svasdssvasds

น้ำแข็งในขั้วโลกใต้หดตัวต่ำสุดเท่าที่เคยบันทึกมา เพราะภาวะโลกร้อน

น้ำแข็งในขั้วโลกใต้หดตัวต่ำสุดเท่าที่เคยบันทึกมา เพราะภาวะโลกร้อน

การศึกษาใหม่ชี้ น้ำแข็งขั้วโลกใต้อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์และหดตัวลงเหลือเพียง 772,000 ตารางไมล์ หรือประมาณ 2 ล้านกิโลเมตร ซึ่งต่ำสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา

ทวีปแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้ แต่เดิมถือว่าเป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ซึ่งใหญ่กว่าออสเตรเลียถึง 2 เท่า และเต็มไปด้วยน้ำแข็งหนาและความหนาวเย็นแบบติดลบ ถือเป็นดินแดนที่หนาวที่สุดบนโลกใบนี้ และมีความสำคัญอย่างมากในการรักษาสมดุลของโลก ทั้งในด้านของอุณหภูมิและการคงที่ของระดับน้ำทะเล แต่มาวันนี้ขั้วโลกใต้ได้เปลี่ยนไป ตั้งแต่มนุษย์ได้เริ่มบันทึกการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ขั้วโลกมา ในปี 2022 นี้ ขั้วโลกใต้ได้หดตัวมีขนาดเล็กลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายอันเกี่ยวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change นั่นเอง

เกิดอะไรขึ้น?

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะรายงานจาก Nasa และศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ (NSIDC) ได้รายงานการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งในขั้วโลกใต้ เนื่องจากการบันทึกประจำปีและภาพจากดาวเทียมเผยว่า น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา

ข้อมูลที่จะนำมารายงานวันนี้มาจาก 2แหล่งหลักด้วยกัน คือ จาก Nasa (Earth observatory) และ ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ(NSIDC)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก NASA

จากการเปรียบเทียบวันนี้กับวันที่ 3 มีนาคม 2017 พบน้ำแข็งในทะเลหายไปประมาณ 2 เท่าของขนาดพื้นที่แคลิฟอร์เนีย

เส้นสีเหลือคือขนาดเดิมจากปี 2010 แต่ปี 2022 ลดลงเหลือพื้นที่ดังรูป Cr.earthobservatory.nasa.gov การบันทึกพื้นที่ของแอนตาร์กติกเริ่มขึ้นในปี 1979 แผนที่ด้านบนแสดงขอบเขตน้ำแข็งในวันที่ทำสถิติต่ำ ขอบเขตถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ทั้งหมดที่ความเข้มข้นของน้ำแข็งอย่างน้อย 15% โครงร่างสีเหลืองแสดงขอบเขตน้ำแข็งทะเล มัธยฐานของเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1981-2010 ค่ามัธยฐานคือค่ากลาง กล่าวคือ ครึ่งหนึ่งของขอบเขตมีขนาดใหญ่กว่าเส้นสีเหลืองและครึ่งหนึ่งมีขนาดเล็กกว่า

ฤดูหลอมละลายในปี 2021-2022 เริ่มเร็วกว่าปกติ หลังจากที่น้ำแข็งถึงระดับสูงสุดตามฤดูกาลในวันที่ 1 กันยายน 2021 และลดลงอย่างรวดเร็วตลอดฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนในออสเตรเลีย

ในแต่ละปี น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกสามารถเปลี่ยนแปลงได้สูง ตังแต่ปี 2013 จนถึงระดับสูงสุดและต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก การเติบโตของน้ำแข็งในทะเลปี 2014 และ 2015 ได้เพิ่มแนวโน้มขาขึ้นเล็กน้อยในสถิติระยะยาว แต่ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โดยทั่วไปน้ำแข็งในทะเลจะคงที่หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งรวมถึงระดับต่ำสุดที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ในปี 2017 และ 2022 แนวโน้มระยะยาวในขณะนี้ดูเหมือนจะไม่คงที่และเนื่องจากความแปรปรวนนั้นจึงไม่ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ(NSIDC) เผยเหตผลว่าสาเหตุมาจากอะไร?

