svasdssvasds

โมร็อกโกอาจเป็นเสือตัวใหม่ แก้วิกฤตปุ๋ยแพงและวิกฤตอาหารโลกได้

โมร็อกโกอาจเป็นเสือตัวใหม่ แก้วิกฤตปุ๋ยแพงและวิกฤตอาหารโลกได้

โมร็อกโกอาจเป็นกุญแจสำคัญ ในการช่วยแก้ปัญหาวิกฤตอาหารโลกและราคาปุ๋ยที่แพงขึ้นได้ นี่อาจโอกาสทองของโมร็อกโกที่จะกลายเป็นเสือปุ๋ยตัวใหญ่ขึ้น ขณะรัสเซียกำลังเปิดศึก

ปุ๋ย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของโลก ในการเป็นส่วนประกอบทางการเกษตรเพื่อให้เราได้มีพืชผลเพื่อประกอบอาหารที่กระจายอยู่ทั่วโลก ดังนั้น ประเทศผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่ต่าง ๆ จึงมุ่งเน้นไปที่การผลิตและการส่งออกปุ๋ยเป็นสำคัญ ปัจจุบันประเทศรัสเซียคือผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้หลายประเทศเริ่มสั่นคลอนในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะวัตถุดิบการส่งออกที่สำคัญ แล้วถ้ารัสเซียมีความขัดแย้งเรื่องการส่งออกปุ๋ยล่ะ ใครจะเป็นตัวแทนในมหาอำนาจแห่งปุ๋ยนี้

บทวิเคราะห์จาก The Conversation กล่าวว่า ประเทศโมร็อกโกมีอุตสาหกรรมปุ๋ยขนาดใหญ่ ที่มีกำลังการผลิตมหาศาลและเข้าถึงได้ในระดับสากล เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากรัสเซีย จีนและแคนาดา ซึ่งโมร็อกโกอาจจะเป็นกุญแจสำคัญแก้ไขวิกฤตปุ๋ยเหล่านี้ได้

พิกัดประเทศโมร็อกโก Cr.wikipedia

ทำไมโมร็อกโกถึงได้เปรียบ

ปุ๋ยที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกมักแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสฟอรัส และปุ๋ยโพแทสเซียม ในปี 2020 ตลาดปุ๋ยมีขนาดประมาณ 190 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.9 หมื่นล้านบาท

โมร็อกโกถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบชัดเจนในการผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัส เพราะโมร็อกโกมีฟอสฟอรัสสำรองมากกว่า 70% ของโลกที่ถูกนำไปใช้ทำปุ๋ยและทำให้โมร็อกโกกลายเป็นผู้เฝ้าประตูของห่วงโซ่อุปทานอาหารทั่วโลก เนื่องจากพืชอาหารทุกชนิดต้องการแร่ธารตุฟอสฟอรัสเพื่อการเจริญเติบโต

ในความเป็นจริง พืชทุกชนิดหลีกหนีไม่ได้กับการใช้ทรัพยากรจำกัดเหมือนปัจจัยอื่น ๆ เช่น เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีจำกัด พืชผลต่าง ๆ ก็มีฟอสฟอรัสจำกัดด้วยเช่นกัน ดังนั้น ตลาดปุ๋ยฟอสฟอรัสจึงมีบทบาทสำคัญต่อโลกและปากท้องมนุษย์มากในเวลานี้

ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ที่สุดของโลก 15.1 % ของปุ๋ยที่ส่งออกทั้งหมด และปุ๋ยก็เป็นหนึ่งในช่องโหว่ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทั้งยุโรปและแอฟริกา ตัวอย่างเช่น EU27 (ทั้ง 27 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป) โดยรวมต้องพึ่งพารัสเซียถึง 30% ของปริมาณปุ๋ยทั้งหมด ตำแหน่งที่ได้เปรียบของรัสเซียได้รับการขยายโดยสถานะเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ซึ่งก๊าซนี้เองเป็นองค์ประกอบหลักของปุ๋ยฟอสฟอรัสทั้งหมดรวมถึงปุ๋ยไนโตรเจน

ด้วยเหตุนี้ การรุกรานยูเครนของรัสเซียจึงส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก ทั้งในแง่ของอุปทานและเพราะปุ๋ย ที่สามารถเป็นอาวุธหรือเครื่องมือทางเศรษฐกิจได้

