svasdssvasds

ชัชชาติ นโยบาย พื้นที่สุขภาพดี หวังให้ชาวกรุงเทพฯ แข็งแกร่งในปฐพีไปด้วยกัน

ชัชชาติ นโยบาย พื้นที่สุขภาพดี หวังให้ชาวกรุงเทพฯ แข็งแกร่งในปฐพีไปด้วยกัน

ไลฟ์ ชัชชาติ นอกจากตามติด กิจกรรมและการทำงาน ผู้ว่าฯ กทม. ในแต่ละวัน ยังเห็นเบื้องหลังความแข็งแกร่งของพ่อเมือง คนนี้ โดยกำหนด นโยบาย เพิ่ม สร้าง ซ่อม พื้นที่สุขภาพดี ให้แก่ชาวกทม. ร่างกายแข็งแกร่ง จิตใจดีอยู่ในเมืองอย่างมีความสุข

ถ้าใครได้ติดตามไลฟ์ ของ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ จากเพจเฟซบุ๊ก เป็นประจำ จะเห็นความฟิตที่แล้วสมกับการที่ได้รับฉายา บุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี เพราะผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ของเรานี้ ตื่นแต่เช้าออกวิ่งที่สวนเวลาตีห้าเป็นประจำ และวิ่งนำหน้านักวิ่ง แทบไม่ได้ยินเสียงหอบระหว่างทาง แอดมินหมูประจำตัวที่เป็นมือไลฟ์ติดตามตัวมาตลอดยังขอบาย ระหว่างทาง ส่งไม้ต่อให้ทีมวิ่งช่วยถ่ายทอดสดให้ทุกคนรับชม ที่ยอดติดตามไลฟ์เป็นประจำจะอยู่ที่ประมาณหลักหลายหมื่นคน แม้จะเช้าแค่ไหนก็ตาม 

ล่าสุดเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน นาย ชัชชาติ สิทธ์พันธุ์ ได้เปิดเส้นทางวิ่งจากสวนลุมพินี ผ่านสะพานเขียว ลัดเลาะไปตามถนนอโศก แล้ววิ่งเลียบคลองจนถึงแยกลำสาลี โดยจุดประสงค์เพื่อการไปตรวจงาน ความคืบหน้าการจัดการปัญหาการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดรถติดและการจัดการทางเดินเท้าให้กับผู้สัญจร สิริรวมแล้ววิ่งไปทั้งหมดเป็นระยะทางกว่า 14 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง นักวิ่งที่ร่วมเส้นทางแถวยาวเหมือนในภาพยนตร์ Forrest Gump ที่รวมคนแปลกหน้ามาร่วมวิ่งในเส้นทางเดียวกันนี้ ได้อย่างน่ารัก
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หรือนี่อาจะเป็นเคล็ดลับความคึกและแข็งแกร่งของผู้ว่าฯ กทม. คนล่าสุดนี้รึเปล่า ที่สามารถ ทำงาน ทำงาน ทำงาน ให้ชาวกรุงเทพฯ ได้เห็นอย่างต่อเนื่อง จนเรียกร้องให้ท่านหาเวลาพักผ่อน พักผ่อน พักผ่อนบ้าง แต่จากบทสัมภาษณ์ต่างๆ ผู้ว่าฯ ช้ชชาติ คนนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเวลา ถ้าเสียไปแล้วก็จะสูญเปล่า จึงควรใช้อย่างมีคุณค่า นอกจากที่จะได้เห็นผู้ว่าฯ กทม. ไลฟ์ วิ่งๆๆๆ ก็ยังเป็นการได้ลงพื้นที่แบบไม่มีการเตรียมการ ทำให้ได้เห็นจุดบอด จุดที่ต้องได้รับการแก้ไขระหว่างทาง ซึ่งมีประชาชนหลายหมื่นคนร่วมเป็นประจักษณ์พยาน ร่วมกัน ช่วยกดดันเร่งรัดให้สำนักงานเขตปรับปรุงแก้ไขโดยเร็วต่อไป 

สุสานแต้จิ๋ว ที่ปรับพื้นที่เปิดให้เป็นลานวิ่งสำหรับประชาชนทั่วไป
สุสานแต้จิ๋ว พื้นที่สีเขียวกลางเมือง ที่เอกชนเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้บริการ ต้นแบบการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สุภาพดี

จาก นโยบาย 9 ดี 9 ด้าน ของผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 1 ในนั้นคือหมวดสุขภาพดี ที่แตกย่อยได้อีกหลายหัวข้อ แต่ในครั้งนี้จะมาเจาะกันในส่วนของการเพิ่มพื้นที่ สุขภาพดี เพื่อทำให้ชาวกทม. มีจิตที่ดีอยู่ในร่างกายที่ที่แข็งแรง เพราะการมีสุขภาพดีเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ลดค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาล ประกอบด้วยหมวด พื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ออกกำกาย ดังนี้

พื้นที่สีเขียว

พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้สำหรับพื้นที่เปิด ด้วยเครื่องฟอกอากาศสำหรับพื้นที่ปิด