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ระดับน้ำแข็งในทะเล Bellingshausen Sea, Amundsen Sea และ Weddell Sea ได้แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ 30% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1981-2010 และพวกเขาก็ได้ประกาศผ่านรายงานอย่างเป้นทางการเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา

จากข้อมูลของ Walt Meier นักวิจัยน้ำแข็งในทะเลที่ National Snow and Ice Data Center ลมเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สภาพน้ำแข็งต่ำในปีนี้ เขาอธิบายว่า ลมรอบๆทวีปนั้น “แรงกว่าปกติมาก” ซึ่งผลักน้ำแข็งไปทางเหนืออย่างรวดเร็วในน้ำอุ่นที่ละลาย มีข้อยกเว้นยู่ในทะเลเวดเดลล์ (Weddell Sea) ซึ่งลมพัดขอบน้ำแข็งไปทางใต้ แผนภูมิแสดงเส้นที่บันทึกขนาดของน้ำแข็งในแอนตาร์กติก โดยเริ่มบันทึกตั้งแต่ 1978-2022 Cr.earthobservatory.nasa.gov

แม้ว่าอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นอาจเป็นปัจจัยหนึ่ง แต่น้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกมีความแปรปรวนอย่างมาก การหดตัวมีแนวโน้มว่าจะเป็นไปตามธรรมชาติ และส่วนหนึ่งเนื่องมาจากลมแรงพัดพาน้ำแข็งในทะเลไปไกลถึงทางเหนือสู่น่านน้ำที่อุ่นขึ้น

น้ำแข็งทะเลเป็นน้ำทะเลแช่แข็งที่ลอยอยู่บนผิวมหาสมุทร ตามที่ NSIDC ไม่เหมือนกับภูเขาน้ำแข็งและการก่อตัวของน้ำแข็งอื่นๆ ที่แตกออกจากพื้นดิน น้ำแข็งในทะเลก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรและมักถูกปกคลุมด้วยหิมะ ข้อมูลใหม่นี้จับขอบเขตน้ำแข็งทะเลต่ำสุดในช่วงปลายฤดูร้อนประจำปี ซึ่งทำการวัดพื้นที่ของมหาสมุทรที่มีน้ำแข็งในทะเลเมื่อความครอบคลุมอยู่ที่ระดับต่ำสุดสำหรับปีนั้นหลังจากที่น้ำแข็งละลายในฤดูร้อนของซีกโลกใต้

น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกสำคัญอย่างไร?

แอนตาร์กติกาล้อมรอบด้วยน้ำ กระแสลมและมหาสมุทรแยกทวีปออกจากรูปแบบสภาพอากาศที่อื่นๆ บนโลก ตาม NSIDC ในทางกลับกัน อาร์กติกล้อมรอบด้วยแผ่นดินและเชื่อมต่อกับระบบภูมิอากาศอื่นๆ ได้ดีกว่า ดังนั้น ขอบเขตของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจึงมีความสำคัญมากกว่าในการถอดรหัสแนวโน้มสภาพภูมิอากาศโลกและเน้นย้ำถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ไม่ว่าจะขั้วโลกใต้หรือขั้วโลกเหนือก็ตามนั้น มีความสำคัญต่อระดับน้ำทะเลทั่วโลก ตามที่ Springnews เคยรายงานไปเรื่องของระดับน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก อันเนื่องมาจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายนั้น ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าเมืองใหญ่หลายเมืองที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเมืองบาดาลหรือเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่จนทั้งเมืองจมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เด่นชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

ถ้าอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น กรุงเทพฯคือหนึ่งในเมืองที่ถูกคาดการณ์ว่าจะจมน้ำ Cr.Climate Central ปัจจัยของการเกิดภัยพิบัติดังกล่าวมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก ในการสร้างกระแสลมร้อนและไปพัดละลายน้ำแข็งในขั้วโลกให้ละลาย หรือเรียกง่ายๆว่า เกิดขึ้นเพราะภาวะโลกร้อน อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อทุกสรรพสิ่ง มันก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะช่วยกันเปลี่ยนโลกให้นาอยู่มากขึ้นด้วยมือของเรา ร่วมกันใส่ใจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและช่วยกันประหยัดพลังงานกันนะ

ที่มาข้อมูล

https://earthobservatory.nasa.gov/images/149627/antarctic-sea-ice-reaches-record-low

https://nsidc.org/arcticseaicenews/2022/03/arctic-sea-ice-approaches-maximum-record-low-minimum-in-the-south/

https://www.freebirdtour.com/17000657/

https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-10730947/Antarctic-sea-ice-record-LOW-study-warns.html

https://www.livescience.com/antarctic-sea-ice-at-record-low

related