svasdssvasds

เรียนรู้มารยาทการใช้ ตะเกียบในร้านอาหารญี่ปุ่น ที่ถูกต้อง

เรียนรู้มารยาทการใช้ ตะเกียบในร้านอาหารญี่ปุ่น ที่ถูกต้อง

มารยาทการใช้ตะเกียบในวัฒนธรรมการกินในร้านอาหารญี่ปุ่นเป็นรูปแบบการกินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยแฝงคติความเชื่อและวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่โบราณสอดแทรกอยู่ในแต่ละรายละเอียด

จากคลิปใน TikTok ที่เป็นกระแสเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อมีสาวคนหนึ่งเข้าไปกินอาหารให้ร้านอาหารญี่ปุ่นอัดคลิปขอตะเกียบใหม่กับพนักงาน เพราะ หักตะเกียบผิดวิธี จนเป็นเหตุให้โดนทัวร์ลงชั่วข้ามคืน เพราะเหมือนเป็นการแกล้งเพิ่มภาระงานให้พนักงานโดยไม่มีเหตุจำเป็น

เมื่อไปถึงร้านอาหารญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารในโรงแรมหรูหรือห้างสรรพสินค้าก็ต้องใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร การเรียนรู้มารยาทและวิธีการใช้ที่ถูกต้องตามแบบต้นฉบับก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสนใจ เพื่อให้การกินได้อรรถรสและตามธรรมเนียมที่คนญี่ปุ่นเคร่งครัดสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปี 

ลักษณะที่เฉพาะต้อง ตะเกียบญี่ปุ่น จะมีความยาวที่สั้นกว่าชาติอื่นเพราะโดยวัฒนธรรมการกินจะไม่ค่อยมีการแชร์กับข้าวร่วมกัน กับคนบนโต๊ะอาหารมักกินเป็นเซตอาหารของตัวเอง

คลิปอธิบายความแตกต่างของความยาวตะเกียบกับการใช้คีบอาหารของ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 มารยาทในการ หักตะเกียบ

  1. หยิบตะเกียบเข้าหาตัวในแนวนอนขนานกับลำตัว
  2. จับที่ส่วนกลางของตะเกียบถ่างในแนวตั้งขึ้นข้างบนเพื่อดึงออกจากกัน
  3. ไม่ถือตะเกียบในแนวตั้ง แล้วถ่างถ่างออกทางซ้าย-ขวาจะถือเป็นลางไม่ดี เพราะเป็นเหมือนการทำฮาราคีรี (ผ่าท้อง)
  4. ไม่ถูตะเกียบเพื่อเขี่ยเศษไม้ที่ติดอยู่ เพราะเป็นการเสียมารยาท

วิธีการจับตะเกียบที่ถูกต้อง 

  1. ตะเกียบบนใช้ 3 นิ้วคือ โป้ง ชี้ กลาง เหมือนกับจับปากกา 
  2. ตะเกียบล่างสอดที่โคนนิ้วโป้ง วางพาดลงบนปลายนิ้วนาง
  3. คีบอาหารด้วยตะเกียบอันบน โดยอันล่างเป็นตัวประคอง

มารยาทในการใช้ตะเกียบของญี่ปุ่น 

  1. อย่าปักตะเกียบแนวตั้งลงบนข้าว เพราะถือว่าเป็นการบูชาข้าวให้ผู้ล่วงลับและเป็นการนำโชคร้ายเข้ามา
  2. อย่าจิ้มอาหารด้วยตะเกียบ เพราะเป็นเครื่องมือในการคีบอาหารที่ต้องใช้เป็นคู่
  3. อย่าวางตะเกียบพาดบนชาม เพราะเป็นสื่อกับพ่อครัวว่าอาหารจานนี้ไม่อร่อยถูกปาก
  4. อย่าคีบตะเกียบไปด้วยขณะสนทนา 
  5. อย่าส่ง-รับอาหารด้วยตะเกียบ เพราะตรงกับธรรมเนียมการส่งอัฐิไปยังที่เก็บอัฐิของญี่ปุ่น 
  6. อย่าเลียหรือดูดปลายตะเกียบ
  7. อย่าใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหารในชามกลาง 

ตะเกียบใช้แล้วทิ้ง (Wari bashi) นอกจากต้องกังวลเรื่องวิธีการ หักตะเกียบ จากร้านอาหารไม่ว่าจะสัญชาติไหนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพราะเมื่อใช้ตะเกียบเสร็จแล้วก็จะกลายเป็นขยะมากมายหลายล้านคู่ นอกจากนี้ตะเกียบไม้ไผ่สีขาวนวลที่เห็น ผ่านการเหลาและแช่สารฟอกขาวมาก่อนจึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ร้านอาหารเลิกใช้ตะเกียบแบบใช้แล้วทิ้งหันมาใช้ เพื่อเป็นการลดใช้ทรัพยาการไม้ ไม่ทำร้ายร่างกายและทำลายโลก

ที่มา
1 2 3