svasdssvasds

รู้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ขอตรวจสารเสพติด เช็กยศ และ ขอบเขตอำนาจก่อนยินยอม

รู้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ขอตรวจสารเสพติด  เช็กยศ และ ขอบเขตอำนาจก่อนยินยอม

ยาบ้า ยาเสพติด นอกจากเป็นอันตรายกับร่างกายผู้เสพแล้วยังเป็นภับสังคม เพราะเราไม่สามารถมองผิวเผินแล้วรู้ได้ว่าใครบ้างเป็นผู้มีสารเสพติดในร่างกาย นอกจากตรวจพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ทุกคนสามารถขอตรวจได้

ยาบ้า กลับมาสร้างความสูญเสียให้กับสังคมอีกครั้ง จากข่าว คนขับรถทัวร์สองชั้น สายสระบุรีชนตอม่อสะพานต่างระดับ เป็นเหตุทำให้ มีผู้เสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บ  22 คน เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่าน พนักงานสอบสวนได้เปิดเผยว่า พบเสพสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนในร่างกาย ทำให้เห็นว่า ยาเสพติด ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่มีผู้บริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตไปอย่างน่าเศร้า เพราะความไม่รับผิดชอบต่อสังคมของคนขับคนเดียว 

แล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคนสามารถขอตรวจหา สารเสพติด ประชาชนได้หรือไม่ ขอบข่ายอำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้มีอะไรบ้าง 

  • ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 131 

ให้ พนักงานสอบสวน รวบรวมหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ต่างๆ 
อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพประกอบสารเสพติดจาก freepik

มาตรา 131/1 ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามมาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ 

 

ต้องทำการขีดเส้นใต้สีแดงใหญ่ๆ ไว้ที่คำว่า 'พนักงานสอบสวน' 
ตามกฎหมายระบุไว้ว่าเป็น “ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวน” ดังนั้นผู้ที่สามารถขอทำการตรวจฉี่คุณได้ต้อง เป็นตำรวจทีมียศ ร้อยตรีขึ้นไปเท่านั้น 

ถ้าเราเจอตำรวจที่มียศต่ำกว่าร้อยตำรวจตรี ขอตรวจฉี่ ให้รู้ไว้เลยว่าเจ้าหน้าที่คนนั้นไม่มีสิทธิหรือบังคับให้ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด เราได้ (ซึ่งถ้าไม่ยินยอมผลเสียจะเกิดกับผู้ที่จะถูกตรวจเอง)

  • พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

มาตรา 58/1 เขียนระบุถึงเกณฑ์ที่เจ้าหน้าที่สามารถใช้อำนาจเพื่อขอตรวจได้ตามเงื่อนไขนี้  ในกรณี จำเป็นและมีเหตุอันควร เชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจตรวจ หรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นมียาเสพติดให้โทษดังกล่าวอยู่ในร่างกายหรือไม่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตำแหน่งใด ระดับใด หรือชั้นยศใด จะมีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือจะต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลใดก่อนดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยทำเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายนั้น

แต่ก็มีข้อยกเว้น ในกรณีที่เจ้าหน้าตำรวจมียศต่ำกว่าร้อยตรี สามารถใช้อำนาจเพื่อขอตรวจได้ดังนี้ 

  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 184) พ.ศ. 2546

เรื่องกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษข้อ 1 กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามมาตรา 58/1 แห่ง พรบ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

  1. ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งในส่วนนี้ต้องดูเป็นกรณีไป
  2. ข้าราชการตำรวจ นอกจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษไว้แล้ว ซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป

ประกาศกรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2553
ให้อำนาจข้าราชการตำรวจตั้งแต่ร้อยตรีขึ้นไปที่จะสามารถขอตรวจบุคคลต้องสงสัย ซึ่งจะตรวจได้เฉพาะคนขับขี่เท่านั้น ไม่สามารถตรวจคนที่นั่งมาด้วยได้ เช่น ตั้งด่านขอตรวจคนขับรถบรรทุก สามารถขอตรวจเฉพาะคนขับรถ 

เช่น ในกรณีตั้งด่าน หัวหน้าสถานีต้องทำหนังสือมอบหมายตามแบบฟอร์มที่กำหนด 
เพื่อมอบอำนาจเฉพาะกิจเป็นครั้งคราวตามมาตรา 58/1 ดังกล่าว ซึ่งใน ขณะ ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่หน้าด่านต้องแสดงบัตรหรือประชาชนสามารถขอดูบัตรก่อนได้ 

แต่ในกรณี เจ้าหน้าที่ผู้ถือบัตรของ สํานักงานปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) อย่างถูกต้อง ทำการขอตรวจปัสสาวะ แต่เราไม่ยินยอมมีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน มีโทษจำคุก 6 เดือน โดยบัตร ปปส จะมีอายุ 2 ปี ซึ่งต้องได้รับรองความประพฤติจากผู้บังคับการ ก่อนยื่นทำการออกบัตรหรือต่อบัตรเมื่อหมดอายุ

โดยช่วงเวลาที่สามารถตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะของยาเสพติดแต่ละประเภทก็แตกต่างกันตามความถี่ของผู้เสพ 
เช่น ยาบ้า หรือ แอมเฟตามีน 

  • สำหรับผู้เสพไม่ประจำ สารเสพติดจะอยู่ในร่างกาย 1-2 วัน 
  • สารเสพติดจะอยู่ในร่างกาย ผู้เสพประจำ 2-6 วัน 
  • สารเสพติดจะอยู่ในร่างกาย ผู้เสพเรื้อรัง 2-3 สัปดาห์

ที่มา 
1 2