  • พื้นที่เปิดโดย กทม.จะปลูก (ปลูกเองและสนับสนุนให้เอกชนนำกล้าไปปลูก) และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ช่วยดักจับและกรองฝุ่นที่จะเข้ามาในพื้นที่ 
  • พื้นที่ปิดผ่านการสนับสนุนการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศโดยเฉพาะในสถานที่ที่มีกลุ่มเปราะบางและประชาชนหนาแน่น

ปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง

  • แบ่งการปลูกเป็น 400 ต้น / เขต / สัปดาห์ เพื่อให้ครบล้านต้นใน 4 ปี
  • ต้นไม้จะช่วยลดมลพิษ (ลดมลพิษขนาดเล็ก (PM) ลดก๊าซพิษโอโซน ลดก๊าซพิษซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ลดก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ มิติการเพิ่มร่มเงาเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองส่งเสริมให้เมืองเป็นเมืองที่เดินได้

*และนโยบายเพิ่มเวลา เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มการเข้าถึงสวนและพื้นที่สาธารณะ*

พื้นที่สาธารณะ
เพิ่มเวลา เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มการเข้าถึงสวนและพื้นที่สาธารณะ

  • ปรับเวลาเปิด-ปิด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัยโดยรอบเพื่อขยายโอกาสการใช้งานให้กับคนทุกกลุ่ม
  • ปรับปรุงและเพิ่มเติมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ห้องแต่งตัว เครื่องออกกำลังกาย (Fitness) แสงสว่าง CCTV ตู้เก็บของ (Locker) ฯลฯ ให้มีคุณภาพ
  • การจัดสรรพื้นที่ค้าขาย (hawker center) สำหรับหาบเร่แผงลอย ที่กระจายอยู่รอบสวนสาธารณะให้มีการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ เป็นระเบียบ
  • ออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าใช้งานพื้นที่สาธารณะ เช่น ป้ายและระบบขนส่งมวลชน

ยกระดับศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
ณ ปัจจุบันอยู่ในสภาพทรุดโทรม ได้รับการพัฒนาเป็นส่วน ๆ หรือไม่ได้รับการพัฒนาเลย

  • การขยายเวลาเปิด-ปิด หรือการเปิดบริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน หรือช่วงเสาร์-อาทิตย์ ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงศูนย์ต่างๆ ของผู้คนที่หลากหลาย
  • ยกระดับความพร้อมของอุปกรณ์ สถานที่ เครื่องออกกำลังกาย (Fitness) และหลักสูตรกิจกรรมต่าง ๆ 
  • เพิ่มบุคลากร เจ้าหน้าที่กทม. ให้เหมาะสมกับเวลาเปิดทำการและความต้องการของประชาชน

พื้นที่ออกกำลังกาย
พัฒนา 1,034 ลานกีฬา กับประชาชนและเอกชนในพื้นที่
ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีลานกีฬาทั้งหมด 1,034 แห่ง แบ่งเป็นขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แต่หลายแห่งมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ บางแห่งไม่พร้อมที่จะใช้งาน

  • ลานกีฬาสภาพเหมือนใหม่ทั่วกรุง
  • มีส่วนร่วมในการคัดเลือกกิจกรรมและกีฬาที่จะให้มีในลานกีฬาใกล้บ้าน
  • มีพื้นที่สาธารณะเพื่อการออกกำลังกายมากขึ้น
  • มีพื้นที่ผ่อนคลายความเครียด พบปะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างผู้คน

จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาประจำชุมชน ประจำเขต

  • การแข่งขันที่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปสามารถรวมกลุ่มกันและเข้าร่วมได้ การแข่งขันจะมีการแบ่งเป็นลีกตามช่วงอายุและประเภทกีฬา เช่น ฟุตซอล มวยไทย

เด็กกทม. เล่นน้ำได้ ว่ายน้ำเป็น
สถิติปี 2564 ประเทศไทยมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 658 คน เฉลี่ย 2 คนต่อวัน การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีส่งเสริมให้ประชาชนกทม.มีทักษะเอาตัวรอดในน้ำมากขึ้น กทม.จะส่งเสริมและสนับสนุน ดังนี้

  • จัดให้วิชาว่ายน้ำเป็นหลักสูตรพื้นฐานของโรงเรียนสังกัด กทม.ทุกโรงเรียน โดยให้โรงเรียนที่ไม่มีสระว่ายน้ำจัดการเรียนการสอนว่ายน้ำโดยอาศัยสระและครูของศูนย์กีฬาหรือศูนย์สร้างสุขทุกข์วัย 
  • พิจารณาเพิ่มสระว่ายน้ำใน ศูนย์สร้างสุขทุกวัยใหม่และเปิดให้มีการสอนว่ายน้ำของ กทม.กระจายตัวทั่วกรุง
     

*และยกระดับศูนย์กีฬา ศูนย์สร้างสุขทุกวัย ศูนย์เยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน*

ความแข็งแกร่งที่ต้องลงทุนและสร้างพื้นที่เพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพเหมาะสม จัดระเบียบ และสร้างระบบที่เอื้อให้ประชาชนเข้ามาใช้งานได้อย่างสะดวก ถือเป็นการลงทุนที่ปลูกฝังให้เกิดกิจวัตรการออกกำลังกาย มีพื้นที่สีเขียว ที่ปลอดภัย พักผ่อน อย่างมีความสุข ที่ยั่งยืนและชาวกทม. ได้ประโยชน์

related