svasdssvasds

โรคใหลตาย สัญญาณอันตราย ที่คนตายไม่รู้ตัว

โรคใหลตาย สัญญาณอันตราย ที่คนตายไม่รู้ตัว

โรคใหลตาย คือ โรคทางกรรมพันธุ์ ที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เกิดจากมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งตอนที่ตายมีหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบชนิดรุนแรง เต้นอยู่ประมาณ 300 - 400 ครั้ง

โรคใหลตาย

ด้าน นพ.วีรพันธ์ วิวัฒน์วรพันธ์ อายุรศาสตร์โรคหัวใจ อนุสาขาสรีระไฟฟ้าหัวใจ ให้ข้อมูลว่า โรคใหลตาย มาด้วยอาการ คือ ตายเลย ในบางรายอาจจะมีอาการนำได้ คืออาจจะมีอาการหมดสติเป็นลมโดยเฉพาะนอน ๆ อยู่แล้วหมดสติไป อาจจะเห็นว่ามีอาการเกร็ง เฮือกขึ้นมาเหมือนหิวอากาศคล้าย ๆ กับกระตุกดูคล้ายกับลมชัก แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะนั่นเอง 

  • เมื่อไหร่ที่ต้องเข้ามาพบแพทย์

ถ้าเกิดมีญาติสายตรงเสียชีวิตเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุก่อนวัยอันควรในกลุ่มนี้แนะนำว่าควรจะต้องมาพบแพทย์ก่อน เพื่อทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในบางรายอาจพบความผิดปกติ ที่เป็นเงื่อนงำของโรคใหลตาย ได้เหมือนกัน ไม่ต้องตกใจในหลาย ๆ กรณี ถึงเราจะมีคลื่นหัวใจที่เหมือนกับโรคใหลตาย เรายังไม่ตายก็ได้ การเสียชีวิตความเสี่ยงจะอยู่ที่ประมาณ 1% ต่อปีในบางรายอาจต้องมีการผ่าตัดใส่เครื่องหัวใจกระตุกอัตโนมัติ เรียกว่าเครื่อง AICD (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator) เพื่อป้องกันการเสียชีวิต

  • โรคใหลตาย การเสียชีวิตที่ไม่ทราบสาเหตุ

ถ้าแบ่งเป็นกลุ่มอายุในกลุ่มอายุพี่เกินประมาณ 30 ถึง 40 ปีขึ้นไปมักจะเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่กรณีที่อายุน้อยกว่า 35 ปี ก็อาจจะเป็นในกลุ่มที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะแต่กำเนิด

  • การป้องกันโรคใหลตาย

ในปัจจุบันมันเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ป้องกันได้ ป้องกันลูกไม่ให้เป็นได้ ถ้าเกิดลูกคนนั้นยังไม่เกิด ปัจจุบันจะมีวิธีการคัดเลือกยีนหรือคัดเลือกตัวอ่อน ของเด็กที่จะเกิดขึ้นมา ว่าโอกาสที่ลูกจะเกิดขึ้นมาจะเป็นโรค แบบคุณพ่อคุณแม่หรือไม่ สามารถทำได้

การดูแลตนเอง สำหรับกลุ่มที่ไม่แสดงอาการ ในกลุ่มที่ยังไม่มีอาการ แนะนำ ให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น แอลกอฮอล์ หรือแม้กระทั่งการต้องระวังเรื่องของ การมีไข้สูง เพราะว่าไข้สูงบวกกับมีคลื่นหัวใจผิดปกติ แบบโรคใหลตายจะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

related