โมร็อกโกจึงกลายเป็นศูนย์กลางของตลาดปุ๋ยทั่วโลก และเป็นผู้ดูแลแหล่งอาหารของโลกที่สามารถชดเชยความพยายามในการใช้ปุ๋ยเป็นอาวุธได้

การจัดการปุ๋ยในโมร็อกโกเขาทำอย่างไร

ในปี 2021 ตลาดปุ๋ยฟอสฟอรัสทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในโมร็อกโกมูลค่าในปี 2020นั้นอยู่ที่ 5.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่ของโมร็อกโกไม่ใช่เอกชนแต่เป็นรัฐ Office Chérifien des Phosphates อุตสาหกรรมผู้ผลิตที่มีรัฐเป็นเจ้าของ

มูลค่าการส่งออกปุ๋ยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของรายได้จากการส่งออกของราชณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นนายจ้างรายใหญ่ที่สุดของประเทศด้วยการจัดหางานให้กับผู้คนหลายหมื่นคน

โมร็อกโกวางแผนที่จะผลิตปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่มอีก 8.2 ล้านตันภายในปี 2026 ซึ่งปัจจุบันการผลิตอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตัน นั้นหมายความว่าโมร็อกโกต้องการผลิตปุ๋ยให้ได้ 20 ล้านตันในอีก 4 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทของรัฐได้ประกาศว่าจะเพิ่มการผลิตปุ๋ยประจำปีขึ้นอีก 10% ซึ่งจะทำให้ตลาดโลกเพิ่มขึ้นอีก 1.2 ล้านตันภายในสิ้นปีนี้ และจะช่วยบรรเทาสภาวะการณ์ที่ยุ่งยากในตลาดได้มาก

โมร็อกโกอาจเป็นเสือตัวใหม่ แก้วิกฤตปุ๋ยแพงและวิกฤตอาหารโลกได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่การจะเป็นเสือปุ๋ยตัวใหญ่นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด

ดูเหมือนว่า ช่วงนี้เป็นโอกาสทองของโมร็อกโกจริง ๆ ในการก้าวขึ้นนำหน้ารัสเซียในการเป็นผุ้ส่งออกปุ๋ยฟอสฟอรัสรายใหญ่ของโลก แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น จริงอยู่ที่ปัญหาระหว่างประเทศของรัสเซียรุนแรงจนมีช่องว่างมากมาย แต่โมร็อกโกกลับประสบปัญหาด้านอื่นแทน

รายงานฉบับใหม่เผยว่า โมร็อกโกกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ ในการผลิตปุ๋ย กระบวนการผลิตถูกคุกคามจากความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานอย่างรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นและอีกหลายปัจจัยที่กำลังตามหลังขบวนมาเพียบ

ความท้าทายที่สำคัญ ที่โมร็อกโกต้องแก้ไขให้ได้เพื่อก้าวเป็นเสือที่ใหญ่ขึ้น

ข้อจำกัดด้านน้ำและพลังงาน

การสกัดฟอสเฟตและการผลิตปุ๋ยใช้พลังงานและน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งอุตสาหกรรมดังกล่าวใช้พลังงานประมาณ 7% และน้ำ 1% ของผลผลิตต่อปี แต่ปัญหาคือ โมร็อกโกเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมากที่สุด เนื่องจากสภาพอากาสที่แห้ง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้โมร็อกโกมีความต้องการน้ำสูงขึ้น อีกทั้งน้ำในอ่างเก็บน้ำก็ไม่สะอาดมากนักเพราะเกิดการตกตะกอนจากการแปรปรวนของสภาพอากาศ

แผนของโมร็อกโกคือ การสร้างแผนน้ำแห่งชาติ 2020-2050 โดยคาดว่าจะสร้างเขื่อนและโรงงานแยกเกลือจากน้ำทะเลใหม่และขยายเครือข่ายชลประทาน เพื่อรักษาเกษตรกรรมและระบบนิเวศ ซึ่งคาดว่าการปรับเปลี่ยนนี้จะมีมูลค่าประมาณ 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ต้นทุนก๊าซธรรมชาติ

ไนโตรเจน เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของปุ๋ยที่พืชต้องการด้วยเช่นกัน ไดแอมโมเนียมฟอสเฟตเป็นปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก มันประกอบไปด้วย ฟอสฟอรัส 46% และไนโตรเจน 18% ซึ่งก๊าซธรรมชาติคิดเป็น 80% ของต้นทุนการแปรผันไนโตรเจนไปเป็นปุ๋ย

