svasdssvasds

7 วิธีเลือกบริษัท ไม่ให้ การฝึกงาน เป็นเรื่องดราม่าของผู้ฝึกงานและบริษัท

7 วิธีเลือกบริษัท ไม่ให้ การฝึกงาน เป็นเรื่องดราม่าของผู้ฝึกงานและบริษัท

ช่วงเวลา การฝึกงาน เป็นประตูการทำงานจริงบานแรกที่ให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ ความสามารถจากห้องเรียน ในองค์กรหรือสายงานที่ตัวเองอยากเติบโตในอนาคต แต่ทำไมถึงมีนักศึกษากล้าเถียงกับผู้บริหาจนเป็นดราม่าบนโลก ทวิตเตอร์ วิธีเลือกบริษัทเพื่อขอรับเข้างานจึงเป็นด้านแรก

จากดราม่าร้อนบนโลกออนไลน์ จาก ทวิตเตอร์ หนึ่งที่เผยแพร่ข้อความของนักศึกษาฝึกงานที่โรงแรมแห่งหนึ่งตอบกลับผู้บริหารทางไลน์ด้วยข้อความที่เป็นประเด็กถกเถียงกัน อยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้เสียงแตกออกไปสองฝั่งทั้งฝั่งที่ตำหนิการใช้คำพูดของนักศึกษา และฝั่งที่เห็นใจที่นักศึกษาต้องทำงานล่วงเวลาในสายงานที่ไม่ตรงกับที่ขอเข้าฝึกงาน 


แล้วการฝึกงานจริงๆ มีเพื่ออะไร

การฝึกงานถือเป็นการให้นักศึกษาที่กำลังจะจบได้เรียนรู้และทดลองงานจริงกับบริษัทที่มีตำแหน่งที่เราสนใจ เพื่อวางเส้นอนาคตทางอาชีพการงาน เป็นการลงสนามจริงกับคนทำงานจริง เรียนรู้ความชอบ ความสนใจ และบรรยากาศการทำงานก่อนก้าวเข้าสู่การเป็นพนักงานเต็มตัว ถือเป็นก้าวสำคัญที่ต้องคิดและเลือกองค์กรเพื่อเข้าฝึกงาน

ซึ่งจะมีผลกับอนาคคตต่อไป การได้ทำงานในบริษัทที่มีการทำงานอย่างเป็นระบบและมีชื่อเสียงจะทำให้เราเองก็ได้เครดิตและเป็นช่วงเวลาที่คุ้มค่าที่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ก่อนเดินออกจากรั้วมหาลัย

 

  1. การศึกษาหาข้อมูล ในสายงานที่ตัวเองสนใจว่ามีบริษัทไหนบ้างในวงการนั้นๆ การเข้าไปฝึกงานในบริษัทชั้นนำจะช่วยทำให้ประวัติของเราน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
  2. การเตรียมเอกสารให้ครบ เพื่อแสดงความพร้อมให้แก่องค์กรเห็นและสร้างความประทับใจ ทั้งยังเพิ่มโอกาสในการเป็นตัวเลือกในการับเข้าฝึกงานในองค์กรนั้นๆ มากขึ้น
  3. สอบถามที่คณะ เพราะทางบริษัทเองก็มักจะทำการประชาสัมพันธ์หรือมีคอนเนคชั่นกับคณะที่เกี่ยวข้องกับสายงานนั้นอยู่ก่อนแล้ว ติดตามประกาศต่างๆ จากเว็บไซด์ของคณะหรือข่าวแจ้งข่าวสารอยู่เป็นประจำ
  4. สอบถามจากรุ่นพี่ บางครั้งทางคณะก็มักจะเชิญรุ่นพี่ที่จบไปแล้วมาแนะแนวให้แรงบันดาลใจหรือเตรียมความพร้อมให้กับน้องๆ ที่กำลังจบการศึกษาการสอบถามข้อมูลจากรุ่นพี่ทีมีประสบการณ์จะช่วยให้เราเตรียมความพร้อมไว้ก่อนลงสนาม
  5. เช็กเว็บไซด์ของบริษัท เมื่อรู้แล้วว่าอยากเข้าฝึกงานที่นี่ก็ควรศึกษาผลงานขององค์กรไปเบื้องต้น เพื่อเรียนรู้ทิศทางหรือแนวทางองค์กรก่อนส่งเอกสารสมัครให้ดึงดูดและตอบโจทย์ตำแหน่งที่องค์กรต้องการ
  6. ร่วมกิจกรรม Job Fair ของมหาวิทยาลัว เป็นเวทีกลางให้บริษัทและคนหางานมาเจอกัน คนที่อยากฝึกงานบริษัทต่างๆ สามารถรวบรวมเอกสารให้พร้อมแล้วมายื่นเพื่อให้คนของทางบริษัทรับถึงมือได้ในงาน
  7. อีเมลขอเข้าฝึกงาน ถ้าเรามีความตั้งใจจริงและอยากเรียนรู้งานในองค์กรนี้ แม้จะไม่เห็นประกาศของบริษัทแต่ก็สามารถยื่นส่งอีเมลนำเสนอประวัติและแสดงเจตจำนงค์ในการขอเข้าฝึกงานกับบริษัทนี้โดยตรง ก็อาจจะทำให้เห็นถึงความตั้งใจของเราได้เช่นกัน

ภาพการทำงานเป็นทีมในออฟฟิศ จาก freepik

ทั้งนี้ ก็พบปัญหา ของการฝึกงานที่สรุปย่อๆ ไว้ 5 ข้อ ดังนี้ 

  1. รับนักศึกษาฝึกงานมาเพื่อแทนพนักงานประจำที่ลาออก โดยไม่มีพี่เลี้ยงสอนงานให้
  2. ให้ทำงานล่วงเวลา โดยไม่มีค่าล่วงเวลาหรือค่าเดินทางให้
  3. ไม่จ่ายค่าฝึกงานให้เลย เพราะถือว่าขอเข้ามาฝึกเองเพื่อผลการประเมินจบการศึกษา
  4. ไม่มอบงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่ต้องการฝึก เช่น ให้ชงกาแฟ ซีร๊อกซ์ เดินเอกสาร 
  5. การคุกคามทางเพศนักศึกษาฝึกงานหญิงจากพนักงานชายในบริษัท 

เด็กๆ ที่เข้ามาขอฝึกงานพวกเขาก็ถือเป็นอนาคตของชาติที่จะเป็นแรงงานในเศรษฐกิจของประเทศต่อไป องค์กรที่รับนักศึกษาเข้าฝึกงานควรมีแผนงานคร่าวๆ กำหนดตำแหน่งและหน้าที่วางไว้ล่วงหน้า เพื่อให้นักศึกษาที่ตั้งใจมาฝึกงานกับองค์กรได้รับประสบการณ์ที่ดีที่จะนำไปต่อยอดเมื่อเป็นพนักงานต่อไป 

ที่มา 
1 2