกระดูกที่กระจัดกระจายเหล่านั้น ให้กลับมาเป็นรูปเป็นร่างเหมือนเดิม ซึ่งก็ไม่ค่อยสำเร็จเท่าไหร่ ดูจากการเรียงแบบลองผิดลองถูกที่เห็นในภาพ แต่นั่นแสดงให้เห็นถึงความพยายามและความจงรักภักดีต่ออารยธรรม

ซึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงการเสริมทัพของเรื่องราวในอดีตที่การล่าอาณานิคมของสเปนนั้นโหดร้ายเพียงใด หากใครยังไม่ทราบเรื่องราวการล่มสลายของอาณาจักรอินคา โปรดอ่านต่อด้านล่างนี้

เกร็ดความรู้เรื่องการล่มสลายของอาณาจักรอินคา

ย้อนกลับไปในช่วงที่ยังมีทั้งชาวอินเดียนแดงอาศัยอยู่ในอเมริกา แต่ทางด้านอเมริกาใต้ มีผู้ที่เหนือกว่าอินเดียนแดงคือ อินคา อินคาได้สร้างอำนาจและอิทธิพลเหนือเผ่าอินเดียนแดงทั้งปวงและขยายอาณาเขตของตนจนสามารถครอบคลุมเปรูได้เกือบทั้งหมด

แต่ก่อนจะเป็นอินคานั้น ก่อนหน้านั้นมีอารยธรรมหนึ่งที่เรียกว่า Chincha ที่อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคกลางซึ่งเป็นช่วงก่อนความเอาณาจักร Chincha เคยมีประชากรประมาณ 30,000 คน และเติบโตขึ้นจากราวๆ คริสตศักราช 1000 ถึง 1400 ในที่สุดก็รวมเข้ากับอาณาจักร Inca จนถึงปลายศตวรรษที่ 15 แต่หลังจากที่ชาวยุโรปมาถึงและทำให้เกิดการกันดารอาหารและโรคระบาด ตัวเลข Chincha ก็ลดลงเหลือเพียง 979 เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอินคาในปี 1583 ตามการศึกษา เอกสารทางประวัติศาสตร์บันทึกเรื่องราวของชาวสเปนบ่อยครั้งที่ขโมยหลุมฝังศพ Chincha ทั่วหุบเขา ขโมยทองคำและสิ่งประดิษฐ์อันมีค่า และทำลายหรือทำลายซากศพ นั่นจึงสอดคล้องกับกระดูกเสียบไม้ที่เราค้นพบ

ชาวสเปนค้นพบอาณาจักรที่รุ่งเรืองนี้ได้อย่างไร

บางข้อมูลสันนิษฐานว่า เป็นคำบอกเล่าของอินเดียนแดงพื้นเมืองในปานามา อาจจะเนื่องด้วยความกลัวอาณานิคมที่ใหญ่กว่า ทันสมัย หรือไม่ก็โกรธแค้นอินคาที่มีอำนาจเหนือกว่า และจากคำบอกเล่าดังกล่าวทำให้สเปนทราบว่ามีอาณาจักรที่สมบูรณ์ไปด้วยทองคำและทรัพยากรอันมีค่าซุกซ่อนอยู่ในปานามา ฟรังซิสโก ปิซาโร (Francisco Pizarro) ชาวสเปนคนหนึ่งจึงได้แล่นเรือเลียบฝั่งตะวันตกของปานามาลงไปทางใต้เพื่อค้นหาอาณาจักรดังกล่าว พร้อมกำลังทหาร 240 นาย แต่เหลือรอดกลับมา 37 นายเท่านั้น เขาใช้เวลากว่า 3 ปีในการค้นหา ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเปรู

ในช่วงนั้นมีชาวอินคาอาศัยอยู่ประมาณ 20 ล้านคน แต่ไม่อาจสู้ชาวเสปนเพียงไม่กี่ร้อยนายได้ ส่วนหนึ่งมีการคาดการณ์ว่ามาจากการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนของอินเดียนแดงจนได้รับชัยชนะในที่สุด

สเปนใช้กลอุบายในการจับตัวหัวหน้าที่มีชื่อว่า อะตาฮวลปา (Atahualpa) เพื่อต่อรองกับชาวอินคา และด้วยความภักดีพวกเขาจึงยอมโดยแลกตัวหัวหน้ากับห้องที่เต็มไปด้วยทองสูงท่วมหัว ปิซาโรตกลง แต่เมื่อเขาได้ทองแล้วเขาไม่ยอมปล่อยตัวหัวหน้า แต่กลับฆ่าทิ้งเสีย จึงเกิดสงครามทันทีและแน่นอนว่าสเปนเป็นฝ่ายชนะ

การล่าอาณานิคมทำให้ได้รับรู้ข้อมูลที่น่าทึ่งมากมายของอารยธรรมที่ก้าวหน้าแบบที่สเปนไม่เคยพบมาก่อน เช่น ชาวอินคามีนักศิลป์ แพทย์และนักปราชญ์เป็นจำนวนมาก มีปฏิทินวัน เดือน ปี ที่ละเอียดและรัดกุมกว่าที่มีในยุโรป มีนักประดิษฐ์และสิ่งประดิษฐ์ที่น่าสนใจมากมาย มีการวางแผนจัดการชลประทาน การสร้างสุสานและการทำถนนหนทางที่ปูด้วยหิน

แต่ความรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์เหล่านี้ก็จบลง และถูกทิ้งร้างไว้อย่างเละเทะจากการมาเยือนของสเปน และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราค้นพบกระดูกเสียบไม้ที่ชาวเมืองที่เหลือและคนคนท้องถิ่นเปรูพยายามนำบรรพบุรุษกลับคืนมา จากการปล้นสุสานเพื่อหาสมบัติ

ที่มาข้อมูล

https://www.livescience.com/500-year-old-spines-on-posts-peru

https://www.nationalgeographic.com/history/article/mystery-behind-500-year-old-spines-on-sticks

https://www.baanjomyut.com/library/discovery_history/24.html

https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/history/10000-432.html

related