svasdssvasds

คลื่นความร้อนคร่าชีวิตผู้คนได้อย่างไร? ย้อนเหตุการณ์ Paris Heatwave 2003

คลื่นความร้อนคร่าชีวิตผู้คนได้อย่างไร? ย้อนเหตุการณ์ Paris Heatwave 2003

อากาศร้อนทำคนเสียชีวิตได้อย่างไร? หลังคลื่นความร้อนโจมตียุโรปหนักทำอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จนมีผู้เสียชีวิตหลายพันราย ย้อนรอยยอดเสียชีวิตหมื่นรายในปารีส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เป็นสัปดาห์ที่ร้อนอบอ้าวมาก ๆ ในต่างประเทศโซนเขตอบอุ่น แม้ไทยเราจะฝนตกหนักจนน้ำท่วมหลายพื้นที่ในช่วงฤดูกาลนี้ แต่รู้หรือไม่ว่าคลื่นความร้อนที่กำลังโจมตีโซนยุโรปอยู่นั้น กำลังรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนมีผู้คนเสียชีวิตจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรอากาศร้อนสุด ทำให้อุณหภูมิภาคพื้นดินพุ่งไปถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสถิติที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศนี้ ในขณะที่ชาวอเมริกันมากกว่า 100 ล้านอยู่ภายใต้คำเตือนจากรัฐเรื่องความร้อนที่มากเกินไป ความร้อนไม่ได้ทำให้คนไม่สบายตัวเท่านั้น แต่ยังทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ด้วย

ในสเปนและโปรตุเกส อุณหภูมิในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา  มีส่วนทำให้ผู้คนเสียชีวิต 1,169 ราย ตามรายงานของ ABC News ซึ่งจำนวนตัวเลขของผู้เสียชีวิตนี้ทำให้เรานึกย้อนไปยังปี 2003 ที่คลื่นความร้อนทำผู้คนเสียชีวิตถึง 14,802 รายในกรุงปารีส ประทศฝรั่งเศส

ภาพแผนที่สภาพอากศในปี 2003 Cr. www.climatesignals.org ความร้อนคร่าชีวิตผู้คนได้จริงเหรอ?

คำตอบคือ ใช่ ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตจะอยู่ในช่วงวัยของผู้สูงวัย ที่อาศัยอยู่ตามลำพังในอพาร์ตเมนต์ที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ Richard Keller ศาสตราจารณ์ด้านประวัติศาสตร์การแพทย์และชีวจริยธรรมของมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน และผู้เขียน “Fatal Isolation : The Devastating Paris Heat Wave of 2003” (สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยชิคาโก 2015)

พวกเขาเสียชีวิตอย่างไร? อาการใดเริ่มบ่งบอกว่าคุณไม่ไหวแล้ว?

เมื่ออุณหภูมิรอบตัวสูงขึ้น แน่นอนว่า ก็จะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงตามไปด้วย เมื่ออุณหภูมิแกนกลางของร่างกายสูงเกินไป ทุกอย่างจะเริ่มพังทลาย ลำไส้จะเริ่มหลั่งสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เซลล์ต่าง ๆ จะเริ่มตาย และการอักเสบและการตอบสนองจะเริ่มแย่ลง

อีกส่วนของความเลวร้ายคือ ความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งกลุ่มเสี่ยงสุดคือกลุ่มผู้อ่อนไหวอย่างผู้สูงอายุ เนื่องจากระบบหัวใจและหลอดเลือด ของพวกเขามีความยืดหยุ่นน้อยกว่าคนหนุ่มสาว ไม่พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เกิดขึ้นกระทันหันนี้ได้ ตามข้อมูลจากบทความ Medicine & Exercise 2014

ร่างกายที่ร้อนเกินไปมีคำศัพท์ทางการแพทย์ว่า hyperthermia ระยะแรกคือเพลียจากความร้อน ซึ่งเป็นภาวะที่มีเหงื่อไหลออกมามาก มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จนถึงเป็นลม ชีพจรเต้นเร็วและผิวหนังเริ่มชื้น รวมไปถึงกล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อยก็สามารถเป็นสัญญาณเริ่มต้นได้

อาการแรกเริ่มนี้ยังสามารถแก้ได้ ด้วยการย้ายตัวเองไปอยู่ในที่ที่เย็นกว่า คลายเสื้อผ้า หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นประคบตามร่างกาย แต่ถ้าหากทำแล้วอาการเหล่านั้นไม่ทุเลา คุณจะก้าวเข้าสู่โรคลมแดดอย่างรวดเร็ว ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างของร่างกายมนุษย์สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส โดยประมาณ

เมื่อร่างกายรับอุณหภูมิดังกล่าวนานเกินไป เหงื่อจะหยุดไหล  ผิวหนังจะแห้งและแดง ชีพจรจะเต้นเร็วขึ้น เขาผู้นั้นจะเริ่มเพ้อคลั่งและอาจหมดสติลงไป เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงมาก ๆ ร่างกายจะเริ่มออกมาต่อต้าน ด้วยการขยายหลอดเลือดในผิวหนังเพื่อให้เลือดเย็นลง แต่หากเป็นเช่นนั้น ร่างกายจะบีบรัดหลอดเลือดในล้ำไส้ไปด้วย การไหลวัยนเลือดไปยังกระเพาะจะลดลงและจะเพิ่มการซึมผ่านระหว่างเซลล์ในลำไส้ได้ ซึ่งสารพิษสามารถรั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือดได้