ดังนั้น ราคาของก๊าซธรรมชาติส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยมาก และโมร็อกโกมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติไม่เพียงพอ อีกทั้งการนำเข้าก็มีราคาสูงขึ้นจากความขัดแย้งของสงครามรัสเซียยูเครน

ราคาอาหารจะแพงขึ้น หากราคาปุ่ยแพง ทางรอดของโมร็อกโก

สิ่งที่จะแก้ปัญหาข้างต้นได้ คือต้องขยายภาคพลังงานหมุนเวียน หรือการติดตั้งอุตสาหกรรมหมุนเวียนให้เพิ่มมากขึ้น โมร็อกโกมีแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์และลมเป็นจำนวนมาก การผลิตปุ๋ยสามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียนได้

ในปี 2020 บริษัทปุ๋ยของรัฐครอบคลุมความต้องการพลังงาน 89% โดยการผลิตร่วม (การผลิตพลังงาน 2 รูปแบบหรือมากกว่าจากแหล่งเชื้อเพลิงแหล่งเดียว) และแหล่งพลังงานหมุนเวียน เป้าหมายของมันคือ เพื่อครอบคลุมความต้องการพลังงาน 100%

นอกจากพลังงานหมุนเวียนจะสามารถผลิตปุ๋ยได้แล้ว แทนที่จะนำเข้าแอมโมเนียที่ได้จากก๊าซธรรมชาติ โมร็อกโกก้สามารถผลิตได้เองด้วยการใช้ไฮโดรเจนในการผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศ

โอกาสทองนี้ใช้การลงทุนที่สูงมาก เพื่อตอบสนองความต้องการทางอุตสาหกรรม การเกษตรและที่อยู่อาศัยในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน โรงแยกเกลือต้องใช้พลังงานมากกว่า 10 เท่าในการผลิตน้ำ

ดังนั้นโมร็อกโกต้องสร้างสมดุลอย่างระมัดระวังระหว่างการส่งออกปุ๋ย ทั้งการขยายการส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงวิกฤตเช่นนี้และการจัดหาน้ำดื่มให้กับประชาชน ดังนั้นโมร็อกโกจะก้าวขึ้นเป็นเสือตัวใหญ่ได้ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและแผนการขยายพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมไปถึงจะสามารถแก้ปัญหาปากท้องของคนทั้งโลกได้ด้วย

การเดินทางของปุ๋ยโมร็อกโก

โมร็อกโกเริ่มขุดฟอสฟอรัสในปี 1921 ในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 เริ่มผลิตปุ๋ยของตนเอง Office Chérifien des Phosphates สร้างศูนย์กลางการผลิตปุ๋ยที่ใหญ่ที่สุดในโลกใน Jorf Lasfar บนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของโมร็อกโก

ก่อนเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน บริษัทมีลูกค้ามากกว่า 350 รายใน 5 ทวีป ปุ๋ยฟอสเฟตประมาณ 54% ที่ซื้อในแอฟริกามาจากโมร็อกโก นอกจากนี้ ปุ๋ยโมร็อกโกยังมีส่วนแบ่งตลาดในประเทศที่สำคัญในอินเดีย 50% บราซิล 40% และยุโรป 41% อินเดียและบราซิลได้ติดตต่อกับโมร็อกโกเพื่อเติมเต็มช่องว่างอุปทานเพิ่มเติมเหล่านั้น

เศรษฐกิจของโมร็อกโกได้รับประโยชน์จากการแปรรูปเป็นยักษ์ใหญ่ที่ส่งออกปุ๋ยระดับสากล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนุภูมิภาคทะเลทรายซาฮารา การรวมกันของความร่วมมมือในการร่วมทุนการผลิตปุ๋ยในท้องถิ่นและการเข้าถึงเกษตรกรโดยตรงได้ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรของแอฟริกาเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่ง

นอกจากนี้ยังขยายอิทธิพลด้านพลังงานที่นุ่มนวลของโมร็อกโกไปทั่วทั้งทวีป ตัวอย่างเช่น โมร็อกโกจัดหาปุ๋ยมากกว่า 90% ของความต้องการปุ๋ยต่อปีให้กับไนจีเรีย

ที่มาข้อมูล

https://theconversation.com/morocco-a-top-fertiliser-producer-could-hold-a-key-to-the-worlds-food-supply-

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81

related