svasdssvasds

เปิดแผนรับมือโควิด เมื่อเปิดเทอม มีผู้ป่วยโควิด-เสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร?

เปิดแผนรับมือโควิด เมื่อเปิดเทอม มีผู้ป่วยโควิด-เสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร?

เปิดแผนรับมือโควิด 2565 เมื่อโรงเรียนเปิดเทอม On-Site ภาคเรียนที่ 1/2565 ในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ หากมีผู้ป่วยติดโควิด-สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไรเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักเรียนและผู้ปกครอง?

เมื่อการเปิดเทอมแบบ On-Site ภาคเรียนที่ 1/2565 แบบพร้อมกันและใช้กับสถานศึกษาทั่วประเทศกำลังจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (17 พ.ค. 65) หากมีผู้ป่วยติดโควิด-สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำสถานศึกษาปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ กรณีพบผู้ติดเชื้อหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน สำหรับโรงเรียนประจำ เน้นมาตรการ Sandbox Safety Zone in School (SSS)

เปิดแผนรับมือโควิด เมื่อเปิดเทอม มีผู้ป่วยโควิด-เสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร?

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เปิดแผนรับมือโควิด เมื่อเปิดเทอม มีผู้ป่วยโควิด-เสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร?

กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เปิดเรียน On-site ปกติ ปฏิบัติตามมาตรการ UP (Universal Prevention) ประเมิน Thai Save Thai (TSC) และเว้นระยะห่างของนักเรียนในห้องเรียนไม่น้อยกว่า 1 เมตร 

กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จัดการเรียนการสอน ปฏิบัติงาน ทำกิจกรรมใน Quarantine Zone ตามมาตรการ SSS เป็นเวลา 5 วัน และติดตามสังเกตอาการอีก 5 วัน กรณีผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบตามคำแนะนำปัจจุบัน ไม่มีอาการ ไม่แนะนำให้กักกัน สำหรับการตรวจคัดกรองหาเชื้อด้วย ATK ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที ถ้าไม่มีอาการให้ตรวจคัดกรองครั้งแรกในวันที่ 5 และตรวจครั้งสุดท้ายในวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็นผู้ติดเชื้อ ให้ปฏิบัติดังนี้ 

เปิดแผนรับมือโควิด เมื่อเปิดเทอม มีผู้ป่วยโควิด-เสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร?

เปิดแผนรับมือโควิด เมื่อเปิดเทอม มีผู้ป่วยโควิด-เสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร?

  1. พิจารณาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข แยกกักกันที่โรงเรียน (School Isolation) และพิจารณาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กรณีไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย จัดการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร งดกิจกรรมรวมกลุ่ม เน้นการระบายอากาศ โดยปฏิบัติตาม UP-DMHTA อย่างเคร่งครัด
  2. ติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ตามระบบงานอนามัยโรงเรียน 
  3. ทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษาตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และเรียนได้ตามปกติ

เปิดแผนรับมือโควิด เมื่อเปิดเทอม มีผู้ป่วยโควิด-เสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร?

สำหรับโรงเรียนไป - กลับ กรณีนักเรียน ครูหรือบุคลากร เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เปิดเรียนในพื้นที่สถานศึกษา On-Site ตามปกติ ปฏิบัติตามมาตรการ UP (Universal Prevention) ประเมิน Thai Save Thai (TSC) และเว้นระยะห่างของนักเรียนในห้องเรียน ไม่น้อยกว่า 1 เมตร กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กรณีไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ตามแนวทางปัจจุบัน ทั้งมีอาการ และไม่มีอาการ แนะนำให้กักกันตัว เป็นเวลา 5 วัน และติดตามเฝ้าระวังอีก 5 วัน 

ส่วนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบตามคำแนะนำปัจจุบัน ไม่มีอาการ ไม่แนะนำให้กักกัน    พิจารณาให้ไปเรียนได้ สำหรับการตรวจคัดกรองหาเชื้อด้วย ATK ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที ถ้าไม่มีอาการ ให้ตรวจคัดกรองครั้งแรกในวันที่ 5 และตรวจครั้งสุดท้ายในวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ กรณีพบนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็นผู้ติดเชื้อให้ปฏิบัติดังนี้ 

  1. แยกกักกันที่บ้าน (Home Isolation) หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของสถานบริการสาธารณสุข 
  2. พิจารณาจัดทำ School Isolation โดยคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข และคณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัด 
  3. จัดรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีอาการ 
  4. ทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษา และเปิดเรียนตามปกติ ทั้งนี้ เน้นย้ำสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม โดยเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และผู้ติดเชื้อ และประสานหน่วยบริการสาธารณสุข ตามระบบงานอนามัยโรงเรียน

เปิดแผนรับมือโควิด เมื่อเปิดเทอม มีผู้ป่วยโควิด-เสี่ยงสูง ต้องทำอย่างไร?

ที่มา กรมอนามัย ย้ำ โรงเรียนใช้แผนเผชิญเหตุ กรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด–19 หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (moph.go.th)