svasdssvasds

Top 5 ข่าวปลอมโควิด-19 ที่มีคนแชร์มากที่สุด พร้อมวิธีเช็กก่อนส่งต่อ

Top 5 ข่าวปลอมโควิด-19 ที่มีคนแชร์มากที่สุด พร้อมวิธีเช็กก่อนส่งต่อ

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีการส่งต่อข้อมูลกับมากมายซึ่งในบรรดาข่าวต่างๆ ก็มีข่าวปลอมด้วย ทำให้บางครั้งไม่มีการตรวจสอบให้ดีเลยมีการส่งต่อข้อมูลออกไป และในช่วงที่ผ่านมาข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิดเรื่องไหนที่มีคนแชร์มากที่สุด และมีวิธีเช็กข่าวปลอมอย่างไร?

Top 5 ข่าวปลอมโควิด-19 ที่มีคนแชร์มากที่สุด พร้อมวิธีเช็กก่อนส่งต่อ

เรามีข้อมูลจากนายสันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มาฝาก

ข่าวปลอม (Fake News) คืออะไร?

คือข่าวสารทั้งมีและไม่มีเจตนาในการปล่อยออกมาแต่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดซึ่งข่าวปลอมพบกันมานานแล้ว เช่น ความเชื่อบางอย่างที่ไม่ตรงกับข้อมูลจริง หรือแม้กระทั่งเกิดจากความหวังดีต้องการแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพที่อาจจะไม่ถูกต้อง เช่น แนะนำยาสำหรับรักษาโรค ไปจนถึงเจตนาสร้างผลประโยชน์ เช่น เว็บไวต์ปล่อยข่าว พาดหัวข่าวที่ทำให้คนสนใจคลิกเข้ามาอ่าน แล้วเกิดเป็นรายได้ขึ้น แต่ที่น่ากลัวคือการโจรกรรมข้อมูลโดยการลวงให้คนกดคลิกเข้าไปลงทะเบียนเว็บไซต์ 

ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้กล่าวถึงรูปแบบของข่าวปลอมว่ามี 3 กลุ่มหลัก คือ

-การบิดเบื้อนข้อมูลเล็กน้อย(Misinformation)

-การใส่ข้อมูลปลอมจำนวนมาก(Disinformation)

-ข้อมูลที่มีเจตนาทำร้ายหรือทำให้เกิดเหตุการณ์เชิงลบ(Malinformation)

Top 5 ข่าวปลอมโควิด-19 ที่มีคนแชร์มากที่สุด พร้อมวิธีเช็กก่อนส่งต่อ

Top 5 ข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิด-19 ที่มีคนแชร์มากที่สุดช่วงวันที่ 1 มกราคม - 25 เมษายน 2565

1. กทม.อัพเดต 36 สถานที่เสี่ยงโควิด 

2. การป้องกันโควิดด้วยผ้าอนามัยประกบกับหน้ากากอนามัย 

3. สเปรย์ลำไยพ่นลำคอ จมูกป้องกันโควิด โดยจุฬาเภสัช 

4. กินฟ้าทะลายโจร 3 แคปซูลก่อนออกจากบ้าน ป้องกันโควิดได้ 12 ชั่วโมง

5. คลิปเสียงหมอศิริราชแนะกินยาเขียวรักษาโควิด

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

วิธีสังเกตข่าวปลอม

ข่าวปลอม มักมีการเขียน ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพมีการกระตุ้นความรู้สึกให้เกิดความเชื่อ เมื่อรับรู้ข้อมูลมาแล้วอย่าเพิ่งส่งต่อ ให้คิดไว้ก่อนว่าเป็นข่าวปลอม แล้วสังเกตสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่

- ที่มาของข้อมูล 

- ลักษณะเนื้อหา ที่มีเหตุผล ซึ่งข่าวปลอมกว่า 90% จะมีข้อมูลกับรูปภาพไม่สอดคล้องกัน 

- ชื่อของ URL ที่ไม่ใช่สำนักข่าว 

- หมั่นสังเกตการใช้ภาพเก่ามารีไซเคิล ซึ่งเราต้องใช้ระบบเสิร์ชเอนจิน (search engine) เพื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ 

- เปรียบเทียบแหล่งข่าวอื่น

หากคิดว่าชัวร์และเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จึงค่อยส่งต่อ เราจึงควรระมัดระวังในการส่งต่อข้อมูล ยิ่งในปัจจุบันข่าวปลอมไปไกลมากขึ้น ไม่ใช่แค่ข้อความ แต่ยังมีการปลอมเสียง ปลอมใบหน้าตัดต่อเป็นรูปแบบ Deep Fake AI ที่แนบเนียนมากขึ้น

Cr. เจาะลึกระบบสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข / ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม / กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ / สมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