แต่ยังคงยากที่เราจะบอกได้ว่า ความเสียหายใดเกิดจากความร้อนโดยตรง แต่แน่นอนว่า ความร้อนมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกายทั้งหมด

ผู้คนออกมาอาบแดดหน้าเนินหอไอเฟล Cr.Andrea Mantovani for The New York Times ย้อนโศกนาฎกรรม Heat Wave in Paris 2003

อากาศที่ร้อนระอุ ได้ทำลายสถิติอากาศร้อนที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในเดือนสิงหาคม 2003 ซึ่งคาดว่าหนักสุดในรอบ 500 ปี ซึ่งทำผู้คนเสียชีวิตไปกว่า 20,000 ราย โดยอุณหภูมิภาคพื้นแตะไปถึง 43 องศาเซลเซียส ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และอาศัยอยู่คนเดียว

ผลกระทบจากคลื่นความร้อนและอากาศที่ร้อนระอุในวันนั้นทำให้ฝรั่งเศสขาดแคลนพื้นที่สำหรับเก็บศพในโรงเก็บศพ มีการฝังศพชั่วคราวในรถบรรทุกห้องเย็น โดยมียอดผู้เสียชีวิตในสหราชอาณาจักร 2,000 ราย โปรตุเกส 2,100 ราย อิตาลี 3,100 ราย ฮอลแลนด์ 1,500 รายและเยอรมนี 300 ราย

นอกจากนี้ ความร้อนในครานั้นยังทำให้แม่น้ำดานูบในเซอร์เบียลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 100 ปี จนทำให้รถถังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจมอยู่ใต้น้ำมาหลายทศวรรษ สร้างความหวั่นใจต่อผู้คนที่แหวกว่ายในแม่น้ำ เพราะหวั่นเจอระเบิด นอกจากนี้ แม่น้ำแห่งนี้ยังใช้เพื่อการเกษตรปละการประปาสาธารณะ รวมไปถึงการผลิตไฟฟ้าให้กับทั้งเมืองด้วย ทำให้เกิดวิกฤตขาดแคลนหนักพร้อมอากาศที่ร้อนจัด

ยิ่งแย่ไปอีกเมื่อคลื่นความร้อนทำให้เกิดไฟป่า ในหลายประเทศจนทำให้พื้นที่ป่ากว่า 215,000 เฮกตาร์ถูกทำลาย เนื่องจากขาดฝน ปีต่อมาดินถูกักดเวาะจากเหตุการณ์ไฟไหม้ จนทำให้คุณภาพน้ำในแม่น้ำแย่ลงจากเถ้าและดินถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ

นอกเหนือจากการเสียชีวิตด้วยอากาศร้อนแล้ว การจมน้ำยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งในปีนั้นด้วย เนื่องจากอากาศร้อนทำให้ผู้คนนับหมื่นพุ่งตัวไปยังแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อคลายร้อน และพบเคสผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำเยอะมากเช่นเดียวกัน

ฝรั่งเศสผ่านเหตุการณ์นี้มาได้อย่างไร

ระบบเตือนภัยของฝรั่งเศสนับตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้นมาได้รับเสียงชื่นชมจากองค์การสหประชาชาติ ซึ่งแนะนำให้ประเทศอื่น ๆ อ้างถึงชาติยุโรปเป็นแบบอย่างในการป้องกันภัยที่ดี และรัฐตอบสนองทันทีต่อคลื่นความร้อน

  • ฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำประปา
  • ข่าวทีวี อินเตอร์เน็ต และหนังสือพิมพ์ก็ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนทราบถึงวิธีรับมือกับความร้อน เช่น ดื่มน้ำในปริมาณมาก สวนเสื้อผ้าสบาย ๆ และอยู่ในที่ร่มบ่อย ๆ
  • Network Rail และขนส่งสาธารณะอื่น ๆ ได้กำหนดข้อจำกัดความเร็วสำหรับรถไฟเมื่ออุณหภูมิสุงถึง 30 องศาเซลเซียส  เพื่อไม่ให้รถไฟตกราง

ความเข้าใจผิดของคนไทยเรื่องอุณหภูมิ

คนไทยหลายคนมักบอกว่า อุณหภูมิในไทย 40 องศาเซลเซียสคนไทยก็ทนได้สบาย ๆ คนต่างชาติยังทนไม่ได้เท่าคนไทยเลย แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะอุณหภูมิในโซนเขตอบอุ่นกับเขตร้อนนั้นไม่เหมือนกัน ประเทศไทยอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร หรือก็คือเขตร้อน และอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เป็นป่าดิบชื้น จึงมีอากาศร้อนแบบร้อนชื้น

ซึ่งต่างจากของฝั่งยุโรปหรือเขตอบอุ่นที่มีอากาศร้อนแห้ง เนื่องจากใกล้กับขั้วโลกจึงได้รับอิทธิพลจากคลื่นกดอากาศมากที่สุด และความสุดขั้วของอากาศที่สลับไปมานั่นเอง จึงไม่แปลกที่ผู้คนจะเกิดภาวะช็อกได้ง่าย และอากาศร้อนในโซนยุโรปทำให้ผิวหนังนั้นแสบแดง ที่รุนแรงกว่าเขตร้อนในไทยมาก

ที่มาข้อมูล

https://www.livescience.com/55129-how-heat-waves-kill-so-quickly.html

https://www.csmonitor.com/World/Europe/2019/1104/Heat-waves-How-France-has-cut-death-toll-90-since-2003

https://www.metoffice.gov.uk/weather/learn-about/weather/case-studies/heatwave

https://www.france24.com/en/20150701-france-paris-heat-wave-alert-deadly-2003-summer-guidelines

related